More About PDPA
ตามกฎหมายไม่ได้ระบุว่าองค์กรจะต้องใช้ระบบไอทีเสมอไป แต่ก่อนตัดสินใจที่จะวางระบบไอที
องค์กรควร
- ทำความเข้าใจกระบวนการและบริบทของตัวเอง
- มีการจัดทำ Data Flow เพื่อดูและแยกแยะข้อมูลในกระบวนการว่าข้อมูลไหนคือสิ่งจำเป็นจริง ๆ เช่น ถ้าข้อมูลมีปริมาณที่ไม่เยอะมาก และไม่ได้มีการ Active ตลอดเวลา ข้อมูลในส่วนนี้ก็สามารถทำทะเบียนแบบสมุดหรือคู่มือได้
หลักการ PDPA “ไม่ให้ทำเผื่อ ให้ทำเท่าที่จำเป็น” แต่สามารถปรับปรุงให้ทันสมัย หรือเพิ่มได้
ผลเสีย
- หากมีการขอเปลี่ยน Consent ในภายหลัง จะเกิดความยุ่งยาก ซึ่งในทางปฏิบัติก็ทำได้ยาก องค์กรจึงควรทำให้เรียบร้อยตั้งแต่ครั้งแรกและต้องมีกลไกที่ชัดเจน
- เจ้าของข้อมูลต้องการขอให้ลบข้อมูล แต่เราไม่สามารถลบให้ได้ เพราะข้อมูลไปผูกอยู่กับเรื่องอื่นที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งเกิดจากการที่อ้างฐานผิด ทำให้เสี่ยงกับการหยุดชะงักแล้วไม่สามารถดำเนินการต่อได้
กรณีมีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องตรวจสอบรายละเอียดของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
2. ตรวจเช็คข้อมูลที่รั่วไหล ว่ามีข้อมูลประเภทไหน และจำนวนเท่าไรบ้าง
3. ประเมินผลกระทบขององค์กรที่อาจจะเกิดขึ้น
4. ระบุมาตรการในการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหาย
เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว จึงแจ้งรายละเอียดทั้งหมดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือเจ้าของข้อมูลต่อไปหากพนักงานยื่นคำร้องขอใช้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แต่ถูกองค์กรปฏิเสธ พนักงานควรขอเหตุผลจากองค์กรว่าเพราะอะไรถึงปฏิเสธคำร้องขอ หากไม่ได้เหตุผลที่ชัดเจน หรือเห็นสมควร ให้พนักงานดำเนินการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายพิจารณา
Readmore +
Q&A
TIPS
INFOGRAPHIC