แบบประเมินทักษะการเป็นหัวหน้างาน

  • แบบประเมินทักษะภาวะผู้นำ

    วัตถุประสงค์

    เพื่อประเมินทักษะที่จําเป็นต่อภาวะผู้นำของผู้ตอบแบบสอบถาม เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ สําหรับนําไปปรับปรุงและพัฒนาทักษะภาวะผู้นำได้อย่างเหมาะสมต่อไป

    คําแนะนําในการกรอกแบบสอบถาม

    1. ขอให้ตอบแบบสอบถามทุกข้อตามการปฏิบัติจริงของท่าน
    2. แบบสอบถามนี้ไม่มีถูกหรือผิด
    3. แบบสอบถามมี 45 ข้อ ขอให้อ่านข้อความในด้านซ้ายมือและเลือกคําตอบทางขวามือ โดยทําเครื่องหมาย ในช่องซึ่งสามารถอธิบายข้อความในช่องด้านซ้ายมือได้ตรงตามที่เป็นจริงมากที่สุด
  • ทำได้
    ดีที่สุด
    ทำได้
    ดี
    ทำได้
    ดีบ้าง/
    ไม่ดีบ้าง
    ทำได้
    ไม่ดี
    ทำได้
    ไม่ดีเลย
    ไม่
    ปฏิบัติ
    1. คํานวณเวลาและค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในการดําเนินงานให้ประสบความสําเร็จได้ถูกต้อง
    2. วิเคราะห์ปัญหาและระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
    3. สร้างการทํางานเป็นทีม
    4. รวบรวมและจัดทําข้อมูลเป็นเอกสารอย่างเป็นระบบ
    5. ให้คําปรึกษาพนักงานที่ยังไม่บรรลุมาตรฐานการปฏิบัติงานทั้งระดับบุคคลและทีมงาน
    6. กําหนดงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน
    7. กําหนดแผนปฏิบัติการที่ช่วยให้การดําเนินงานประสบความสําเร็จอย่างราบรื่น
    8. จัดทําเอกสารเกี่ยวกับการตัดสินใจที่สําคัญรวมถึงแนวทางการแก้ไข
    9. จัดทําเอกสารคู่มือดําเนินการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน
    10. ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทํางานแก่พนักงาน
    11. ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของทีมงานแก่สมาชิกทีม
    12. สนับสนุนพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด
    13. ทําให้มั่นใจได้ว่าแนวทางแก้ปัญหาที่เสนอจะได้รับการนําไปปฏิบัติอย่างครบถ้วน
    14. ทําให้มั่นใจได้ว่าพนักงานทุกคนเข้าใจมาตรฐานและความคาดหวังของงาน
    15. ทําให้มั่นใจได้ว่าเป้าหมายที่กําหนดขึ้นมีความเฉพาะเจาะจง วัดได้และเป็นจริงได้ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจําของหน่วยงาน
    16. ประมาณการต้นทุนที่ใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานโดยตรง
    17. กรอกแบบฟอร์มต่างๆ ของบริษัทอย่างถูกต้องและครบถ้วน
    18. มีการนําเสนองานหรือรายงานอย่างชํานาญ มีข้อมูลสนับสนุนและสามารถเข้าใจได้ง่าย
    19. ช่วยพนักงานวางแผนพัฒนาการทํางานหรืองานสายอาชีพในระยะยาว
    20. กําหนดตัวชี้วัดผลงานที่สําคัญซึ่งใช้วัดผลดําเนินการของกระบวนการทํางาน
    21. ให้หน่วยงานอื่นแจ้งให้ทราบในทันที่ที่ไม่สามารถดําเนินการได้ทันตามเวลาที่กําหนดไว้
    22. ให้ที่มแจ้งถึงผลดําเนินการของตนเอง
    23. ทราบวิธีการและสถานที่ที่จะจัดหาทรัพยากรที่ขาดแคลน
    24. นําการประชุมอย่างมีประสิทธิผลซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
    25. รับฟังผู้อื่น
    26. ควบคุมความคืบหน้าของการดําเนินงานเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถทําได้ตามเวลาที่กําหนด
    27. ควบคุมประสิทธิผลของการปรับปรุงขั้นตอนการทํางานหรือกระบวนการทํางาน
    28. สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเพื่อใช้เป็นแหล่งในการจัดหาทรัพยากรเมื่อขาดแคลน
    29. มอบหมายตําแหน่งงานโดยใช้ทักษะของพนักงาน
    30. แจ้งให้พนักงานทราบถึงตัวชี้วัดผลการทํางานที่สําคัญอยู่เสมอ
    31. กําหนดทิศทางและแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจน
    32. แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล
    33. ตอบสนองต่อความต้องการทรัพยากรของพนักงานอย่างรวดเร็ว
    34. แสวงหาโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการทํางาน
    35. ดําเนินการภายใต้งบประมาณที่จํากัดโดยไม่มีผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตของแผนก
    36. สอนผู้อื่นถึงวิธีการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    37. มีความเข้าใจ ยอมรับและสามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคลิกภาพและรูปแบบการสื่อสาร ที่แตกต่างกัน
    38. ใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนจดหมาย บันทึกข้อความ รายงานและ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ (e-mail)
    39. ใช้รายงานของบริษัทประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
    40. ใช้วิธีการที่แปลกใหม่สําหรับให้รางวัลกับทีมงานที่ทํางานสําเร็จ
    41. ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลดําเนินการหรือผลการปฏิบัติงาน
    42. ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทําเอกสารกระบวนการทํางานและคู่มือปฏิบัติงาน ที่เป็นมาตรฐาน
    43. ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาและรวบรวมข้อมูลและจัดหาทรัพยากรต่างๆ
    44. เขียนรายงานและบันทึกข้อความที่เข้าใจง่ายและไม่เยิ่นเย้อ
    45. เขียนเอกสารต่างๆ ด้วยรูปแบบการเขียนและไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง