ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จ ในยุคที่มีเปลี่ยนแปลงและแข่งขันสูง การพัฒนาทักษะทางด้านความคิดนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการคิดเชิงกลยุทธ์ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อเป้าหมายโดยผ่านกระบวนคิดการวิเคราะห์ผนวกกับมุมมอง ประสบการณ์
ที่ผ่านมาในด้านต่างๆ ผ่านกระบวนการคิด และนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ วิธีการ ตลอดจนสามารถปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในการทำงานและธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จ
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้กลยุทธ์สมัยใหม่ รูปแบบต่างๆ
- เพื่อให้สามารถนำกลยุทธ์รูปแบบต่างๆ ไปปรับใช้ในการทำงาน และธุรกิจได้
- เพื่อให้ทราบมุมมอง แนวทาง วิธีพัฒนาตนเองสู่การคิดอย่างมีกลยุทธ์ในการทำงานได้
วิธีการอบรม
วิทยากร: ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี วิทยากร ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากร และบริหารจัดการนวัตกรรมอิสระ
- มีความเชี่ยวชาญด้าน Strategic Thinking, Analytical Thinking, Strategic Planning และ Problem Solving & Decision Making, Feasibility Study for Project , Lean Management, Leadership Development , Managing People for Result เป็นต้น
- ประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย อาทิ วิทยากรที่ปรึกษา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, Senior Associate บจก. เคปเนอร์-ทรีโก ประเทศไทย, Specialist Engineer บจก.คาร์ดิแนลเฮลล์ ประเทศไทย และ ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. แอนเซล ประเทศไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรและให้คำปรึกษาแนะนำทั้งในประเทศและภูมิภาคเอเซียอีกด้วย
เหมาะสำหรับ
- ผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือผู้ที่ต้องการพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์
ระยะเวลา: 1 วัน
รุ่น 1 วันที่ 1 ตุลาคม 2564 (อบรมผ่าน Zoom)
หัวข้อ
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-16.00 น.
- แนะนำภาพรวมหลักสูตร + กิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์
- เรียนรู้กระบวนการคิด และการพัฒนาการคิดอย่างมีกลยุทธ์ ตามหลักการ Whole Brain Model และระบบการคิด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
- กิจกรรม
- เรียนรู้ความหมายของกลยุทธ์ องค์ประกอบของกลยุทธ์
- เรียนรู้ความหมาย รูปแบบ และองค์ประกอบของการคิดอย่างมีกลยุทธ์
- กระบวนการคิดอย่างมีกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 1 การคิดหาเป้าหมายที่ท้าทายและแตกต่าง
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสถานการณ์ภายใน เน้นการค้นหาความเก่ง (Core competency)ขององค์กร
ขั้นตอนที่ 3 การคิดหาแนวทางที่โดดเด่นและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ขั้นตอนที่ 4 การคิดหาแนวทางลดอุปสรรคต่อการบรรลุความสำเร็จ และยั่งยืน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินสถานการณ์ภายนอก เน้นการรับมือความไม่แน่นอน (Uncertainty)
- ฝึกปฏิบัติด้วยกรณีศึกษา
- การประยุกต์กระบวนการคิดอย่างกลยุทธ์เพื่อสร้างความยั่งยืนในธุรกิจ