วันที่อบรม
30 มีนาคม 2564
เวลา 9:00-16:00 น.
Online Training
ระยะเวลาอบรม : 1 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ
ราคาสมาชิก (ไม่รวม VAT) 3,500 บาท
ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
4,000 บาท
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- This event has passed.
ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิตมักไม่ได้สนใจหาวิธีการใช้และบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมา ก็คือเครื่องจักรเสียบ่อย ต้องเสียเวลาซ่อมและเวลาการผลิต เครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิต และหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการแก้ไขงานที่มีผลทำให้ต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน เทคนิคที่สามารถช่วยทำให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) เป็นเทคนิคการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานหน่วยซ่อมบำรุง และพนักงานหน่วยผลิตซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาและผลิตสินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของการบำรุงรักษา และขั้นตอนการบำรุงรักษาทวีผล
- เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการผลิต
- สามารถวางแผนและดำเนินการ TPM ได้อย่างเป็นขั้นตอน
- เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง
- เพื่อเสริมสร้างทักษะจากกรณีศึกษาจากโรงงานตัวอย่าง
วิธีการอบรม
- การบรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติ (Workshop)
- วิทยากร คุณชาญชัย พรศิริรุ่ง ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนบริหารการผลิต ฝ่ายปรึกษาแนะนำ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
- วิทยากรและที่ปรึกษาโครงการ Productivity Improvement, วิทยากรด้าน TQM และ TPM
- ประสบการณ์การทำงาน อาทิ อดีตหัวหน้าแผนกวิศวกรรมการผลิต บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ จำกัด
เหมาะสำหรับ
- ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
- ผู้จัดการแผนกซ่อมบำรุง
- หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง
วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 (อบรมผ่าน Zoom)
หัวข้ออบรม
- TPM : แนวคิดและความสำคัญ
- ชนิดของการบำรุงรักษา
- การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM)
- 12 ขั้นตอน และ 8 เสาหลักในการทำกิจกรรม TPM
- ความสูญเสียหลักของเครื่องจักร (6 Big Losses)
- การวัดประสิทธิผลของ TPM (OEE)
- เสาหลักการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสีย (Focus Improvement)
- กรณีศึกษา และ Workshop
- เสาเหลักการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
- เสาหลักการบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)
- เสาหลักอื่นในการดำเนินการกิจกรรม TPM
- แนวทำงในการดำเนินกิจกรรม TPM ในองค์กร
- กรณีศึกษา และ Workshop
- สรุป และถาม ตอบ