วันที่อบรม
29 - 30 มีนาคม 2566
เวลา 9:00-16:00 น.
โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน
ระยะเวลาอบรม : 2 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ
ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
6,200 บาท
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
- This event has passed.
ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิตมักไม่ได้สนใจหาวิธีการใช้และบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมา ก็คือเครื่องจักรเสียบ่อย ต้องเสียเวลาซ่อมและเวลาการผลิต เครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิต และหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการแก้ไขงานที่มีผลทำให้ต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน เทคนิคที่สามารถช่วยทำให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) เป็นเทคนิคการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานหน่วยซ่อมบำรุง และพนักงานหน่วยผลิตซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาและผลิตสินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการผลิต
- เพื่อให้มีความเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญของการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม
- เพื่อให้สามารถวางแผนและดำเนินการ TPM ได้อย่างเป็นขั้นตอน
- เพื่อให้ทราบแนวทางการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
- เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนอง
- เพื่อเสริมสร้างทักษะจากกรณีศึกษาจากโรงงานตัวอย่าง
Learning Method:
วิทยากร : อ.ชาญชัย พรศิริรุ่ง
วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มผลผลิตและการจัดสรรผลที่ได้จากการเพิ่มผลผลิต ทั้งด้านคุณภาพ ต้นทุน และเทคนิคปฏิบัติที่ได้ผลจริง
เหมาะสำหรับ
- Supervisor
- Manager
- Executive
ค่าธรรมเนียม
ท่านละ (ก่อน VAT 7%)
|
6,200 บาท
|
ท่านละ (รวม VAT 7%)
|
6,634 บาท
|
หมายเหตุ : สมาชิกลด 5%
|
ระยะเวลา: 2 วัน
รุ่น 1 วันที่ 29-30 มีนาคม 2566
รุ่น 2 วันที่ 30-31 สิงหาคม 2566
หัวข้อ
วันที่หนึ่ง
- TPM : แนวคิดและความสำคัญ
- ชนิดของการบำรุงรักษา
- การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม(TPM)
- 12 ขั้นตอน และ 8 เสาหลักในการทำกิจกรรม TPM)
- ความสูญเสียหลักของเครื่องจักร (6 Big Losses)
- การวัดประสิทธิผลของ TPM (OEE)
- เสาหลักการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสีย (Focus Impovement)
- กรณีศึกษา และ Workshop
วันที่สอง
- การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance : AM)
- การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance : PM)
- Workshop “การจัดทำแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
- เสาหลักอื่นๆของระบบTPM
- การวางระบบTPM ในองค์กร
- สรุป และถาม ตอบ