โมเดลการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM
ความรู้มากมายที่ซ่อนอยู่ในองค์กร ฝังอยู่ในตัวบุคลากรที่มีประสบการณ์ เมื่อต้องจัดการความรู้จึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด ซึ่งโมเดลนี้จะให้ความสำคัญกับความรู้จาก 3 แนวทางที่สำคัญ คือ
1) เป็นองค์ความรู้ที่สนับสนุนผลักดันให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
2) เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กร
3) เป็นองค์ความรู้และเทคนิคสำคัญเพื่อแก้ปัญหาในการทำงานขององค์กร
นอกจากนี้กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) ที่จะเข้ามาช่วยดูแลให้ความรู้เหล่านี้ มีการจัดเก็บและจัดการอย่างเป็นระบบ สร้างการเรียนรู้ ถ่ายทอด ต่อยอดถึงกันทั่วทั้งองค์กร จะช่วยให้การจัดการความรู้ขององค์กรประสบความสำเร็จได้
องค์กรต้อง กำหนดขอบเขตและเป้าหมายของการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมตัวชี้วัด ความสำเร็จ ที่สนับสนุนวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร ผ่านการใช้โมเดลกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ที่สนับสนุนให้กระบวนการจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ ต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมในองค์กร (Innovation Management System) ที่มีประสิทธิภาพ
โมเดลกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง Change Management Process
กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงเปรียบเสมือนตัวเชื่อมประสานระหว่างบุคลากรกับความริเริ่มใหม่ๆ ทั้งกิจกรรม โครงการ และระบบที่องค์กรได้ดำเนินการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนให้ถึงเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ขององค์กร โดยเฉพาะการจัดการความรู้และการจัดการนวัตกรรม นอกจากจะมีแผนงานที่ชัดเจนแล้ว จะต้องพิจารณาแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความสำคัญกับบุคลากร โดยมี 6 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมการและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. การสื่อสารในทุกระดับทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง
3. กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการจัดการความรู้ให้ประสบผลสำเร็จ
4. การเรียนรู้และพัฒนาบุคลากร
5. การวัดผลความสำเร็จของระบบการนำสู่การปฏิบัติ
6. การยกย่องชมเชยและการให้รางวัล
ระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม นำต้นแบบจาก ISO 56002 โดยมุ่งเน้นการทำความเข้าใจ องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และบูรณาการความสามารถในการพัฒนา การนำนวัตกรรมไปใช้งาน การประเมินผลการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่ต้องการ มาใช้ในการวางแผนการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์ขององค์กร
โมเดลระบบบริหารจัดการนวัตกรรม Innovation Management System