Slide

Drive for Excellence with Knowledge Management
and Innovation Management

พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ด้วยการต่อยอดความรู้สู่นวัตกรรม

ในปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจและองค์กรขนาดใหญ่ จำเป็นต้องดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการ ตลอดจนนโยบายสำคัญ ที่มุ่งขับเคลื่อนประเทศด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Knowledge Management และ Innovation Management ถือเป็นกลจักรสำคัญในการผลักดันองค์กรสู่ความเป็นเลิศ องค์กรขนาดใหญ่จึงให้ความสำคัญดำเนินการอย่างเป็นระบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างจากการบริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจ ที่ได้ผนวกสองปัจจัยสำคัญนี้ไว้ เป็นเกณฑ์หนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนภายใต้กรอบการจัดการที่เป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจและกรอบการพัฒนาองค์กรอย่าง SE-AM เพื่อเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของในระดับองค์กร ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ บริการ หรือธุรกิจใหม่เพื่อผลลัพธ์ ผลสำเร็จในการแข่งขันและช่วงชิงความได้เปรียบขององค์กร มุ่งสู่ความเป็นเลิศและมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

Knowledge Management และ Innovation Management เป็นสองเครื่องมือบริหารจัดการที่เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร โดยการกำหนด (Identify) สร้าง(Create) รวบรวม(Collect) เข้าถึง(Access) แลกเปลี่ยนเรียนรู้(Share) ประยุกต์ใช้(Use) องค์ความรู้ที่สำคัญ ต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเล็งเห็นความสำคัญในการผสานและเชื่อมโยงสองแนวทางดังกล่าวเข้าด้วยกัน เน้นการนำความรู้จากการปฏิบัติงานประจำ และ แนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ของบุคลากรภายในองค์กร มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมกับการกำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมาย กระบวนการจัดการนวัตกรรมขององค์กร เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้และความสามารถขององค์กร จนเกิดนวัตกรรมและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยให้ความสำคัญกับบุคลากรที่ต้องมีส่วนร่วม มีพลังพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้งในการเรียนรู้และพัฒนา ส่งเสริมเป้าหมายขององค์กร

3 โมเดล สู่ความเป็นเลิศ ด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม
โมเดลการกำหนดขอบเขต
และเป้าหมาย KM
โมเดลกระบวนการบริหาร
จัดการการเปลี่ยนแปลง
Change Management Process
โมเดลระบบบริหาร
จัดการนวัตกรรม
Innovation Management System
Slide
จุดเด่นของโครงการ
Integrate practical models to support SE-AM / TQA / Performance Improvement
ผสานโมเดลการจัดการองค์กรซึ่งเป็นที่นิยม ทั้งการจัดการความรู้ Knowledge Management และระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม Innovation Management ที่สามารถสนับสนุนแนวทางในการประเมิน และปรับปรุงองค์กรรัฐวิสาหกิจเพื่อยกระดับผลการดำเนินการขององค์กร
Introduce up-to-date lesson
หลักสูตรปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันช่วยให้ธุรกิจและองค์กร สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น แนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ ตลอดจนบริบทภายนอกด้านเทคโนโลยี
Learn from case study and workshop
เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญและองค์กรที่เข้าร่วมอบรม เพื่อสร้างแนวปฏิบัติงานใหม่ ตลอดจนเรียนรู้จากกรณีศึกษาขององค์กรที่ได้ดำเนินการจริง และบทเรียนจากการประยุกต์ใช้โมเดลต่างๆ
In-depth Coaching and Consulting
มีการประเมินปัญหาและโอกาสในการปรับปรุง ตามแนวทาง SE-AM / TQA เป็นรายองค์กร พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ด้านการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ทั้งกรอบของ TQA SEPA
Slide
ประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากโครงการ
บุคลากรมีความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ด้วยโมเดลที่สนับสนุน”การจัดการองค์ความรู้” และ“การบริหารจัดการนวัตกรรม” ตลอดจนดำเนินงาน ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ เป้าหมาย หรือกลยุทธ์ขององค์กร ด้วยแนวทางการจัดการองค์ความรู้และการบริหารจัดการนวัตกรรม เกิดโครงสร้างการบริหารจัดการนวัตกรรมและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับองค์ก
องค์กรเกิดนวัตกรรมใหม่ในทุกระดับ ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการทำงาน ตลอดจน รูปแบบธุรกิจใหม่ และมีการจัดการนวัตกรรมที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ
องค์กรพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรในด้านต่างๆ ให้ทัดเทียมกับ มาตรฐานสากล ตามเกณฑ์ SE-AM และ TQA
Slide
Project Approach and Steps
Slide
โครงการนี้เหมาะกับใคร

• ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่รับผิดชอบการปรับปรุงผลดำเนินการตามแนวทาง SE-AM ในหัวข้อ KM and IM หัวข้อ Strategic Planning และ หัวข้อ Internal Audit
• ผู้บริหารและพนักงานองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการแข่งขันและการสร้างนวัตกรรมองค์กร
• ผู้บริหารและพนักงานที่มีการนำ TQA ไปประยุกต์ใช้

วิทยากร

คุณ สุรเชษฎ์ พลวณิช
ผู้อำนวยการฝ่ายปรึกษาแนะนำ

ดร. วิรินยาอร เหลืองบริบูรณ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและการสร้างสรรค์

ระยะเวลาดำเนินการ
4 เดือน

พฤศจิกายน 2564 - มกราคม 2565

ค่าใช้จ่าย

สมัครเป็นรายองค์กร
โดยมีผู้เข้าอบรม 5 ท่าน
ค่าใช้จ่ายรวม 120,000 บาท
(รับเพียง 6 องค์กร)

Remarks

หากมีการให้คำปรึกษาแนะนำรายองค์กรแบบ On Site องค์กรจะต้องสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าที่พักและค่าเดินทางต่างจังหวัด และการปรับเปลี่ยนวันที่นัดหมาย

กำหนดการอบรม
Drive for Excellence with Knowledge Management and Innovation Management
วัน/เวลา
กิจกรรม
วันที่ 25 พ.ย. 64
09.00-16.00 น.

Engine 1 : Knowledge Management
• แนวคิดและความสำคัญของการจัดการความรู้ต่อองค์กร
• หลักการและแนวทางการจัดการความรู้ตามแนวทาง KM MODEL
• แนวทางการพัฒนาองค์กรด้านการจัดการความรู้ตามแนวทาง SE-AM / TQA
• KM-การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จตามแนวทาง Change Management Model
• ISO 9001-2015
• การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จตามแนวทาง Change Management Model
• การกำหนดแนวทาง/แผนงานการจัดการความรู้องค์กร
• เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
o CoP
o Dialogue
• ตัวอย่างการนำ KM ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรชั้นนำ

วันที่ 14 ธ.ค. 64
09.00-16.00 น.

Engine 2 : Innovation Management
• นวัตกรรม คือ อะไร (ความหมายโดยทั่วไป)
• เกณฑ์ Enabler ด้านการจัดการนวัตกรรม (IM : Innovation Management)
• เครื่องมือ การบริหารจัดการนวัตกรรม พร้อมตัวอย่างและการประยุกต์ใช้
• SEPA หมวด 4
• BS 7000-1: 2008
• CEN/TS 16555
• ISO 56002
• TIM (Total Innovation Management) Framework
• SQA-Innovation Excellence Framework
• แนวทางการจัดทำกลยุทธ์ด้านการจัดการนวัตกรรม

Slide
สอบถามรายละเอียดโครงการได้ที่
ขนิษฐา คงประเสริฐลาภ
ฐิตารีย์ สุจริตภวัตสกุล
02-6195500 ต่อ 586
02-6195500 ต่อ 572
phone_iphone
081-810 8329 / 098-789 4694