Currently, Thailand Productivity Institute is supervised by Foundation for Thailand Productivity Institute in a similar way of other 10 network institutes of Ministry of Industry which are under the supervision of the Foundation for Industrial Development, the Foundation for Institute for Small and Medium Enterprises Development, and the Foundation for Construction Institute.
11 Network Institutes of Ministry of Industry are:
The network institutes have been operating
in alignment with government policy effectively
with the aim at leveraging various aspects of competitiveness for Thai industries.
As network institutes of Ministry of Industry, we undertake to be as “national institute” with the effort of guiding and leveraging organizational productivity and strengthening sustainable growth guided by Thailand’s Twenty-Year National Strategic Plan in the aspect of establishing competitiveness. The strategy emphasizes the upgrading of national competitiveness and productivity with promising technology as well as the accelerating human resource development especially in entrepreneurial skill and uniqueness ultimately for the nation's competitiveness and sustainable economic growth.
The year 2019 has marked the 25th anniversary of Thailand Productivity Institute establishment with our determination as
“Thailand’s Growing Sustainably Stronger with Productivity”
through our excellent services; consulting service, productivity research, productivity promotion and dissemination, and academic cooperation with overseas networks.
1995- Present
ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 โดย Organization - NPO) ขององค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียในประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2537 ได้มีมติจัดตั้งสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้เปลี่ยนแปลงหน่วยงานสมาชิกจากศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย มาเป็นสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2538 เป็นต้นมา ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนของประเทศในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกับผู้แทนของประเทศสมาชิก
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย (National Productivity Organizations - NPOs) รับผิดชอบการขับเคลื่อนหลักการการเพิ่มผลิตภาพในประเทศไทย รวมทั้งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในประเทศในการจัดประชุมนานาชาติ สัมมนา การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การวิจัย และกิจกรรมอื่นๆ ที่ได้ตกลงไว้ในแต่ละปี ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆ ของเอพีโอครอบคลุมทั้งภาครัฐในเชิงนโยบายและการพัฒนาการบริการ ภาคเอกชนได้รวมการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการพัฒนาชุมชม รวมทั้งครอบคลุมภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ
การเป็นสมาชิกองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย เป็นโอกาสในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในกลุ่มประเทศสมาชิก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อยกระดับการจัดการเพิ่มผลิตภาพ ตลอดจนเป็นการสร้างองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กิจกรรมสำคัญภายใต้โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและการพัฒนาภาครัฐ ด้วยกิจกรรมการส่งตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมโครงการเอพีโอ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเพิ่มผลิตภาพของบุคลากรไทยดังเช่น โครงการส่งเสริมศักยภาพ SMEs โครงการพัฒนานวัตกรรม โครงการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) การเพิ่มผลิตภาพของภาครัฐ และโครงการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานเพิ่มผลิตภาพของประเทศ และเมื่อตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าสู่กิจกรรมการขยายผลในประเทศไทยด้วยการเผยแพร่รายงานจากผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์
กิจกรรมสำคัญประการต่อมาคือ การขอผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศภายใต้การสนับสนุนจากเอพีโอ เพื่อสร้างความตระหนักในการเพิ่มผลิตภาพและศักยภาพของประเทศ รวมทั้งกิจกรรมการศึกษาดูงานในประเทศสมาชิก เพื่อเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
อีกทั้งยังมีกิจกรรมเช่น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรชาวไทยเพื่อเป็นวิทยากรในระดับภูมิภาคและนานาชาติ โดยการเสนอชื่อวิทยากร และนักวิจัยเข้าร่วมโครงการของเอพีโอ ตลอดจนกิจกรรมการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มผลิตภาพด้านเกษตรอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน และกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในชุมชน โดยจัดตั้งคณะที่ปรึกษาด้านการเกษตรและการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ข้อมูลและคำปรึกษาในการออกแบบโครงการเอพีโอ
2017
โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายในการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานให้องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ Industry 4.0 พร้อมมุ่งสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต
สำหรับกิจกรรมภายใต้โครงการ แบ่งออกเป็นการประเมินระดับของพัฒนาการด้านอุตสาหกรรม ซึ่งจะพิจารณาจากระดับการใช้เทคโนโลยี โดยมีรายงานการประเมินครอบคลุม 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมสำคัญประการต่อมาคือการประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรมในการเข้าสู่ Industry 4.0 (Industrial 4.0 Readiness Index) กรอบในการประเมินจะเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Fraunhofer IEM’s Framework ในประเด็นต่าง ๆ ทั้งด้านนโยบายและกลยุทธ์ ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร และด้านนวัตกรรม
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้พัฒนาระบบการประเมินระดับพัฒนาการองค์กรตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Quick Scan) เพื่อให้ผู้ประกอบการวัดระดับกิจการของตน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านเว็บไซต์ Productivity Intelligence Unit
นอกจากนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว ยังมีกิจกรรมการประเมินปัจจัยแวดล้อมซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาไปสู่ Industry 4.0 ทั้งด้านประสิทธิภาพของเครือข่ายดิจิตอล การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และการพัฒนาแหล่งเทคโนโลยี
องค์กรสามารถนำผลการศึกษาของโครงการมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาแนวทางการปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายในองค์กรของตนเอง ซึ่งถือเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างมีทิศทางตามกรอบอุตสาหกรรม 4.0
ส่วนผลลัพธ์ในระดับนโยบาย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้นำเสนอประเด็นเชิงกลยุทธ์สำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 ที่ประเทศไทยควรเร่งดำเนินการ ทั้งการสร้างความตระหนักรับรู้ การใช้ข้อมูลดิจิทัลในการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง และการจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาศักยภาพ SMEs 4.0” เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านรูปแบบธุรกิจดิจิทัล
และสำรวจบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย
2015 and 2017
โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้ด้านผลิตภาพ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถใช้ข้อมูลจากการสำรวจเพื่อต่อยอดการศึกษาวิจัยในเรื่องอื่น ๆ หรือเป็นแหล่งข้อมูลเพื่ออ้างอิงทางวิชาการ ตลอดจนภาคราชการในระดับนโยบายสามารถกำหนดมาตรการสนับสนุน เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของภาคธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การเพิ่มผลิตภาพของประเทศ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ดำเนินการการจัดทำดัชนีการเพิ่มผลผลิตเชิงมูลค่าเพิ่ม (Value Added Productivity Index) ดัชนีประสิทธิภาพการผลิตรวม (Total Productivity) และบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย
เริ่มต้นจากการทบทวนแบบสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยอาศัยความร่วมมือในการตรวจสอบและเพิ่มเติมข้อคำถามตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง สุ่มตัวอย่างจากกรอบกลุ่มเป้าหมายของการศึกษา ที่ระดับความเชื่อมั่น 90 เปอร์เซ็นต์ สำรวจภาคสนามและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบ Face to Face ได้ผลลัพธ์เป็นรายงานบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย รายงานผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระดับอุตสาหกรรมในแต่ละดัชนีผลิตภาพเชิงมูลค่าเพิ่ม และการวัดผลิตภาพรวม
ต่อยอดไปสู่การพัฒนาระบบประมวลผลและการวิเคราะห์ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการศึกษาครอบคลุม 10 กลุ่มอุตสาหกรรมครอบคลุม 7 ภูมิภาคทั่วประเทศ
โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดผลลัพธ์สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนจากต่างประเทศ ให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันระหว่างกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ และสามารถเปรียบเทียบระดับผลิตภาพ เพื่อหาวิธีในการปรับปรุงกระบวนการ การวางแผนการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2001- Present
โครงการดังกล่าวมุ่งยกระดับการดำเนินงานและพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อระดับผลิตภาพที่ดีขึ้นขององค์กร และในภาพรวมทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติถูกนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์สำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแลหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ สาธารณสุข และการศึกษา
สำหรับกิจกรรมภายในโครงการ ประกอบไปด้วยการเผยแพร่รางวัลคุณภาพแห่งชาติและส่งเสริมการนำไปปฏิบัติในองค์กร โดยประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติคือองค์กรสามารถเตรียมพร้อมและปรับตัวได้อย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเกิดวัฒนธรรมการบูรณาการกระบวนการทำงานระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ผู้บริหารองค์กรชั้นนำผ่านกิจกรรมการอบรมและสัมมนาเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรสู่มาตรฐานสากลตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวนกว่า 41,276 คน ในตลอดระยะเวลา 17 ปี
อีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การตรวจประเมินองค์กรและมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ตลอดจนพัฒนาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินโครงการ มีองค์กรสมัครขอรับรางวัล จำนวน 456 องค์กร โดยมีองค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จำนวน 4 องค์กร และองค์กรที่รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านต่าง ๆ (Thailand Quality Class Plus :TQC+) และ รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) รวมจำนวน 92 องค์กร ทำหน้าที่เป็นต้นแบบให้แก่องค์กรอื่นๆ เรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี และ นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
นอกจากนี้การสร้าง สรรหา และพัฒนาผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานภายใต้โครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติทำหน้าที่ตรวจประเมินองค์กร จัดทำรายงานการป้อนกลับ ตลอดจนให้ความคิดเห็นในการกำกับดูแล ปรับปรุงการดำเนินงานแก่องค์กร
การดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีให้แก่องค์กร โดยองค์กรต่าง ๆ มีระดับสมรรถนะขององค์กรที่สูงขึ้น ทั้งด้านผลิตภาพ ค่าจ้างแรงงาน และมูลค่าเพิ่มต่อยอดขาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาผลิตภาพภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนทุกองค์กรสามารถก้าวไปในทิศทางแห่งการพัฒนาในเส้นทางเดียวกัน และช่วยยกระดับการแข่งขันของประเทศไทยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล