26 August 2016

เทคโนโลยีไม่ได้บ่งชี้ความอยู่รอด

เมื่อประเทศไทยประกาศนโยบาย Thailand 4.0 บรรยากาศตื่นตัวด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ทั้งที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจ รวมไปถึงการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ

มีผู้ระบุว่าเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนั้น ได้แก่   Computing capabilities, storage and access ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลและการเข้าถึงของคอมพิวเตอร์   Big data ข้อมูลที่มีปริมาณมากและมีความซับซ้อนสูง Digital health การดูแลสุขภาพผ่าน Application ของสมาร์ทโฟน  3D Printing  และBlockchain  ไฟล์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลการฝากถอนเงินในระบบดิจิตอล   เป็นต้น

ดูเหมือนว่าในการก้าวไปสู Thailand 4.0 นั้น เทคโนโลยีจะรับบทนำที่ทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนสภาพก้าวข้ามตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ เป็นตัวตัดสินว่าธุรกิจของคุณจะมีสิทธิ์ไปต่อหรือไม่ จะทำให้การดำเนินงานในภาครัฐมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถให้บริการที่รวดเร็วขึ้น แม่นยำขึ้น เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

3D Printing  ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้และข้อ จำกัดของการผลิต ผู้บริโภคสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลออนไลน์และเร็ว ๆ นี้จะสามารถที่จะเพียงแค่กด “พิมพ์” แทนการรอคอยสำหรับการจัดส่ง ทั้งยังสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ไม่เพียงแต่รถยนต์ บ้านและวัตถุอื่น ๆ แต่ยังสามารถสร้างเนื้อเยื่อของมนุษย์กระดูกและขาเทียมที่ออกแบบเฉพาะ ผู้ป่วยไม่ต้องรอการบริจาคอวัยวะอีกด้วย

ในปี 2020 มีการคาดการณ์ว่า 43% ของประชากรโลกในปัจจุบันใช้ชีวิตเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว สหประชาชาติได้มีการกำหนดเป้าหมายของการเชื่อมต่อทุกคนที่อาศัยอยู่ในโลกกับอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลการศึกษาและตลาดโลก ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนจำนวนมากในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และก้าวพ้นจากความยากจน

ในปี 2020 ประมาณ 22% ของรถยนต์ของโลกจะมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และปี 2024 มากกว่าครึ่งหนึ่งของการจราจรทางอินเทอร์เน็ตที่บ้านจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ บ้านอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมไฟ ความร้อน เครื่องปรับอากาศและระบบรักษาความปลอดภัยจากระยะไกลได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยีส่วนบุคคลจะเพิ่มมากขึ้น คอมพิวเตอร์กำลังจะย้ายจากโต๊ะทำงานไป ในกระเป๋าและ เสื้อผ้าของเรา ในปี 2025 คาดว่าประชากร 10% ในโลกจะสวมใส่เสื้อผ้าที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ และจะมีเครื่องมือเล็กๆ ใช้ฝังลงไปเก็บอยู่ใต้ผิวหนัง เชื่อมต่อกับการสวมใส่ เช่น เสื้อกีฬาที่ให้ข้อมูลการออกกำลังกายแบบ real-time โดยผลการวัดจากเหงื่ออัตราการเต้นหัวใจและการหายใจแล้วประมวลผลส่งออกผ่านระบบออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อกังวลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์เข้าไปทำงานแทนแรงงานคน และกระทบต่ออาชีพที่มีอยู่เดิม เช่น โดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติอาจแทนที่คนขับรถขนส่งหรือคนขับแท็กซี่ ยิ่งจักรกลเพิ่มฉลาดใกล้เคียงมนุษย์เท่าไร ก็ยิ่งท้าทายมุมมองของเราต่อความหมายในการเป็นมนุษย์ จากงานวิจัยพบว่าประมาณว่า 47% ของอาชีพชาวอเมริกันมีความเสี่ยงสูงที่จะมีคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์ที่จะเข้าไปแทนที่

การปรับตัวและก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการก้าวทันเทคโนโลยีนั้นเป็นปัจจัยเดียวของการอยู่รอด

จากรายงาน “Future Work Skills 2020” บ่งชี้ว่า การที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยในชีวิตประจำวันและการทำงานมากเท่าใด มนุษย์ยิ่งต้องสร้างความสามารถในการทำความเข้าใจ คิด วิเคราะห์ กลั่นกรอง เลือกสรรให้มากขึ้น ลึกซึ้งขึ้น การเรียนรู้เพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้หมายความว่าเรื่องราวหรือภูมิปัญญาในอดีตนั้นเป็นสิ่งไร้ค่า ตรงกันข้าม หากสามารถนำเรื่องราวเหล่านั้นมานำเสนอผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ นั่นคือการสร้างสรรค์ที่มีความแตกต่างเฉพาะตัวอย่างน่าสนใจ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวเกี่ยวกับการปรับตัวของสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นที่มีอายุ 60 ปี จากผู้ผลิตหนังสือการ์ตูน ไปสู่การเป็น Content Provider” ทุกรูปแบบ ในทุกแพลตฟอร์ม ต่อยอดจากรากฐานเดิมที่สร้างสมมา บันลือสาส์นไม่ใช่สิ่งพิมพ์รายแรกที่ปรับตัว แต่ความได้เปรียบของบันลือสาส์นอยู่ที่ Story ที่มีอยู่ ทำให้สามารถนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ได้อย่างน่าสนใจ

ดังนั้นในเทคโนโลยีก็ต้องมี Story หรือเรื่องราวที่จะนำเสนอ ซึ่งเรื่องราวต่างๆ นั้นมีอยู่มากมาย ผู้ประกอบการจึงต้องเลือก ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ว่าเรื่องราวใดที่เหมาะสมจะนำไปใช้ในการสร้างคุณค่าให้ธุรกิจ หลังจากนั้นก็ต้องเรียนรู้เรื่องราวนั้นอย่างลึกซึ้งจนสามารถนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง และมัดใจลูกค้าได้ในหมัดเดียว

 

เตรียมพร้อมสู่ Thailand 4.0 ด้วย สัมมนา “พลิกโฉมองค์กรให้ทันการเปลี่ยนแปลง…เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย” รายละเอียด คลิก

Banner พลิกโฉมองค์กร_revised-01

 




Writer

โดย สุรีพันธุ์ เสนานุช

• วิทยากรอิสระ ด้านการถอดบทเรียนและการเขียนบทความวิชาการ
• ประสบการณ์ งานวิจัยและบรรณาธิการต้นฉบับ หนังสือกรณีศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ขององค์กรที่ได้รับรางวัล คุณภาพแห่งชาติ TQA และ TQC,
• โครงการวิจัยการถอดบทเรียนการจัดการความรู้ กรมอนามัย,
• ผลงานด้านหนังสือ บทบรรณาธิการ และบทความใน วารสาร Productivity World สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จำนวน 160 บทความ,
• ผลงานเขียนหนังสือ Visionary Leadership กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์,
• ผลงานเขียนหนังสือ Tragedy of Lost โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ, Societal Responsibility กรณีศึกษาบริษัท สวิฟท์ จำกัด ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (งานเขียนร่วม) เป็นต้น