3 November 2017

             

             7 ทักษะสำหรับเด็กเพื่อการอยู่รอดบนโลกของการทำงานที่เปลี่ยนไป

คำกล่าวที่ว่า เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ถือเป็นภาพสะท้อนที่แสดงว่า สังคมหันมาให้ความสำคัญกับเด็กมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้การศึกษาในช่วงเวลาที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง การสอนให้เด็กมีทักษะเพื่อเตรียมรับมือกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป จึงเป็นเรื่องที่จะรอช้าไม่ได้

การศึกษาอาจเป็นเหมือนหนังสือเดินทางสู่อนาคต แต่ดูเหมือนว่าการเรียนการสอนในโรงเรียนจะไม่สามารถสอนในส่วนของทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุดได้ นี่เป็นคำกล่าวจากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา

ดร. โทนี่วากเนอร์ ผู้อำนวยการร่วมของ Harvard’s Change Leadership Group กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กๆ กำลังเผชิญหน้ากับ “ช่องว่างแห่งความสำเร็จ” ซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างโรงเรียนที่มีการสอนที่ดีที่สุดกับกับทักษะที่เยาวชนจำเป็นต้องเรียนรู้

สิ่งนี้เกิดจากแนวโน้ม 2 ประการที่มีความขัดแย้งกัน ประการแรกคือ การเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจความรู้ ประการที่สอง วิธีการที่เด็กๆ ใช้เรียนวันนี้ จากการเติบโตมากับอินเตอร์เน็ต ที่เป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้

จากหนังสือชื่อ The Global Achievement Gap, Wagner ที่ระบุสมรรถนะหลัก 7 อย่างที่เด็กทุกคนต้องการ เพื่อให้อยู่รอดในโลกของการทำงาน

               1. การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา

บริษัทจำเป็นต้องมีความสามารถในปรับปรุงกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แข่งขันได้ และการที่จะเป็นเช่นนี้ได้บริษัทจึงต้องการพนักงานมีทักษะในการคิดวิเคราะห์และสามารถตั้งคำถามได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เข้าถึงปัญหาอย่างแท้จริง

               2. ความร่วมมือระหว่างเครือข่าย และการเป็นผู้นำที่สร้างแรงจูงใจ

จากการเชื่อมต่อกันของโลกธุรกิจ ทักษะในการเป็นผู้นำ ความสามารถในการโน้มน้าว และทำงานร่วมกันเป็นทีมมีความสำคัญมากขึ้น และWagner กล่าวว่ากุญแจสู่การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือ  มันเกี่ยวข้องกับ ” การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และการมีกรอบแนวทางของจริยธรรมที่ชัดเจน”

               3. ความกระฉับกระเฉง และความสามารถในการปรับตัว

ความสามารถในการปรับตัว และเปิดรับทักษะใหม่ๆ ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว พนักงานต้องสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างหลากหลายในแก้ปัญหาได้ เป็นที่รู้จักกันว่า “ความสามารถในการเรียนรู้” ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องต้องการสำหรับผู้สมัครงาน

               4. ความคิดริเริ่ม และการเป็นผู้ประกอบการ

ไม่มีความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากความพยายาม บ่อยครั้งที่ผู้คนและธุรกิจไม่ชอบความเสี่ยง จะดีกว่าไหมถ้าลองทำ 10 อย่างแล้วประสบความสำเร็จ 8 อย่าง เมื่อเทียบกับจะลองทำ 5 อย่างแล้วประสบความสำเร็จทั้งหมด

               5. การพูดและการเขียนเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ความคิดที่คลุมเครือ และการไม่สามารถที่จะสื่อสารความคิดของพวกเขา เป็นข้อร้องเรียนทั่วไปที่ได้รับจากผู้นำทางธุรกิจ เมื่อค้นคว้าหนังสือของเขาจะพบว่า มันไม่เกี่ยวกับความสามารถของเยาวชนในการใช้ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอนที่ถูกต้อง หรือการสะกดคำ แต่เป็นการสื่อสารอย่างชัดเจนด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการนำเสนอ “หากคุณมีความคิดที่ดี แต่คุณไม่สามารถสื่อสารได้ คุณก็เหมือนไม่มีตัวตน”  Wagner กล่าว

               6. การเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูล

มีพนักงานมากมายต้องรับมือกับข้อมูลรายวันจำนวนมาก ความสามารถในค้นหาและดึงสิ่งที่เกี่ยวข้องออกมาจึงเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

               7. ความอยากรู้อยากเห็นและจินตนาการ

ความอยากรู้และจินตนาการเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหา “เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับความรู้อยากเห็น ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ Wagner กล่าวว่า “เด็กชายวัยสี่ขวบ จะถามคำถามโดยเฉลี่ยร้อยคำถามต่อวัน แต่ตอนที่เด็กอายุ 10 ขวบ เขามักจะกังวลกับการได้รับคำตอบที่ถูกต้องจากโรงเรียน มากกว่าการถามคำถามที่ดี”

เราในฐานะครูและผู้ปกครอง สิ่งที่ต้องทำคือการรักษาความอยากรู้และจินตนาการ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในเด็กทุกคนนั้นเอาไว้

ที่มา : https://www.weforum.org/agenda/2017/09/skills-children-need-work-future




Writer

โดย ผ่องอำไพ ศรีบรรณสาร

เจ้าหน้าที่บริการสัมมนา แผนกสัมมนา
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ