12 December 2024

องค์กรมี Successor หรือยัง

โดยคุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการ สลิงชอท กรุ๊ป 

มีหลายองค์กรมากมายที่ไม่มีการวางแผนในเรื่องนี้ พอถึงเวลาที่ผู้บริหารเกษียณอายุหรือลาออกไป เลยไม่มีคนขึ้นมาแทน พอคนแทนไม่พร้อม องค์กรเหล่านั้นจึงต้องเลือกทำวิธีการใดวิธีการหนึ่งต่อไปนี้ 

  1. ต่ออายุผู้บริหารคนเดิม – องค์กรก็จะไม่มีความคิดใหม่ๆ ไม่มี Innovation 
  1. ซื้อคนจากนอกเข้ามา – เราจะรู้ได้ยังไงว่าได้คนที่ถูกต้อง คนใหม่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร ไม่เข้าใจวิธีการทำงาน เป็น “ดาว” ของที่อื่นแต่อาจจะมาเป็น “ดิน” ของที่นี่ สุดท้ายก็ต้องลาออกไป กลายเป็นว่าเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แถมยังทำให้คนข้างในเสียทั้งขวัญและกำลังใจอีกด้วย
  1. จำใจโปรโมตคนที่ไม่พร้อม – เราอาจได้ผู้นำที่คนไม่ยอมรับ เก่งงานแต่ไม่เก่งคน พอโปรโมตขึ้นมากลายเป็นเสียพนักงานเกรด A ไปหนึ่งคนแล้วได้ผู้บริหารที่ไม่เข้าท่ามาเพิ่มอีก 1 คน ในเวลาเดียวกัน แบบทูอินวัน (2 in 1)

ดังนั้นองค์กรจึงควรเร่งสร้างผู้นำรุ่นใหม่เอาไว้แต่เนิ่นๆ ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ใช่ลุกขึ้นมาพัฒนาตอนที่เริ่มต้นเกิดปัญหาแล้วเท่านั้น
 

แนวทางการพัฒนามีหลากหลาย วันนี้ขอแนะนำ 4 วิธี 

🔍 Coaching เป็นการชวนคิดผ่านการตั้งคำถาม เพื่อให้เจ้าตัวได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาระยะหนึ่ง เพียงแต่ที่ผ่านมามักเป็นผู้ลงมือทำ (Doer) มากกว่าเป็นคนคิด (Thinker) การ “ชวนคิด” จะช่วยฝึกฝนทักษะด้านการคิดให้พัฒนาขึ้นได้ 

🔍 Mentoring เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมากนัก ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่หรือตำแหน่งใหม่ได้ บางทีพี่เลี้ยง (Mentor) ก็อาจช่วยแนะนำในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการโดยตรงได้ด้วย เช่น การวางตัวในองค์กร การพัฒนาตนเอง การเป็นผู้นำ การเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโต เป็นต้น 

🔍 Teaching เป็นการสอนวิธีการทำงาน ส่วนมากเน้นความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ใช้ได้กับคนที่ทั้งมีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ เพราะความรู้ในการทำงานมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา 

🔍 Counselling หมายถึงการ “ชวนคิด” ในเรื่องส่วนตัว หลายๆ องค์กรเชื่อว่าปัญหาส่วนตัวมีผลต่อการทำงาน เพียงแต่พนักงานส่วนใหญ่ไม่ค่อยนำปัญหาส่วนตัว โดยเฉพาะเรื่องที่ละเอียดอ่อนและอาจมีผลกระทบต่อการทำงาน เช่น เป็นหนี้นอกระบบ ติดการพนันหรือยาเสพติด เป็นต้น มาปรึกษาหัวหน้างานหรือ HR องค์กรจึงจัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกมารับฟังและช่วยตั้งคำถามชวนให้คิด บริการแบบนี้เรียกว่า Employee Assistance Program (EAP) และคนที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเรียกว่า Counsellor 

 

แต่ละวิธีก็เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อยู่ที่เราเลือกใช้ เมื่อพัฒนาไปเรื่อยๆ ก็พอจะมองออกได้ว่าคนของเราพร้อมไหมที่จะได้รับการโปรโมตให้เป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหารต่อไป หรือต้องรีบหาคนใหม่เข้ามาแทน เพราะคนที่มียังไม่พร้อมที่จะเติบโต 

 

ค้นหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

📆 4 กุมภาพันธ์ 2568 Assignment & Controlling Tips (เทคนิคการมอบหมายงานและติดตามงาน) คลิก  

📆 19 กุมภาพันธ์ 2568 Become a Great Leader with Effective Coaching and Feedback เสริมศักยภาพผู้นำด้วยเทคนิคโค้ชชิ่งและฟีดแบ็ค คลิก 

📆 5-6 มีนาคม 2568 Essential Supervisory Skills for Productive Supervisor (ทักษะที่จำเป็นสำหรับ Productive Supervisor) คลิก




Writer

โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา

กรรมการ สลิงชอท กรุ๊ป