23 September 2024

‘สอนให้ทำ’ กับ ’ปล่อยให้ทำ’ วิธีไหนดีกว่า 

 

โดยคุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา 
กรรมการ สลิงชอท กรุ๊ป 

 

 

 

👉 คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ทั้งสองแนวทางนี้ใช้ได้หมดแล้วแต่ว่ารายละเอียดของงานเป็นแบบไหน ประสบการณ์ของคนที่จะทำมีความพร้อมอยู่ในระดับใด ความยากง่ายของงานเป็นอย่างไร และงานนี้เร่งด่วนขนาดไหน 

 

💭 สำหรับลูกน้องที่มีประสบการณ์ หัวหน้าอาจใช้วิธี “ปล่อยให้ทำ” (Empowering) เพราะไว้วางใจว่าจะรับผิดชอบงานนี้ได้แน่นอน แต่ถ้าเป็นงานใหม่ที่ยากมากๆ และยังไม่เคยทำมาก่อน แม้จะมีประสบการณ์ในการทำงานมาหลายปี แต่ประสบการณ์ในเรื่องนี้ยังไม่มี การปล่อยให้ทำ ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม ในทางกลับกัน หากพนักงานขาดประสบการณ์แต่มีความตั้งใจ สนใจอยากลองทำงานใหม่ๆ การปล่อยให้ทำทันทีตามความปรารถนาก็ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง หัวหน้าควรต้องสอนหรือบอกวิธีการให้ชัดเจน (Directing) อย่าทึกทักเอาเองว่า “คนที่อยากทำ จะทำได้เสมอไป” 

 

ดังนั้นหัวหน้าที่ดีจึงไม่ควรมีแค่วิธีการเดียว ใช้บริหารพนักงานทุกคน

แต่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนแนวทางในการจัดการให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความพร้อมของแต่ละคน 

 

🟡🟢🟡🟢

 

ความพร้อมในการแสดงผลงานของลูกทีม เปรียบเสมือนเกรดในการเรียนหนังสือ 

🔍 เกรด 4 คือมีความพร้อมสูงที่สุด เป็นพวกที่ทำได้และอยากทำด้วย วิธีการที่เหมาะสมคือ หัวหน้าปล่อยให้ทำ แล้วคอยดูอยู่ห่างๆ พร้อมให้การสนับสนุนเมื่อจำเป็น 

🔍 เกรด 3 คือความพร้อมระดับปานกลาง เป็นพวกที่ทำได้แต่ชักหมดพลัง ไม่อยากทำ ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ หัวหน้าจะปล่อยเลยก็ไม่ได้ ต้องเข้าไปพูดคุย ซักถามเพื่อค้นหาปัญหาว่า “เหตุใดจึงไม่อยากทำ” และช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาให้ 

 🔍 เกรด 2 คือความพร้อมระดับปานกลางเช่นกัน แต่ต่างจากเกรด 3 ตรงที่ พวกนี้อยากทำหรือมีความสนใจ แต่ขาดความรู้ ขาดทักษะ ขาดประสบการณ์ หัวหน้าต้องช่วยสอน ช่วยบอก ช่วยให้คำแนะนำ 

🔍 เกรด 1 คือความพร้อมระดับต่ำสุด พวกนี้นอกจากจะทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดีอย่างที่คาดหวังแล้ว ยังไม่สนใจไม่ใส่ใจ ไม่อยากทำอีกด้วย หัวหน้าจำเป็นต้องจ้ำจี้จ้ำไช บางกรณีอาจถึงกับต้องสั่งหรือบังคับให้ทำและคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด 

 

ความพร้อมเหล่านี้ ไม่ใช่คน หมายความว่า ไม่ใช่ นาย ก เป็นคนเกรด 4, นาย ข เป็นคนเกรด 3 เป็นต้น อันที่จริงเราทุกคนมีทุกเกรด ขึ้นอยู่กับงานอะไร เรื่องอะไร หรือกิจกรรมอะไร ดังนั้น อย่าทึกทักเอาว่า “คนนี้เกรดนั้น คนนั้นเกรดนี้” แต่จงวินิจฉัยความพร้อมเป็นเรื่องๆ หรืองานๆ ไป แล้วใช้วิธีการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับความพร้อมนั้น หากทำได้เช่นนี้ ทีมงานก็จะพัฒนาและผลงานก็ดีด้วย 

 

ค้นหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

📆8 ตุลาคม 2567 Assignment & Controlling Tips (เทคนิคการมอบหมายงานและติดตามงาน)

คลิก 

📆31 ตุลาคม 2567 Managing Employees for Performance Achieved (การบริหารคนเพื่อเพิ่มผลงาน)

คลิก

📆5-6 พฤศจิกายน 2567 SHAPE Strategic KPIs and Execute SMART Actions for Sustainable Transformation

คลิก 




Writer