17 July 2024

พลังของคำชื่นชมที่หัวหน้ามักละเลย

โดย คุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
กรรมการ สลิงชอท กรุ๊ป

 

“คุณชมลูกน้องครั้งสุดท้ายเมื่อไร?” คำถามนี้ยังตอบง่ายกว่า  

“ลูกน้องรู้สึกว่าคุณชมพวกเขา ครั้งสุดท้ายเมื่อไร?”

 

เพราะบางครั้งคำชมของคุณ คนฟังอาจไม่ได้รู้สึกว่าถูกชมด้วยซ้ำ เช่น ขอบคุณ ดีมาก จบ  สำหรับคุณนั่นคือชมแล้ว แต่สำหรับลูกน้อง พวกเขาอาจไม่ได้รู้สึกแบบนั้น และการที่ลูกน้องไม่รู้สึกว่าทำงานแล้วได้รับคำชื่นชม ก็อาจทำให้หมดกำลังใจได้

งานวิจัยของ Gallup พบว่า คำชื่นชม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คนมี Engagement กับองค์กรและมีใจจะอยู่กับเรานานขึ้น 

 

 

คำชมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง 

  1. สร้างกำลังใจ : ทำให้อยากจะทำให้ดีแบบนี้อีกเรื่อยๆ
  2. ช่วยเหลือกัน : พอทำงานด้วยกันแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดี ภาพรวมออกมาได้รับคำชม ทุกคนก็มีใจอยากช่วยกันให้งานออกมาดีอีก
  3. ลดการลาออก : เมื่อหัวหน้าเห็นความสำคัญ คนก็อาจรู้สึกว่าอยากลาออกน้อยลง เพราะทำดีแล้วมีคนเห็น

 

ควรชมอย่างไรให้ดูเป็นธรรมชาติ 

  1. ชมให้ยาวขึ้น อย่าบอกแค่ว่าดีมาก แต่ให้บอกด้วยว่าดียังไง เช่น เธอเตรียมข้อมูลมาดีมาก ลูกค้าอ่านแล้วเข้าใจง่าย ได้รับคำชมมาในที่ประชุม พี่เลยเอามาชมต่อ เป็นต้น
  2. ชมอย่างจริงใจ ไม่ต้องชมให้อลังการเกินความจำเป็น เพียงแค่ใส่ความตั้งใจและความจริงใจเข้าไป แค่นั้นพอ
  3. ชมต่อหน้าคนอื่น นอกจากจะเอ่ยคำชมกับเจ้าตัวแล้ว ยังควรชมให้เพื่อนร่วมงานหรือคนที่เกี่ยวข้องฟังด้วย เขาจะยิ่งภาคภูมิใจมากขึ้น
  4. ชมแล้วยังไม่ต้องรีบติ แบ่งแยกการชมกับการติออกจากกัน ถ้าชมด้วยติด้วย ลูกน้องจะจำได้แต่เรื่องที่โดนตำหนิ และคิดว่าการชมนั้น เป็นเพียงแค่ลมปาก เหมือนการทาแอลกอฮอล์ให้เย็นๆ ก่อนปักเข็มฉีดยาลงไป เท่านั้น

ลองหาจังหวะชื่นชมลูกน้องดู ถือเป็นการเติมกำลังใจในการทำงานให้กัน ❣️

 

ค้นหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

✨ Great Employee Experience: Make Every Moment Matter (รักษาคนเก่งด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดี) คลิก

✨ Motivate Employees Through Performance (จิตวิทยาจูงใจเพื่อผลงานที่ดี) คลิก

✨ Leading with Empathy and Vulnerability คลิก




Writer

โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา

กรรมการ สลิงชอท กรุ๊ป