28 June 2024

หากจะบ่มเพาะ Green Innovator นักสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องเพิ่มบทบาท Super Productivity Specialist

 

โดย ฝ่ายวิจัย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 

 

 

           Elon Musk ผู้ก่อตั้ง Tesla เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ Wang Wenbiao ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ใช้พลังงานขยะแห่งแรกของจีน เป็นตัวอย่างของผู้สร้างนวัตกรรมสีเขียวได้เป็นอย่างดี เรากำลังพูดถึง บุคคลหรือองค์กรที่พัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ที่ส่งเสริมความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ Commitment ของผู้นำจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและค้นหาแนวทางแก้ไขที่เป็นนวัตกรรมสำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนได้ในช่วงเวลาของการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุด

 

 

           จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรที่กำลังหมดสิ้นลง และเกิดมลภาวะต่างๆ ที่กระทบต่อการดำรงชีวิต นักสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Innovator) มีบทบาทสำคัญในการจัดการกับความท้าทายนี้  

 

           สำหรับมุมมองของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ความเชี่ยวชาญในการเพิ่มผลิตภาพขั้นสูง (Super Productivity Specialist) ควรเป็นหนึ่งในบทบาทสำคัญของนักสร้างนวัตกรรมสีเขียวand  คำว่า “ขั้นสูง” เราหมายถึง ความสามารถการเชื่อมโยงกันได้อย่างเหมาะสมระหว่างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสีเขียว ประสิทธิภาพสูงสุดของกระบวนการ และการปรับตัวในทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างคุณค่าใหม่และความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการตลาดและแรงขับเคลื่อนใหม่ๆ  

 

 

🌍 ดังนั้น สิ่งที่เราอยากเห็นในตัวบุคคลหรือองค์กรที่มีทั้งสองมุมมองนี้ คือ 

💡ความสามารถในการระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมเร่งด่วน เช่น มลพิษหรือความสิ้นเปลืองทรัพยากร จากการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานเพื่อระบุความไร้ประสิทธิภาพและพื้นที่สำหรับการปรับปรุง  

💡สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และตีความข้อมูลเพื่อระบุแนวโน้ม รูปแบบ และโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยบูรณาการเครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพ เช่น ซอฟต์แวร์หรือระบบการจัดการอัตโนมัติ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานทดแทน การจัดการโลหะและพลาสติกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการพัฒนาวัสดุที่ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรเพื่อสร้างโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ  

💡การสร้างมูลค่าใหม่จากการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พลังงานน้อยลงหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถสร้างรายได้ใหม่และโอกาสในตลาดที่กำลังเติบโต เช่น การพัฒนาระบบพลังงานสะอาดหรือการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่รีไซเคิล  

💡ติดตามและวิเคราะห์ตัวชี้วัดประสิทธิภาพเพื่อวัดการเพิ่มผลิตภาพและระบุโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มเติม  

💡จัดการกับปัญหาคอขวดและอุปสรรคต่อประสิทธิภาพการทำงาน มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยมองหาวิธีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงกระบวนการและเพิ่มประสิทธิภาพตลอดเวลา  

💡เมื่อสามารถดำเนินการอย่างเข้มแข็งภายในองค์กรได้แล้ว สิ่งที่อยากเห็นต่อไปคือ การเป็น Role Model ในการสนับสนุนการนำแนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนมาใช้ในอุตสาหกรรมและชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นยอมรับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืน 

💡และต้องสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนาและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กรหรือชุมชนโดยรอบองค์กรเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเราอาจมองหาความร่วมมือกับพันธมิตรหรือการทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อนำแนวทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนที่องค์กรเป็นต้นแบบไปใช้อย่างมีประสิทธิผลต่อไป  

 

           บทบาททั้งสองด้านนี้ทั้ง Green Innovator และ Super Productivity Specialist เปรียบเสมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน เพราะต่างให้ความสำคัญของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างคุณค่าใหม่ การสร้างความยั่งยืนและการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและความเจริญเติบโตขององค์กรในระยะยาว 

 

ค้นหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

 

📍 Corporate Carbon Footprint and Greenhouse Gases Management Based on ISO 14064  
📅 17 – 18 กรกฎาคม 2567
รายละเอียด 👉 คลิก 

 

📍 เสริมแกร่งศักยภาพบุคลากร
รายละเอียด 👉 คลิก 




Writer