Sustainable Productivity กับแนวโน้มการผลิตในอนาคต
แนวโน้มการผลิตในอนาคตของอุตสาหกรรมไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จะถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ และความตระหนักในการดูแลสังคมรวมถึง จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักที่จะส่งผลต่อรูปแบบด้านประสิทธิภาพหรือผลิตภาพในอนาคต
การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในระดับต่อไปจะมีความเกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเหล่านี้จะช่วยให้เราปรับปรุงกระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพ และลดของเสียในหลากหลายอุตสาหกรรม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้หลายอุตสาหกรรมต้องเตรียมความพร้อมในการรับผลกระทบดังกล่าว ซึ่งความก้าวหน้าในเครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกันจะช่วยเพิ่มผลิตภาพและลดผลกระทบดังกล่าวได้ เมื่อการทำงานจากระยะไกลแพร่หลายมากขึ้น เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันและการสื่อสารเสมือนจริงจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้มั่นใจว่าทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยไม่คำนึงว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม
และต่อไปในอนาคต ธุรกิจจำนวนมากจะค้นพบว่าประโยชน์ของการทำงานจากระยะไกลว่ามีความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น ประหยัดต้นทุน และเข้าถึงกลุ่มผู้มีความสามารถได้มากขึ้น สามารถลดการขาดแคลนแรงงานในทักษะสำคัญ นอกจากนี้ แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจให้มีความยั่งยืนเป็นแนวโน้มที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานในอนาคตต้องมีการปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เช่น การลดของเสีย การปล่อยมลพิษ และการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส จะไม่ถูกมองว่าเป็นต้นทุนหรือภาระที่เพิ่มขึ้นอีกต่อไปแต่จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้
Sustainable Productivity
เป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์การผลิตในอนาคต เพราะให้ความสำคัญกับความสามารถในการรักษาและเพิ่มระดับผลผลิตในลักษณะที่ไม่ลดทอนความเป็นอยู่ที่ดีของสิ่งแวดล้อม สังคม หรือสร้างภาระให้กับคนรุ่นหลัง เกี่ยวข้องกับการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จในการเพิ่มผลิตภาพที่ยั่งยืนและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพที่ยั่งยืน ธุรกิจและองค์กรจะต้องนำแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในขณะที่ลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบสถานประกอบการ ซึ่งอาจรวมถึงมาตรการต่าง ๆ เช่น การลดของเสียและการปล่อยมลพิษ การส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียนและการดำเนินนโยบายที่รับผิดชอบต่อสังคม
Sustainable Productivity ยังต้องการมุมมองระยะยาว โดยมุ่งเน้นที่ไม่เพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเท่านั้น ความสำเร็จของผลิตภาพที่ยั่งยืนต้องมี Roadmap ในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย เพราะต้องรวมถึงผลกระทบระยะยาวของการปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง การพิจารณาถึงต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อม และผลประโยขน์ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญต่อการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุม พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และชุมชนที่กว้างขึ้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจและองค์กรจะไม่เกิดค่าใช้จ่ายของคนรุ่นต่อไป
สนใจหลักสูตร ESG path to Long-Term Success
คลิก