24 January 2023
เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง คนก็เปลี่ยนไป จับตามองแนวทางการบริหารจัดการพนักงานอย่างเหมาะสม
สอดรับกับสถานการณ์ในอนาคต เพราะคน คือ ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
1. มุ่งเน้นที่ความสุขของพนักงานมากขึ้น
การบริหารคนในองค์กรจะต้องมุ่งเน้นไปที่ความสุขของพนักงาน อย่างน้อย 3 ประกอบด้วย การมีสุขภาพกายที่ดี สมบูรณ์แข็งแรง สุขภาพใจที่ดีและความสุขในแง่ของความเป็นอยู่ การได้รับผลตอบแทนที่เพียงพอ อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การจ่ายผลตอบแทนที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องสอนถึงการบริหาร การใช้เงินอย่างเหมาะสมด้วย
2. HR ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการบริหารแรงงานยุคใหม่
ในอนาคตจะเกิดกลุ่มคนประเภทที่ไม่ต้องการทำงานตลอดเวลา (Full-Time) หรือ สำหรับงานบางประเภทก็ไม่จำเป็นจะต้องพนักงานแบบ Full-Time แล้วเช่นกัน การบริหารจัดการคนจึงไม่ได้มีแค่ Employee หรือ พนักงานประจำเพียงอย่างเดียว แต่จะเพิ่มหน้าที่ในการบริหารพนักงานชั่วคราว เช่น Gig Worker, Freelancer รวมไปถึง AI Robot ด้วย
HR หัวหน้างาน และผู้บริหาร จึงต้องพยายามค้นหากลยุทธ์ที่จะพัฒนาพนักงานทั้งประจำและไม่ประจำไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป ออฟฟิศอาจเป็นแค่ที่รวมตัวในบางโอกาสเท่านั้น
เมื่อองค์กรปัจจุบันเปลี่ยนไปทำงานแบบ Hybrid Working หรือ Work from Anywhere มากขึ้น ซึ่งในบางครั้งการทำงานรูปแบบดังกล่าวอาจกระทบกับวัฒนธรรมในองค์กร ดังนั้น วิธีการสร้าง Core Values หรือ Implement core values ต้องเปลี่ยนไป เพราะว่าเมื่อก่อนพนักงานมีการรวมตัวกันที่ออฟฟิศ การสร้าง engagement ก็จะง่ายๆ แต่ปัจจุบันแตกต่างออกไป พนักงานไม่ได้อยู่ในออฟฟิศทุกวันและอยู่ที่ไหนบ้าง ก็ไม่ทราบ ฉะนั้น วิธีคิดที่จะสร้าง engagement กับคนเหล่านี้ก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน เราจะต้องสร้าง strategies ในการบริหารจัดการการทำงานแบบ Hybrid ได้อย่างไรบ้าง และต่อไปออฟฟิศจะกลายเป็นสถานที่ที่ให้พนักงานเข้ามารวมตัวกัน สำหรับในบางโอกาส
4. CHRO ต้องวางแนวทางบริหารตามหลักการ ESG
HR ยุคใหม่ต้องมองให้ไกลกว่าการดูแลพนักงาน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมโดยรอบ และการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสด้วยธรรมมาภิบาล โดยยึดหลักการ ESG
5. กระแส Metaverse มีบทบาทมากขึ้น
การที่ Metaverse กำลังเป็นกระแสที่อาจมีบทบาทสำคัญต่อโลกอนาคต ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้ที่มีหน้าที่บริหารจัดการคนจะต้องมีความเข้าใจ เรียนรู้ และหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น Blockchain, NFT, Cryptocurrency
6. องค์กรยุคใหม่ต้องมี Purpose-Driven ที่ชัดเจน
การมี Purpose ในการเติบโตที่ชัดเจน จะช่วยให้องค์กรสามารถดึงดูดคนเก่งและเหมาะสมกับองค์กรเข้ามาทำงาน องค์กรยุคใหม่ควรแสดงให้เห็นว่าการที่จะเข้ามาร่วมงานกับองค์กรนั้น ไม่ใช่แค่เพื่อทำงานแต่เข้ามาเพื่อสร้างฝัน หรือสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นร่วมกัน
7. ให้ความสำคัญกับ Diversity & Inclusion
องค์กรต้องมีแผนการส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม เพื่อสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร โดยต้องเริ่มตั้งแต่เข้ามาทำงาน จนกระทั่งออกจากองค์กร
8. ระดับหัวหน้างานต้อง Reskill / Upskill ทักษะใหม่
Leader หรือ Manager มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง Reskill หรือ Upskill ให้พร้อม ซึ่งจะไม่ได้มีเพียงแค่ hard-skill หรือ soft-skill แล้ว เพราะในอนาคตผู้ที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องพร้อมด้วย 4 ทักษะ ดังนี้
1. Functional skill (เดิมคือ Hard-skill)
2. Innovation skill
3. Digital Skill
4. Power skill (เดิมคือ Soft-skill) สิ่งที่จะช่วยเป็นพลังให้เราทำงานสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
ฉะนั้นเมื่อ HR ต้องการวางแผนพัฒนาคนในองค์กร โดยเฉพาะในระดับหัวหน้างาน หรือ ผู้บริหารระดับกลาง ก็จำเป็นต้องพัฒนาให้เขาเหล่านั้นพร้อมด้วยทักษะเหล่านี้เช่นกัน
9. อย่าลืมใส่ใจพนักงานที่เป็น Deskless Worker
HR ควรหาวิธีดูแลพนักงานที่ไม่ได้ทำงานแบบนั่งโต๊ะ (Deskless Worker) เช่น พยาบาล แคชเชียร์ หรือ พนักงานขายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็น กลุ่มที่ไม่สามารถ Work from Home ได้ จึงควรชดเชยในส่วนอื่น เพื่อไม่ให้พนักงานรู้สึกไม่เท่าเทียม อีกทั้งคนกลุ่มนี้ยังเป็นคนที่ติดต่อกับลูกค้าขององค์กรโดยตรงอีกด้วย
10. การนำข้อมูลพนักงานมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์
อาจเป็นการนำข้อมูลของพนักงานมาวิเคราะห์เพื่อจัดสรรสวัสดิการหรือการดูแลให้ตรงกับความต้องการของพนักงานมากที่สุด เช่น วิเคราะห์ว่าพนักงานมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคอะไรบ้าง หรือ มีแนวโน้มที่จะเคลมประกันในเรี่องใดบ้าง รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดสรรสินค้าและบริการให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าหรือความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
11. เลือกเรียนรู้เฉพาะที่จำเป็นต้องใช้
ปัจจุบันมีเทรนด์การเรียนรู้ที่ถูกพูดถึงมากขึ้นคือ ‘เรียนเมื่อใช้’ จากเดิมที่อาจเป็นการเรียนเผื่อใช้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นการเรียนรู้ที่สูญเปล่า ฉะนั้น การเรียนเมื่อใช้จะมีบทบาทมากขึ้น เช่น การทำ Micro Learning หรือ การทำวิดีโอสั้น ๆ เพื่อสอนเทคนิคเฉพาะเรื่อง
12. สงครามการแย่ง ‘คนเก่ง’ จะรุนแรงขึ้น
อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในช่วงของสงครามการแย่งคนเก่ง (Talent War) ที่กำลังรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น
-
การเกษียณอายุของพนักงาน
-
เด็กรุ่นใหม่มีค่านิยมไม่อยากทำงานแบบ Fulltime และมีแนวโน้มเปลี่ยนงานบ่อย
-
อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง
-
คนที่มีศักยภาพไม่อยากเติบโต คนที่อยากเติบโตกลับเป็นคนที่ไม่มีศักยภาพ
ที่มา: AIHR และคุยสบายบ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU EP.50 Modern Workforce Trends ส่องเทรนด์การทำงานที่น่าจับตาในอนาคต