28 March 2019

 

การประกวดรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ  ครั้งที่ 11 และการประกวดรางวัล SME Start up ครั้งที่ 3

 (11th SME National Awards & 3rd SME Start up Awards)

 

ความเป็นมา

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่ และภารกิจในการให้การช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของประเทศ ได้จัดกิจกรรมการประกวดรางวัลเพื่อผู้ประกอบการ SME โดยใช้ชื่อว่ารางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ หรือ SME National Awards โดยได้ดำเนินการมาแล้ว 10 ครั้ง เริ่มครั้งแรกในปี 2549  โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบัน  เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ด้วยการนำแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA) มาปรับใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาตัดสินธุรกิจที่เข้าร่วมประกวด เพื่อมอบรางวัลให้กับกลุ่มธุรกิจ SME ที่มีประสิทธิภาพ และความสามารถในการบริหารจัดการอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งการจัดประกวดดังกล่าวจะเป็นเวทีในการคัดเลือกผู้ประกอบการ SME ในภาคธุรกิจต่างๆ ที่มีศักยภาพ หรือมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าสู่การประกวด เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างมาตรฐาน/คุณภาพ กระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SME เกิดแรงจูงใจ เกิดการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจให้มีมาตรฐานมากขึ้นสู่ระดับสากล ซึ่งการจัดประกวด ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีธุรกิจ SME จำนวนมากให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ดังนั้น สสว. จึงได้จัดให้มีการประกวดรางวัล SME National Awards อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการ SME ของไทย

ในปี 2562 สสว. จึงได้กำหนดจัดการประกวดรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ  หรือ SME National Awards ครั้งที่ 11 และได้จัดให้มีการประกวดรางวัล SME Start up ครั้งที่ 3 ขึ้นเพื่อสรรหาผู้ประกอบการใหม่ ที่เริ่มประกอบธุรกิจที่มีความสามารถ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ทั้งยังกระตุ้นให้ผู้ประกอบการใหม่มุ่งมั่นในการดำเนินกิจการต่อไป โดยมีกลุ่มธุรกิจ SME ที่เป็นเป้าหมาย คือ ภาคการผลิต การค้า บริการ และภาคการเกษตร รวม 21 ประเภทธุรกิจ โดยในปีนี้ได้เพิ่มเติมหมวดที่ 21 เป็นประเภทธุรกิจอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 20 ธุรกิจเดิม  สำหรับเกณฑ์การพิจารณาตัดสินรางวัลนั้น จะอ้างอิงเกณฑ์การตัดสินรางวัลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA)  มาปรับใช้  เพื่อให้การพิจารณาต่างๆ มีความเหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
 

Overview

  1. เพื่อสรรหา SME ที่มีความสามารถในการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่ดี มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการ  มีความโปร่งใส และมีธรรมาภิบาล
  2. เพื่อสร้างต้นแบบให้เป็นแบบอย่างสำหรับผู้ประกอบการ SME รายอื่นๆ ให้มีการปรับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของธุรกิจตนเอง
  3. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SME ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจให้มีความเติบโตและเข้มแข็งสามารถแข่งขันได้ทั้งระดับประเทศและระดับสากล

 

กลุ่มธุรกิจ SME เป้าหมาย

ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ทั่วประเทศที่เป็นรายย่อย (Micro) หรือขนาดย่อม (Small) หรือขนาดกลาง (Medium)   โดยต้องเป็นกิจการที่ถือเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562

ประเภท ภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ
การจ้างงาน (คน) หรือ รายได้ (บาท) การจ้างงาน (คน) หรือ รายได้ (บาท)
รายย่อย
(Micro)
1-5 (คน) ไม่เกิน 1.8 ล้าน 1-5 (คน) ไม่เกิน 1.8 ล้าน
ขนาดย่อม
(Small)
6-50 (คน)
มากกว่า 1.8 ล้าน
ถึง 100 ล้าน
6-30 (คน)
มากกว่า 1.8 ล้าน
ถึง 50 ล้าน
ขนาดกลาง
(Medium)
51-200 (คน)
มากกว่า 100 ล้าน
ถึง 500 ล้าน
31-100 (คน)
มากกว่า 50 ล้าน
ถึง 300 ล้าน

 

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมประกวดรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ ครั้งที่ 11

  1. ต้องเป็นกิจการที่ถือเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  2. ต้องเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล หรือมีการจดทะเบียนพาณิชย์ หรือลงทะเบียนธุรกิจ E-commerce กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร หรือมีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
  3. ต้องมีการดำเนินธุรกิจก่อนวันรับสมัครเข้าร่วมประกวดไม่น้อยกว่า 3 ปี

 

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมประกวดรางวัล SME Start up Awards  ครั้งที่ 3

  1. ต้องเป็นกิจการที่ถือเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  2. ต้องเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล หรือมีการจดทะเบียนพาณิชย์ หรือลงทะเบียนธุรกิจ E-commerce กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร หรือมีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
  3. ต้องมีการดำเนินธุรกิจก่อนวันรับสมัครเข้าร่วมประกวดไม่เกิน 3 ปี

 

เกณฑ์การพิจารณารางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ แบ่งออกเป็น 7 หมวด ประกอบด้วย

          หมวดที่ 1. บทบาทของผู้บริหารในการนำองค์กร
          หมวดที่ 2. การวางแผนการดำเนินธุรกิจ
          หมวดที่ 3. การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด
          หมวดที่ 4. การวัด  วิเคราะห์ และจัดการความรู้
          หมวดที่ 5. การบริหารทรัพยากรบุคคล
          หมวดที่ 6. การจัดการกระบวนการ
          หมวดที่ 7. ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

 

ประเภทรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ  ครั้งที่ 11 (ผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินธุรกิจตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป)
ประเภทรางวัล
รางวัลที่ได้รับ
จำนวนรางวัล
1.    รางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ
ถ้วยรางวัลสุดยอด SME แห่งชาติ และเกียรติบัตร
ไม่จำกัดจำนวน
2.    รางวัล SME ดีเด่น
ถ้วยรางวัล SME ดีเด่น และเกียรติบัตร
ไม่จำกัดจำนวน
3.    รางวัลมาตรฐาน SME
ถ้วยรางวัลมาตรฐาน SME และเกียรติบัตร
ไม่จำกัดจำนวน

 

ประเภทรางวัล SME Start up ครั้งที่ 3 (ผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 ปี)

ประเภทรางวัล
รางวัลที่ได้รับ
จำนวนรางวัล
1.    รางวัลสุดยอด SME Start up
ถ้วยรางวัลสุดยอด SME Start up และเกียรติบัตร
ไม่จำกัดจำนวน
2.    รางวัลมาตรฐาน SME Start up
ถ้วยรางวัลมาตรฐาน SME Start up และเกียรติบัตร
ไม่จำกัดจำนวน

 

วิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการ

  1. สมัครออนไลน์ หรือดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ที่ www.smesnationalawards.com และ Application SME CONNEXT
  1. จัดส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการ มายังอีเมล [email protected] หรือโทรสาร 02-954-6663

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  

ศูนย์ประสานงานการรับสมัคร  Thailand Productivity Institute

เลขที่ 1025 ชั้น 12-15 อาคารยาคูลท์ ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

 

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ประสานงาน

  1. นายอำพล วรธงไชย โทรศัพท์ 083-202-9999 อีเมล [email protected]
  2. นางสาวอมีนา ชุดไทยสง โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 582 อีเมล [email protected]

 

จัดโดย…..สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (สสว.)

…………………………………………..

 




Writer

โดย ภานุพงศ์ วงศ์วิริยะวาณิชย์

โปรแกรมเมอร์ แผนกวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ
สำนักผู้อำนวยการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ