8 April 2015

ปัจจุบันนวัตกรรมการผลิตรถยนต์นั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก และคงไม่มีใครนึกว่าเส้นใยจากผลไม้ เช่น กล้วย สับปะรด จะสามารถนำมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้ แต่เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรในเซาเปาโล แสดงให้เห็นถึงเทคนิคการสกัดเส้นใยจากผลไม้ (fiber extraction techniques) เพื่อใช้ในการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีคุณสมบัติสำคัญ คือ น้ำหนักเบา และแข็งแรงกว่าชิ้นส่วนรถยนต์ทั่วไป

ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากพลาสติกนาโนเซลลูโลส(nano-cellulose plastic) มีต้นกำเนิดจากกล้วย สับปะรด และผลไม้อื่นๆ ที่คล้ายกัน ซึ่งมีคุณประโยชน์บางอย่างเมื่อเทียบกับชิ้นส่วนรถยนต์ในปัจจุบัน เช่น

– มีความทนทานเพิ่มขึ้น
– เพิ่มความแข็งแรง
– น้ำหนักเบา

ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากเส้นใยผลไม้นี้จะเป็นขั้นตอนต่อไปในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งไม่เพียงจะช่วยลดปริมาณไฟฟ้าแต่ยังช่วยลดมลภาวะ เช่นเดียวกับ รถยนต์ไฮบริดจากค่ายต่างๆ

รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต  

รายละเอียดของเทคโนโลยีชิ้นส่วนรถยนต์จากพืชนี้ ได้รับการเปิดเผยในการประชุมระดับชาติและนิทรรศการในรัฐแคลิฟอร์เนีย นักวิจัยหัวหน้าโครงการกล่าวถึงคุณสมบัติของพลาสติกแบบใหม่นี้ว่ามีจุดเด่นด้านความแข็งแกร่ง ทนทานอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถึง 30% ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

นักวิจัยเชื่อว่าชิ้นส่วนรถยนต์อื่น ๆ เช่น กันชน แผงหน้าปัดรถยนต์ และ แผงควบคุมด้านข้างนั้นจะผลิตจากเส้นใยผลไม้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่มีอยู่และการพิสูจน์ประสิทธิภาพในการใช้งาน  โดยชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบาจะสามารถลดน้ำหนักของรถซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย

ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากพืช

เส้นใยประเภทนี้มีความคงทนมาก และเคยนำไปใช้ในการผลิตชุดเสื้อเกราะของทหาร เช่น ชุดเสื้อเกราะกันกระสุน ชิ้นส่วนรถยนต์จากพืชที่ดีจะทนต่อการรั่วไหลของน้ำมันและความร้อนและยังสามารถต้านทานได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับชิ้นส่วนรถยนต์แบบเดิม

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์มีทางเลือกในการผลิตรถยนต์พลังงานสมดุล   และมีระบบเครื่องยนต์ที่ทันสมัยขึ้น

โดยผู้เชี่ยวชาญยังอ้างว่าชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตจากเส้นใยผลไม้ไม่ควรถูกจำกัดเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น

กระบวนการที่ท้าทาย

ต้นและใบของสับปะรดเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการผลิตนาโนเซลลูโลส ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่แถบอเมริกาใต้ ทำให้นักวิจัยเริ่มพิจารณาถึงผลไม้อื่นๆ เช่น กล้วย อีกด้วย ทั้งนี้ในการผลิตเส้นใยนาโนนั้นนักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ใช้ต้นและใบของสับปะรดใส่เข้าไปในอุปกรณ์พิเศษที่มีลักษณะเหมือนหม้อความดัน เพิ่มสารเคมีพิเศษและความร้อนผสมกันจนกว่าวัตถุนั้นจะมีลักษณะคล้ายแป้งฝุ่นแม้ว่าการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากเส้นใยผลไม้จะมีต้นทุนค่อนข้างสูง โดยในการผลิตนาโนเซลลูโลสให้ได้ 1 ปอนด์ จะต้องใช้ผลไม้หนักถึง 100 ปอนด์

ดังนั้นนักวิจัยจึงมุ่งความสนใจไปที่พลาสติกที่จะมาทดแทนและทำให้รถมีน้ำหนักเบาและประหยัดน้ำมัน นักวิจัยจึงมีความคิดว่าอาจจะใช้ชิ้นส่วนที่ทำจากพลาสติกนาโนเซลลูโลสทดแทนชิ้นส่วนที่เป็นอลูมิเนียมและเหล็กในบางจุดเท่านั้น

รถยนต์จากเส้นใยผลไม้ การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เซลลูโลสเป็นผนังเซลล์หลักสำหรับพืชสีเขียว และเส้นใยนาโนเซลลูโลสเป็นผลผลิตจากพืชที่มีขนาดเล็กมาก เส้นใย 50,000 เส้นใยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ารูขุมขนของมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น เส้นใยเหล่านี้ใช้ในการผลิตพลาสติกโดยเพิ่มเข้าไปในวัตถุดิบ การผลิตวัตถุดิบโดยใช้พลาสติกนาโนเซลลูโลสทดแทนนี้จะสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ แต่เมื่อรวมวัตถุดิบที่เป็นพลาสติกกับวัตถุดิบที่มาจากปิโตรเลียม  วัตถุดิบจะไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากเส้นใยสับปะรด ถึงแม้จะมีคุณสมบัติที่น่าเหลือเชื่อและใช้ในการผลิตชิ้นงานได้ แต่ยังคงมีคำถามว่า ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากพลาสติกจะทำมาจากผลไม้จริงหรือ ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีนี้แต่ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าผู้ผลิตจะผลิตมันจริง

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังยืนยันว่าชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากผลไม้จะมีน้ำหนักเบา ส่งผลให้รถสามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้นและยิ่งถ้าเป็นรถยนต์ไฮบริดก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงไม่มีข้อสงสัยเลยว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว จนมีรถที่สามารถขับและวิ่งได้โดยอัตโนมัติหรือมีรถยนต์ที่ไม่ต้องมีคนขับได้ ในเมื่อสามารถผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำจากผลไม้ได้และประสบความสำเร็จอีกด้วย

อ้างอิง http://usgreentechnology.com/alternative-fuels/green-transportation




Writer

โดย ศาตพร เผ่าสกุลทอง

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่สนับสนุนธุรกิจ แผนกสนับสนุนธุรกิจ
สายงานธุรกิจ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ศาตพร 0-2619-5500 ต่อ 585
mailto: [email protected]