31 March 2015

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา บริษัทหรือแบรนด์จึงต้องหาวิธีการใหม่ ๆ ในการสื่อสารหรือสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งบริษัท Linhart Public Relations (บริษัทที่ปรึกษาเชี่ยวชาญด้านงานประชาสัมพันธ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้รวบรวมกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์  ดิจิตอลและการสื่อสารการตลาด ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในปีค.ศ 2015   7 อันดับต้น ๆ ดังนี้

1.  การส่งมอบเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพและมีปริมาณมัลติมีเดียที่เหนือกว่า

แบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญจะเข้าใจความสำคัญของการสื่อสารแบรนด์ โดยในปีค.ศ. 2015  นักการตลาดต้องมองการณ์ไกลมากกว่าปริมาณของโพสต์เพื่อที่จะเอาชนะการโพสต์ไร้สาระ ผู้มีส่วนได้เสียในอนาคตจะพิจารณาว่าใครให้ความรู้มากกว่า และพวกเขาเลือกสรรมากกว่าแต่ก่อนเนื้อหาของแบรนด์จึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อกระตุ้นความสนใจ และตรงเป้าหมาย   นอกจากนี้ เนื้อหาควรมีความหลากหลายและเหมาะสมกับแพลทฟอร์มของสื่อต่างๆ

คุณภาพของมัลติมีเดียเป็นหัวใจสำคัญของเทรนด์นี้ รวมถึงคุณภาพของเนื้อหาและความเร็วในการสร้างและกระจายเนื้อหา บริษัทที่มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และมองการณ์ไกล จะแก้ไขปัญหาการตกค้างและล่าช้าของข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการสร้างทีมบรรณาธิการภายในองค์กร ซึ่งจะมีความชัดเจนในการลำดับเนื้อหา รูปแบบ สไตล์ หรือจ้างเอเจนซี่ที่มีคุณภาพมาทำงาน – Tim Streeb and Danielle Feldman

2. การใช้เงินให้คุ้ม – สนับสนุนเนื้อหาที่ถูกต้องบนแพลตฟอร์มที่เหมาะสม

นักการตลาดจะต้องลงทุนทั้งความพยายามและเงิน ด้วยกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงผู้ชมออนไลน์ที่เป็นเป้าหมายหลัก เช่น กรณีของ Facebook ได้ทำการปรับเปลี่ยน Algorithm ใหม่ ในปีค.ศ 2013 ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้ มีผลให้เนื้อหาของแบรนด์ลดลงในหน้าฟีดข่าว และปัจจุบันแพลตฟอร์มจำนวนมากจะเอาเนื้อหาของสปอนเซอร์มาแทนที่ การเลือกช่องทางและทางออกของข่าวสารสำหรับกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคทั้งจากที่เห็นเนื้อหาเอง หรือ ด้วยการที่เราต้องจ่ายเงิน อาทิ Facebook Ads ที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ผู้ใช้จะเห็นโฆษณาได้บ่อย เพราะมักจะเข้ามา Update Status กันตลอดเวลา รวมถึงการ Comment บุคคลอื่นๆ เมื่อกลุ่มเป้าหมายเข้ามาดูสินค้าหรือบริการของเรา ก็สามารถแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยง่าย ทำให้เกิด Viral Marketing  (วิธีทางการตลาดที่ได้ผลมากที่สุด) – Kaitlyn Viater

3. จะใช้อุปกรณ์อะไรไม่สำคัญ ขอให้เข้าถึงข้อมูลได้ (agnostic)

ในปีค.ศ. 2015 วิวัฒนาการด้านการสื่อสารแบบ agnostic สำหรับการทำการตลาดและการสื่อสารแบรนด์จะเติบโตไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ พวกที่ใช้ paid Media (สื่อที่ต้องจ่ายเงิน) Owned Media (ช่องทางการสื่อสาร หรือ แพลตฟอร์มที่เป็นของบริษัทเอง) และ Earned Media (การที่ผู้คนได้ช่วยเผยแพร่โปรโมทสินค้าและบริการของเราจากการเข้าไปกด Like Tweet share และตอบกระทู้) ซึ่งเป็นการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์จะถูกใช้เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วม เช่น แบรนด์ North Face เจ้าของแคมเปญ “See for Yourself” ด้วยการใช้ #SeeForYourself ซึ่งจัดแท็กซี่ที่ทั้งคัน ฟูลออฟชั่นด้วยจักรยานเสือภูเขา เรือแคนู เชือกไต่เขา จากนั้นก็แล่นรับคนไปเรื่อยๆ โดยนำผู้ขับขี่ไปทัศนศึกษา ณ รัฐที่ห่างไกล รวมทั้งการสำรวจสถานที่ 50 แห่งที่น่าตื่นตาตื่นใจในสหรัฐฯ โดยแฟนๆ ของ North Face จะได้รับการสนับสนุน snap selfies จากการแบ่งปันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ พวกเขายังสร้างความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริกาด้วย – Paul Raab

4. แอพพลิเคชั่นเพื่อสื่อสารกับพนักงานมาแรง

การเพิ่มขึ้นของการทำงานแบบใช้เครื่องมือสื่อสารทำงานนอกสถานที่ นั่นหมายถึงบริษัทก็จะต้องหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะเชื่อมต่อและเข้าถึงพนักงานได้ มีหลายองค์กรหันไปใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และใช้แอพพลิเคชั่นที่เฉพาะสำหรับการรับส่งข้อมูลแก่พนักงาน โดยให้พนักงานนำอุปกรณ์ไอทีส่วนตัวมาทำงานด้วย หรือที่เรียกว่า Bring Your Own Device (BYOD) เพื่อปรับให้เข้ากับยุคของการสื่อสารแบบไร้สาย – Kelly Womer

5. หลายบริษัทเริ่มนิยมที่จะรวมส่วนงานประชาสัมพันธ์และโซเชียลมีเดีย

Dustee Tucker Jenkins, Vice President of Public Relations and Social Media ของ Target Corporation เป็นตัวอย่างหนึ่งขององค์กรที่ได้บูรณาการส่วนงานประชาสัมพันธ์และโซเชียลมีเดียเข้าด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

การรวมงานสองส่วนนี้   เป็นวิธีที่สร้างประสิทธิภาพ   ในการสื่อสารข้อความ    สร้างการสื่อสารแบบสองทาง    และสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   เพื่อที่จะสร้างการรับรู้ และสร้างความพึงพอใจให้แบรนด์ในยุคของข้อมูลข่าวสาร   – Dawn Doty

6. ค้นหาวิธีที่จะช่วยคุณแม่ประหยัดเวลา

กลุ่มเป้าหมายที่เป็น “แม่” เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบันจำนวนของผู้เป็นแม่ซึ่งทำหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัวมีเพิ่มขึ้น ทั้งยังประสบปัญหาด้านการเงินและเวลาที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายนี้เป็นอีกกลุ่มที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญ โดยต้องแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ ความจริงใจ และยินดีที่จะช่วยเหลือพวกเขา ตัวอย่าง เช่น Amazon Prime ร้านค้าออนไลน์ที่มีสินค้าทุกอย่างตั้งแต่ มาสคาร่าของผู้หญิงจนถึงของใช้สำหรับเด็ก ซึ่งเป็นการช่วยพวกเขาประหยัดเวลาในการซื้อของได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ในปีค.ศ 2015 นักการตลาดต้องคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือโปรแกรมที่สามารถคืนเวลาให้แก่พวกเขาได้ – Kelly Janhunen

7. การหาเหตุผลจาก Big Data

ข้อมูลมากมาย หรือที่เรียกว่า “Big data” ซึ่งหมายถึง ข้อมูลที่มีลักษณะสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ ข้อมูลที่มีปริมาณมาก ข้อมูลที่มีรูปแบบหลากหลาย และข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและรวดเร็ว โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ขององค์กรจะต้องดำเนินการวัดสิ่งสำคัญและถอดรหัสความหมายของข้อมูล โดยนำข้อมูลที่มีปริมาณมากเหล่านี้มาประมวลผล วิเคราะห์ และแสดงผลด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์กรว่า ต้องการจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรได้บ้างโดยการตั้งคำถามว่า “ทำไม” ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความเข้าใจในเหตุผลต่างๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการตอกย้ำทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายต่อไป – Sharon Linhart

 

อ้างอิง  http://www.linhartpr.com/blog-7-prmarketing-communications-trends-watch-2015/
ภาพจาก  http://www.homeadvisorhomesource.com/wp-content/uploads/2013/04/Social-Media-1.jpg

 




Writer

โดย กนกกร ธีรกรรัชต์

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ส่วนประชาสัมพันธ์
ฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ