บนสมรภูมิแห่งการแข่งขันยุคศตวรรษที่ 21 การสู้กันด้วยการลดต้นทุน ค่าแรง กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ใช่หนทางที่ยั่งยืน แต่ต้องช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยการสร้าง ‘นวัตกรรม’ ให้แก่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสิ่งสำคัญ
ต้องอาศัยองค์ความรู้ภายในองค์กรเป็นพื้นฐานมากกว่าการลงทุนเครื่องจักรแม้มีมูลค่าเป็น 100 ล้านก็ไม่ใช่คำตอบ
กว่า 30 ปี ที่บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด หรือ APF สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กะทิสำเร็จรูป สู่คนไทยในชื่อ ‘กะทิชาวเกาะ’ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดย ดร.เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ
เป็นหัวเรือหลักในการร่วมคิดค้น ศึกษา และวิจัยกับทีมงาน ปัจจุบัน APF ได้สร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการแสวงหาความรู้ใหม่มาผนวกกับภูมิปัญญาที่สร้างสมอยู่ในองค์กร เส้นทางสู่นวัตกรรมของ APF
คือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ผู้บริโภค
มะพร้าวขูดสู่กะทิสำ เร็จรูป
ปัจจุบัน APF มีผลิตภัณฑ์จำแนกออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มธุรกิจมะพร้าว ได้แก่ ชาวเกาะ กะทิรอยไทย 2.กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม ได้แก่ วี-ฟิท โปร-ฟิท คิงไอแลนด์ ฟิต-ซี 3.กลุ่มธุรกิจอาหารพร้อมปรุง ได้แก่ รอยไทย 4.กลุ่มธุรกิจเครื่องปรุงรส ได้แก่ กู๊ดไรฟ์ และ 5.กลุ่มธุรกิจขนมขบเคี้ยว ได้แก่ ไอซ์ครีม
กว่าจะเกิดนวัตกรรมที่หลากหลาย ดร.เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร มีพื้นฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาจากบิดามารดา หากย้อนหลังไปเมื่อสมัยเริ่มต้นธุรกิจ การขนส่งมะพร้าวเน้นทางเรือเป็นสำคัญ ทำเลอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เปรียบเทียบกับปัจจุบันการคมนาคมสะดวกขึ้นมาก ทำให้การขนส่งไม่มีปัญหาเหมือนในอดีต
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริหารต้องหวนมองธุรกิจตนเองซึ่งต้องไม่เหมือนเดิม การผลิตกะทิคั้นสดขายเพียงอย่างเดียวถือว่าเป็นงานหนัก เพราะคู่แข่งเริ่มมากขึ้น สามารถเลียนแบบธุรกิจได้ไม่ยาก เกิดโรงงาน ร้านค้าใหม่ขึ้นมากมาย
จาก Know How และความชำนาญด้านมะพร้าวจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก จึงเกิดความคิดที่จะสร้างนวัตกรรมทำกะทิสำเร็จรูปออกจำหน่าย ซึ่งถือว่าสวนกระแสผู้บริโภคไม่น้อยที่มั่นใจกับการเห็นมะพร้าวเป็นลูกและคั้นสด ทำให้ช่วงแรกไม่ได้รับความนิยมเพราะถือเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค งานหนักจึงตกมาที่การสร้างความน่าเชื่อถือว่าคุณภาพกะทินั้นยังคงมีรสชาติคงเดิมที่มีความสะอาดมากขึ้น
โดยเริ่มกิจการแรก ปี พ.ศ. 2519 ภายใต้ชื่อ “ห้างหุ้นส่วนอุดมมะพร้าว” จนเจริญเติบโตขึ้นเป็นโรงงานแปรรูปมะพร้าวรายใหญ่ นำไปสู่การก่อตั้งธุรกิจใหม่ของครอบครัวเทพผดุงพรภายใต้ชื่อ “บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด” ใน ปี พ.ศ.2531
1% ของยอดขาย คือ ทุนวิจัยที่ผู้บริหารตั้งไว้ทุกปี
เพราะคิดเสมอว่า “ลูกค้าต้องการอะไร”
ด้วยผลิตภัณฑ์หลักคือ “กะทิสำเร็จรูป” ซึ่งได้รับการตอบรับจากตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก และสูงกว่าจำหน่ายในประเทศกว่าเท่าตัว ต่อมาลูกค้ามีความต้องการน้ำพริกแกงปรุงสำเร็จด้วยจึงเกิดนวัตกรรมการพัฒนาน้ำพริกแกงขึ้น โดยมีคุณสมบัติที่สามารถเก็บได้นาน ไม่ขึ้นรา ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกที่นำเทคนิควิทยาศาสตร์เข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการถนอมอาหาร ส่งผลให้ได้รับความนิยมและติดตลาดในสหรัฐอเมริกา เป็นที่รู้จักกันดีในนาม “แม่พลอย” ที่ถูกผลิตโดยอีกโรงงานของกลุ่มเทพผดุงพร
หลากผลิตภัณฑ์พัฒนาเพื่อผู้บริโภค
1% ของยอดขาย คือ ทุนวิจัยที่ผู้บริหารตั้งไว้ทุกปี เพราะคิดเสมอว่า “ลูกค้าต้องการอะไร” เป็นอันดับแรก นั่นคือโจทย์ของงานวิจัยและค้นคว้าผลิตภัณฑ์ (Product) ใหม่ โดยไม่เพียงแค่มี R&D ภายใน ยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ในการเสาะแสวงหาเทคโนโลยีมาเสริมความแข็งแกร่งให้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถจำแนกเส้นทางการเรียนรู้สู่นวัตกรรมเป็น 3 ยุค คือ
ยุคแรก (พ.ศ. 2523-2530) “ห้างห้นุ ส่วนอุดมมะพร้าว” โดยครอบครัวเทพผดุงพร ผู้จำหน่ายมะพร้าวรายใหญ่ของประเทศไทย นำไปสู่การแปรรูปกะทิสำเร็จรูปพาสเจอไรซ์บรรจุถุง และยังเห็นช่องทางสร้างรายได้จากการส่งออก 54 Productivity World ผักและผลไม้สดหลายสิบชนิดที่ขายได้ราคาดีในตอนนั้น โดยมี 5 ชนิดที่โดดเด่นคือ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดอ่อน มะพร้าวอ่อน และส้มโอ ด้วยการคัดเกรดนำส่วนที่ดีส่งเป็นของสด ส่วนที่เหลือเข้าโรงงานบรรจุลงกระป๋อง สร้างรายได้จากทั้งสองทาง ทำให้ธุรกิจค่อย ๆ เติบโตขึ้น และได้รับการตอบรับที่เกินความคาดหมายจากต่างประเทศ ทำให้มุ่งเพียงผลิตให้ทันตามความต้องการเท่านั้น ไม่มีการตลาดที่ชัดเจน เพราะผลิตเท่าไร มียอดสั่งจองทั้งหมด
ยุคกลาง (พ.ศ. 2531-2538) แต่โอกาสไม่ได้สดใสอยู่นาน อุปสรรคจากทั้งภายนอกและภายในกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ เมื่อจีนเปิดประเทศ สินค้าเกษตรหลั่งไหลสู่ตลาดโลก ด้วยความได้เปรียบด้านราคาที่ต่ำกว่าขณะที่สำหรับผักและผลไม้สด มีปัญหาการไม่สามารถหาสินค้ามาซัพพลายได้ จากความไม่แน่นอนของผลผลิตทางการเกษตรของไทย ประกอบกับต้นทุนแรงงานของไทยกลับถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับขีดความสามารถในการแข่งขันทำให้ต้องดิ้นรนหานวัตกรรมและพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ มาสร้างโอกาสที่แตกต่างไปจากเดิม
แรงบีบคั้นจากการแข่งขันทำให้ได้ไอเดียใหม่ “กะทิกล่อง” จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในสายการผลิตจากเดิมด้วยระบบฆ่าเชื้อแบบยูเอชที คงความสด 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการพัฒนาสิ่งใหม่ให้ตลาดในประเทศไทย แม้จะใช้เวลานานกว่าผู้บริโภคจะยอมรับ แต่ในท้ายที่สุดก็สามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ในครัวไทยได้สำเร็จ
ต่อมาเริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการเกิดโรงงานขึ้นหลายแห่ง และสามารถผลิตสินค้าเลียนแบบกันได้ จึงส่งผลให้ APF ก้าวเข้าสู่ยุคของการบริหารความพึงพอใจของผู้บริโภค มีการบริหารจัดการภายในโรงงาน ทั้งในเรื่องของต้นทุน ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ดีกว่าคู่แข่ง
ยุคที่สาม (พ.ศ. 2539 ถึงปัจจุบัน) “รอยไทย” น้ำพริกแกงพร้อมปรุงที่บรรจุในกล่องยูเอชทีกำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เมื่อตลาดต่างประเทศกำลังค่อย ๆ ตอบรับสินค้าใหม่นี้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมนี พม่า ฯลฯ ที่ขยับเข้าไปเปิดตลาด เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภครอคอยอยู่ และที่สำคัญมีจุดขายที่แตกต่างคือ รสชาติที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยเพราะเป็นวัตถุดิบจากเมืองไทย
แม้ว่าวันนี้จะยังไม่ได้รับความสนใจจากตลาดในประเทศเท่าไรนักเพราะผู้บริโภคยังไม่เชื่อมั่นในตัวสินค้าและ มีทางเลือกอื่น เช่นเดียวกับเมื่อตอนที่กะทิชาวเกาะเปิดตัวออกสู่ตลาดใหม่ๆ แต่แนวโน้มก็เป็นไปในทางที่ดี เพราะฉะนั้น เวลาและการกระตุ้นจะเป็นตัวผลักดันตลาดในขั้นต่อไป
ที่สำคัญคือ หลักคิดในการสร้างรายได้จากความรวดเร็วในการสร้างโอกาส การมองไปข้างหน้าก่อนคนอื่น การเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น การนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ การเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมถึงเน้นการสร้างกำไรจากสินค้าที่เป็น by product ซึ่งเป็นสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กะทิ เช่น สินค้าที่แปรรูปจากการใช้ทุกอย่างจากมะพร้าวทั้งลูกเป็นวัตถุดิบ เช่น การแปรรูปถ่านอัดแท่งจากกะลา ทำอาหารเสริมจากกากมะพร้าว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นสินค้าหรือ พัฒนาให้เป็นเชื้อเพลิงแบบใหม่เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากเชื้อเพลิงเดิมที่มีราคาสูง ฯลฯ ซึ่งผลลัพธ์จะทำให้ “อำพลฟูดส์” สามารถเผชิญความท้าทายอยู่เหนือการแข่งขัน
สนองความพึงพอใจผู้บริโภค ด้วยความแตกต่าง เริ่มมีนวัตกรรมที่เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์แบบกระป๋อง และแบบถุงพาสเจอไรซ์ ยอดขายเริ่มดีขึ้น แต่เพียง 5-10% ของปริมาณการใช้กะทิสด
ทั้งประเทศ ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้เกิดการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ด้วยการทำ Focus Group ว่าทำไมถึงไม่นิยมนำกะทิกระป๋องไปปรุงอาหาร ซึ่งผลการวิจัยพบว่ากลัวมีการผสมแป้ง ไม่สดใหม่ ใช้สารกันบูด จึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่แบบกล่อง UHT ขึ้น เพื่อคงสภาพความสดใหม่สะดวกต่อการเก็บรักษาและหยิบใช้
ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีของ APF คือการมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อตอบสนองผู้บริโภค ส่งผลให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความนิยมเพียงร้านค้า ร้านอาหาร ขยายสู่ระดับครัวเรือนด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
เป็นทางเลือกสำหรับคุณพ่อบ้านแม่บ้านยุคใหม่ที่มี Life Style สังคมเมือง
นวัตกรรมนำ ด้วยงานวิจัย
นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) ยุคแรกๆ APF เริ่มทำ R&D จากศูนย์ ลองผิดลองถูกสะสม องค์ความรู้มากมายเต็มองค์กร เมื่อเห็นว่าแนวโน้มในอนาคต คู่แข่งขัน และ Life Cycle เริ่มเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้น มีสินค้าเกิดใหม่ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้มากขึ้น APF จึงเริ่มออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเร่งผลิตให้ทันกระแสความนิยมของผู้บริโภคแต่ผลลัพธ์กลับไม่เป็นอย่างที่คาดหวังเสมอไปเป็นเหตุผลให้ต้องกลับมา ทบทวนตนเองอีกครั้ง
ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ต้องมีความคุ้มค่าจึงตัดสินใจซื้อทำให้มีการเพิ่มรายละเอียด (Functional) ในผลิตภัณฑ์มากขึ้น เช่น รอยไทย เน้นความรวดเร็ว ด้วยน้ำแกงพร้อมปรุงในกล่อง UHT สะดวกต่อการหยิบใช้และจัดเก็บซึ่งต้องผ่านการวิจัยเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน และการบรรจุให้ปริมาณเนื้อแกงสม่ำเสมอในแต่ละกล่อง
แม้ APF สามารถครอง Market Share กะทิสำเร็จรูปได้ถึง 80% ซึ่งถือเป็นผู้นำ แต่ไม่ได้หยุดค้นคว้าวิจัย เพียงแค่นี้การสร้างนวัตกรรมใหม่ออกมาก่อนย่อมได้เปรียบเสมอ ขณะเดียวกันต้องยอมรับกับการลอกเลียนแบบจึงเกิดคำถามว่า
“แล้วจะหนีคู่แข่งได้อย่างไร?”
APF จึงมุ่งที่งานวิจัยเชิงลึกทั้งด้านวิทยาศาสตร์อาหารและการบริหารจัดการองค์กรซึ่งต้องอาศัยเครือข่ายในการร่วมทำวิจัยเพื่อให้เกิดการต่อยอดจนเกิดมูลค่า อาทิ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถถนอมอาหารได้นานขึ้น คงความอร่อยและสดใหม่ หรือแม้แต่การคิดค้นพลังงานจากวัตถุดิบเหลือใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อหมุนเวียนใช้ภายในโรงงาน เช่น ขุยมะพร้าว กะลา เป็นต้น โดยอนาคตจะมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยขึ้นอย่างครบวงจรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) ควบคู่กับการตลาด ทดสอบตลาดเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยมีทุนบริหารจัดการศูนย์จาก 1% ของยอดขาย APF และทุนจากแหล่งต่างๆ อาทิ สวทช. NTA
LO ตอบ (วิสัยทัศน์) นวัตกรรม
ด้วยวิสัยทัศนแ์ ละค่านิยม (Vision & Value) ซึ่งถือเป็นเบ้าหลอมวัฒนธรรมภายในองค์กรประกอบกับนโยบายของผู้บริหารล้วนให้การสนับสนุนในการสร้างนวัตกรรมที่มีเป้าหมายและมองภาพเดียวกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ทั้งกระตุ้นให้เกิดการนำความรู้จากภายนอก (Know How) มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ประกอบกับกระแสการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น APF จึงให้ความสำคัญกับ Change Management ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ที่สะสมเพื่อมาพัฒนาต่อยอดพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยนำ KM มาใช้รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน นำไปประยุกต์ใช้งานได้ โดยไม่ต้องทำอะไรใหม่หรือซ้ำแบบเดิม เนื่องจาก มีองค์ความรู้ไม่น้อยที่คนรุ่นเก่าทำและทดลองไว้ อีกประการคือ KM ยังช่วยให้พนักงานรุ่นใหม่และเก่าเข้ากันได้ง่ายขึ้นโดยนำไปเชื่อมโยงกับ Career Path สร้างคนให้ทันกับการขยายงานในอนาคต
นอกจากนี้ APF เสริมความแข็งแกร่งในองค์กรด้วยระบบพี่เลี้ยง โดยกำหนดตั้งแต่ระดับผู้จัดการที่มีอายุงานไม่ต่ำกว่า 10 ปีต้องรู้ภาพรวมของงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ฉะนั้นระดับบริหารต้องสอนได้ เป็นครูขององค์กร เพราะยิ่งสอนจะยิ่งเข้าใจและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้เป็นครู ในขณะเดียวกันระดับพนักงานก็เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในการพัฒนางานได้อย่างอิสระบนพื้นฐาน Think Global Act Local รู้ รับ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรด้วยกิจกรรมและโครงการให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
APF หล่อหลอมวัฒนธรรมให้พนักงานเป็นผู้กระหายความรู้ตลอดเวลา ทุกครั้งที่มีการอบรมทั้งภายในและภายนอกจึงกำหนดให้พนักงานต้องมีการนำความรู้นั้นกลับมาใช้ในองค์กรพร้อมทั้งเปิดช่วงเล่าสู่กันฟังแก่ผู้บริหารนำเสนอโครงการที่จะนำมาใช้กับงานของตนเอง และสรุปในฐานข้อมูล Share Point KM ซึ่งผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน คือ
นอกจากนี้ APF ยังมีการวัดและประเมินผลเป็นรายบุคคลจากทั้งภายในด้วย KPI ระบบพี่เลี้ยง และภายนอกในหลาย ๆ รูปแบบ ทั้งการตรวจประเมิน ดำเนินโครงการร่วมกับเครือข่าย การเข้าประกวดโครงการชิงรางวัลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงการเปิดให้องค์กรภายนอกมาศึกษาดูงานเพื่อผลักดันให้เกิดการตื่นตัวอย่างต่อเนื่อง
จากองค์ความรู้ที่สร้างสม APF ยังคงคิดค้นพัฒนานวัตกรรมให้ผลิตภัณฑ์ของตนตอบสนองตลาดในอนาคตสร้างภาพลักษณ์ที่คุ้นหู ติดตา ให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ ด้วยองค์ความรู้ที่สร้างสมจนเป็นเอกลักษณ์ และบุคลากร ที่มีแนวคิดว่า “ถ้าทำให้ดีกว่าเดิมได้หรือไม่” อำพลฟูดส์จึงเป็นองค์กรที่กล้าประกาศตัวเป็นองค์กรนวัตกรรมที่แท้จริง