Public Training

[2019] PI-17: IE Techniques for Productivity Improvement (เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ)

วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย


ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) บาท
สมาชิกสถาบันลด 5%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ (IE Techniques) เป็นกลุ่มของเทคนิควิธีที่มุ่งขจัดความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดในกระบวนการผลิตและปรับปรุงกระบวนการ วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตั้งแต่ในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัย การดำเนินงาน     การวางแผน และควบคุมการผลิต การวางผังโรงงาน การศึกษาวิธีการทำงาน การวัดผลงาน เป็นต้น

เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ เป็นหลักสูตรในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการปรับปรุงกระบวนการ โดยเน้นด้านการศึกษาวิธีการทำงาน การวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุง ตลอดจนเทคนิคการวัดผลงานเพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงาน

วัตถุประสงค์

  • เข้าใจความหมาย และความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
  • รู้จักความสูญเสียต่างๆ ในกระบวนการผลิต
  • รู้จักเทคนิค IE ชนิดต่าง ๆ และนำไปปรับใช้ในหน่วยงานได้
  • เรียนรู้ในเรื่อง Method Study และ Work Measurement

วิธีการอบรม

  • บรรยาย ฝึกปฏบัติและอภิปรายผลการฝึกปฏิบัติ
  • วิทยากร: รุ่น 1 คุณกำพล กิจชระภูมิ

– วิทยากรที่ปรึกษาและมีประสบการณ์ด้านการเพิ่มผลผลิตให้กับหน่วยงานต่างๆ

– มีประสบการณ์ทำงานในภาคอุตสาหกรรม อาทิ  บริษัท สยามสแตนเลส สตีล จำกัด, บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด เป็นต้น

  • วิทยากร: รุ่น 2 คุณเกียรติขจร โฆมานะสิน

– อดีตวิทยากรที่ปรึกษา ส่วนบริหารการผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

– อดีตที่ปรึกษาโครงการ Productivity Improvement, โครงการ Lean Manufacturing

– ประสบการณ์ วิศวกรวางแผน และควบคุมการผลิต  วิศวกรประกันคุณภาพ บริษัท สยามคูโบต้าอุตสาหกรรม เป็นต้น

เหมาะสำหรับ

วิศวกร  หัวหน้างาน และผู้จัดการ จากฝ่ายผลิต หรือฝ่ายปรับปรุงคุณภาพ

ระยะเวลา : 2 วัน

รุ่น 1 วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2562

รุ่น 2 วันที่ 10-11 ตุลาคม 2562

หัวข้อ

วันที่หนึ่ง
08.30-09.00 น.  ลงทะเบียน
09.00-16.00 น.
  • ความหมาย และความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
  • IE Techniques กับการเพิ่มผลผลิต
  • การศึกษาวิธีการทำงาน (Method Study)
  • การวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงานด้วย :

– Process Analysis

– Operation

– Motion Analysis

  • กรณีศึกษา
วันที่สอง
09.00-16.00 น.
  • เทคนิคการวัดผลงาน (Work Measurement)

เพื่อหาเวลามาตรฐาน (Standard Time)

– การจับเวลาโดยตรง

– การสุ่มงาน และ

– ระบบ PTS

  • กรณีศึกษา
  • สรุป และถาม – ตอบ



Latest Course


Latest Articles