วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT)
4,500 บาท
สมาชิกสถาบันลด 5%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
หลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีกลยุทธ์ในการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลและสมดุล
การดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหวังเพียงกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมไม่สามารถทำให้องค์กรเติบโตและอยู่รอดได้ในระยะยาว เนื่องด้วยอาจได้รับการต่อต้านจากผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการขององค์กร ดังนั้น องค์กรที่ต้องการที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน จึงต้องติดตามและเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังต่างๆ ของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายใน และภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้พิจารณาตัดสินใจในการวางแผน และนำไปดำเนินการกำหนดกลยุทธ์และจัดวางระบบบริหารงานในการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อย่างมีประสิทธิผลและสมดุล หลักสูตรการฝึกอบรมนี้ ได้นำเสนอแนวทางของมาตรฐาน AA 1000 Stakeholder Engagement Standard ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างการมีความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ขององค์กรได้อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ
วัตถุประสงค์
- เข้าใจแนวคิดและประโยชน์ของการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
- ทราบแนวคิดพื้นฐานใหม่ในมาตรฐานระบบบริหารที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย
- เพื่อระบุผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญขององค์กรและกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
- เข้าใจกระบวนการสร้างการความผูกพันผู้มีส่วนได้เสีย
Learning Method:
อ.อุรศา ศรีบุญลือ
วิทยากรที่ปรึกษา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ด้านบริหารลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และระบบมาตรฐานคุณภาพให้กับองค์กรชั้นนำกว่า 15 ปี
เหมาะสำหรับ
- Manager
- Executive
ค่าธรรมเนียม
ท่านละ (ก่อน VAT 7%)
|
4,500 บาท
|
ท่านละ (รวม VAT 7%)
|
4,815 บาท
|
หมายเหตุ : สมาชิกลด 5%
|
ระยะเวลา: 1 วัน
รุ่น 1 วันที่ 15 มิถุนายน 2566
หัวข้อ
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารจัดการองค์กร
- คำนิยามและความหมาย
- ความสำคัญและประโยชน์ของการสร้างความผูกพัน กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- หลักการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ขั้นตอนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
- การกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และวิเคราะห์ความคาดหวัง
- การระบุประเด็นสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจัดลำดับความสำคัญ
- การวางแผนในการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การติดตาม ทบทวน และปรับปรุง เพื่อสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน
- ปัจจัยความสำเร็จในการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน