31 สิงหาคม 2016

VR

เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) เป็นนวัตกรรมที่นำหลากหลายเทคโนโลยีมาใช้งานร่วมกันเพื่อการจำลองและนำเสนอภาพที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสภาวะแวดล้อมจริงของภาพนั้นมากที่สุด และยังสามารถบังคับมุมมองของภาพได้เอง โดยสามารถเห็นได้รอบถึง 360° ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เว็บไซต์ hongkiat.com ได้เขียนถึงสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นกับสื่อวีดิโอด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ ‘360° Virtual Reality’

ในยุค 90 เวอร์ชวลเรียลลิตี้ (Virtual Reality) ยังคงเป็นที่รู้จักเพียงแต่ในกลุ่มของนักเล่นเกมส์ตัวยงเท่านั้น แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป มันเป็นได้มากกว่าอุปกรณ์สวมใส่สำหรับเล่นเกมส์ไปแล้ว ปัจจุบันนี้เราจะเห็น ผู้ใช้ YouTube, Facebook, สื่อใหม่ และ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ใช้งานเวอร์ชวลเรียลลิตี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในการที่จะดึงดูดผู้ชมจากวีดิโอแบบ 360 องศา พาโนรามา วีดิโอเหล่านี้สามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง อย่างเช่นในคอมพิวเตอร์เราสามารถใช้ เมาส์หรือทัชแพด คลิกลากเคอร์เซอร์เพื่อเปลี่ยนมุมมองได้ หรือในมือถือเราก็สามารถใช้นิ้วลากไปบนจอสัมผัสหรือแม้กระทั่งหมุนโทรศัพท์ของคุณไปรอบ ๆ เพื่อเปลี่ยนมุมมองได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มอรรถรสในการรับชม โดยเพิ่มฟีเจอร์ของโทรศัพท์ ด้วยแก็ดเจ็ต Google Cardboard (ที่คุณสามารถสร้างมันได้ด้วยตัวคุณเอง) เริ่มต้นนี้เรามาทำความรู้จักกับ วีดิโอ 360 องศากัน

ความสะดวกในการใช้

ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม ในการที่จะสร้างวีดิโอ 360 องศา สำหรับเดินเล่นในสวนสาธารณะ การจับภาพโดยระบบทั่วไปจะใช้กล้อง 6 ตัว กับขาตั้งกล้องชนิดพิเศษ ในแต่ละด้านทั้งบน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้ครอบคุมทุกมุมมองทั้ง 360 องศา ทำการจับภาพวีดิโอโดยกล้องแต่ละตัว และจะถูกผนวกเข้าด้วยกัน ให้เป็นวีดิโอเดียวแบบพาโนรามา ด้วยซอฟต์แวร์พิเศษที่ชื่อว่า ‘Kolar’

จากการเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น ทำให้ทุก คนสามารถที่จะเก็บความทรงจำที่ดีของเขาได้ในทุกมุมมองจากทุกเรื่องราว

ด้านการศึกษา

วีดิโอ 360 องศา แบบใหม่นี้แตกต่างจาก VRs ชั้นสูง ในแง่ที่ว่า เจตนาที่จะนำมาใช้เฉพาะการสำรวจเพียงอย่างเดียว สำหรับในการศึกษาบางสิ่งบางอย่างมีประโยชน์มากสำหรับเด็ก (และผู้ใหญ่) สามารถมองเห็นภาพวัตถุแบบ 360 องศา ซึ่งทำให้ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจ ตัวอย่างเช่น Life Noggin 360 ทัวร์

ภายในร่างกายมนุษย์ที่ด้านบนซ้ายจะเห็นปุ่มนำทางที่สามารถคลิกที่จะเปลี่ยนมุมมองของคุณ ไปข้างหน้าเพื่อสำรวจร่างกายของมนุษย์ได้

ประสบการณ์ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

ประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ไม่เพียงนำมาซึ่งลูกค้าใหม่ แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาลูกค้าให้เชื่อมั่นต่อบริการของคุณด้วย ในทางธุรกิจมักจะมองหาวิธีการที่จะปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าของพวกเขาและ วีดิโอ 360 องศา เป็นตัวเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้และราคาไม่แพง

ความเข้าใจ

นอกจากด้านการศึกษา และด้านธุรกิจแล้ว วีดิโอเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในบางเหตุการณ์ที่สำคัญกว่านั้น ทำให้คุณมีเข้ามามีส่วนร่วม โดยก้าวตามใครบางคนเสมือนรองเท้า และมองเห็นเหตการณ์ในโลกอีกด้านหนึ่ง เช่น สารคดีของนิวยอร์กไทม์ “The Displaced” ที่จะติดตามเด็กทั้งสามคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับผลพวงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากสงความ คุณจะถูกโยนเข้าไปในใจกลางของเรื่องราวทั้งหมดตลอดการรับชม ได้เห็นว่าเด็กรับมือกับชีวิตหลังสภาพแวดล้อมของพวกเขา ที่ได้รับความเสียหายและแห้งแล้งได้อย่างไร

ความบันเทิง

มาดูเรื่องเบา ๆ กันบ้าง เราสามารถค้นหาวีดิโอ 360 องศา ของเพื่อนสามคนที่เดินเตร็ดเตร่บนชายหาดไบรตัน ที่ผู้คนบางครั้งเพียงแค่ต้องการท่องไปยังสถานที่ที่พวกเขาไม่เคยพบมาก่อนและซึมซับไปกับ สภาพแวดล้อมเหล่านั้น วีดิโอ 360 องศาก็เป็นหนทางที่ง่ายและวิธีที่ดีที่จะเก็บเกี่ยวภาพสถานที่ที่สวยงาม และมองดูสิ่งนั้นได้จากมุมมองของคุณ

ความสบาย

แน่นอนว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ไม่ปล่อยให้เทคโนโลยีนี้ผ่านไป สตูดิโอภาพยนตร์และเครือข่ายเริ่มเข้าสู่วีดิโอแบบ 360 องศาแล้ว เพื่อให้แฟนภาพยนตร์ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดและลึกซึ้งมากขึ้น โดยก้าวสู่ดินแดนแห่งจิตนาการตามที่พวกเขาต้องการ อย่างเช่น ภาพยนตร์ Hunger Games ในไฮไลท์ของภาพยนตร์ฉากที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านป่าหนาทึบเหมือนกับ แคทนิสและคนอื่น ๆ ที่ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในนั้น

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของวีดิโอแบบ 360 องศาซึ่งเป็นซีรีส์ SCREAM QUEENS 360 ของ Fox’s ที่ได้รับความนิยมใน YouTube playlist of 360°

สรุป

เวอร์ชวล เรียลลิตี้ (VR) เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสื่อวีดิโอ โดยเป็นการนำเสนอวิธีการที่ผู้ชมได้มีส่วนร่วมและสามารถควบคุมมุมมองที่จะรับชมได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีให้กับธุรกิจต่าง ๆ นำมาใช้ประโยชน์ทั้งด้านการค้าและโฆษณาสำหรับดึงดูดผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงอนาคตของสื่อวิดีทัศน์ที่กำลังมุ่งไป




Writer

โดย นาย พงษ์พันธุ์ พันเดช

เจ้าหน้าที่แผนกวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ
ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ