6 มิถุนายน 2016

FTPI -ผอก

ความเป็นจริงก็คือ หลายๆ ธุรกิจ ที่ปราชัยต่อการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในอัตราเร่งที่เร็วแรงขึ้น ในโลกยุคปัจจุบัน ล้วนมีสาเหตุมาจากการยึดติดกับความสำเร็จในอดีต และมองใกล้ไม่ได้มองไกลไปถึงอนาคต “องค์กรส่วนใหญ่ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 แต่จะไปสู้ในศตวรรษที่ 21 ได้หรือไม่  ซึ่งจะมีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป  ดังนั้นคงไม่สามารถใช้ไอเดียเดิม  กลยุทธ์เดิม ตลอดจนเครื่องมือเก่าๆ ” ดร.สันติ กนกธนาพร ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กล่าวในงาน Thailand Quality Award 2015 Winner  Conference  บ่อยครั้งที่โกดักเป็นกรณีที่ถูกหยิบยกให้มองเห็นได้ชัดถึงความล้มเหลว เพราะ แม้จะจับสัญญาณของกระแสดิจิทัลได้ แต่กลับไม่รู้ว่าที่สุดควรจะต้องทำอะไร ได้บ้าง ขณะที่อเมซอนได้อยู่ในฐานะของ ผู้สำเร็จ เวลานี้เป็นบริษัทที่มีรายได้ ติดอันดับต้น ๆ ของโลก จากการที่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับกระแสดิจิทัล  รวมถึงความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การก้าวสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การเปิดช่องทางบริการบนมือถือ การนำเอาหุ่นยนต์มาใช้บริหารจัดการใน แวร์เฮ้าส์ เป็นต้น

“เราไม่ควรถามว่าแนวโน้มเป็นอย่างไร เพราะธุรกิจจำเป็นต้องรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่ที่ควรต้องถามตัวเองก็คือ เราได้นำเอาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นใส่เข้าไปในยุทธศาสตร์ขององค์กรแล้วหรือยัง” อย่างที่เคยได้รู้กันว่าเทรนด์ที่เกิดขึ้น ในปี 2005 ก็คือโลกกำลังก้าวสู่สังคม ผู้สูงวัย ในปี 2008 เกิดการเชื่อมโยงระหว่างอินเทอร์เน็ตมีมากกว่าคน และปี 2009 จำนวนเมืองเพิ่มมากขึ้นขณะที่คนในชนบท มีจำนวนลดลง แต่ถามว่า ใครสามารถตอบโจทย์ที่เกิดขึ้นได้บ้าง ซึ่งมีอยู่เคสหนึ่งก็คือ “เลโก้” ที่ถือว่าปรับตัวได้เก่งเพราะ เมื่อได้เห็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นก็หันมาผลิต ตัวต่อเจาะกลุ่มผู้สูงวัยนอกเหนือไปจากลูกค้ากลุ่มเด็ก

โลกที่ไม่เหมือนเดิมโมเดลธุรกิจ ก็ย่อมต้องเปลี่ยนไป ดร.สันติ บอกว่า ที่ประเทศไทยยังขาดเป็นเรื่องของ Future Management ซึ่งถ้าเปรียบกับสิงคโปร์ก็ถือว่าห่างเพราะเขาได้ตั้งศูนย์ดูแลเรื่องอนาคตโดยเฉพาะ  กระทั่งในบางประเทศเช่น เกาหลี มีการตั้งเป็นกระทรวงเพื่อบริหารอนาคตกันอย่างเป็นจริงเป็นจังเลยทีเดียว

ปัจจุบันสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจึงขอรับอาสาทำหน้าที่ก่อตั้ง Center of Excellence for Foresight  เพื่อบริหารอนาคตให้ประเทศไทย  นอกจากนี้ยังได้คิดค้น FTPI Advance Strategic Planning Model  เพื่อนำองค์กรเดินหน้าสู่โลกอนาคตได้อย่างเป็นผู้ชนะ

ที่มาของโมเดลดังกล่าวเกิดจากการที่สถาบันพยายามหาทางปิดแก็บรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพราะที่ผ่านมาทุกองค์กรที่เข้าร่วมในการประเมินรางวัลมักได้คะแนนหมวดที่ 2 (การวางแผนเชิงกลยุทธ์) และ  4  (การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการ ความรู้) ค่อนข้างต่ำ

ซึ่งโมเดลที่ว่านี้ จะแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ 1.การบริหารอนาคตโดยคร่าวๆ  จะช่วยทำให้องค์กรได้มองเห็นภาพ หรือจุดยืนของบริษัทที่จะสามารถแข่งได้ในอนาคต รวมถึงคิดหากลยุทธ์เพื่อพร้อมสู้ อีกทั้งยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่ขับเคลื่อนผลักดันอย่างลึกซึ้ง  ยกตัวอย่างในเรื่องของ “โลกร้อน” ที่ต้องมองหาสาเหตุ รวมถึงมองไกลไปแล้วว่า ในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า เรื่องนี้จะส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร ซึ่งไม่ใช่แค่หิมะถล่ม น้ำท่วมใหญ่หรือภัยแล้งที่อาจส่งผลต่อธุรกิจ  แต่ หมายรวมถึงกฎระเบียบในการค้าขายด้วย เพราะจากข่าวที่ได้เผยแพร่ถึงการประชุม รัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 หรือ COP21 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มี 196 ประเทศที่ร่วมประชุม (มีไทยด้วย)  ได้ลงมติเห็นชอบเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และถ้าประเทศทำไม่ได้ก็จะโดนปรับ แน่นอนว่าภาครัฐไทยจำเป็นต้องหามาตรการควบคุม

และ 2. เรื่องของนวัตกรรม ที่หนี ไม่พ้นการมองภาพอนาคตเช่นกัน แต่ที่ จะมีเรื่องของ Stakeholder  Engagement ซึ่งหลักการก็คือ องค์กรต้องรู้ว่าใครคือผู้มีส่วนได้เสียที่มีอิทธิพลอยู่มากและใครที่มีอยู่น้อย  นำไปสู่วิธีปฏิบัติที่ต้องแตกต่างกันไป ทั้งยังมีเรื่องของ  Risk Management เนื่องจากแต่ละองค์กรย่อมมีทรัพยากรที่จำกัด คงคิดทำทุกเรื่องไม่ได้  แต่ต้องเลือกทำในสิ่งที่เหมาะสม ทำให้เกิดความเสี่ยงเช่นกันว่าสิ่งที่ละทิ้งไปจะกลายเป็นความเสี่ยงขององค์กรหรือไม่  ทำให้ต้องคอยติดตามด้วยเช่นเดียวกัน

ที่ควรต้องตระหนักให้ดีก็คือ  ความไม่รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ ซึ่งถือว่ามีความท้าทาย เพราะอนาคตเป็นอะไรที่ไม่มีใครรู้มาก่อน

นวัตกรรม ที่ฆ่าสิ่งได้เคยทำมาอยู่ตลอดเวลา เป็นการต้องชิงตัดหน้าก่อนที่คนอื่นจะมา ฆ่าเรา  เป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ  มาเปลี่ยนสิ่งที่เคยทำ เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ทิ้งความรู้ในอดีตไม่ต่อยอดหรือดันทุรังทำเรื่องเดิมๆอีกต่อไป” หมายถึงการสร้างโมเดลธุรกิจที่ Disruptive ยกตัวอย่างกรณี “อูเบอร์”  ที่ไม่ได้พูดถึงเรื่องของแท็กซี่ แต่เป็นโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของคน ที่ต้องการจะเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ที่ง่ายและสะดวกสบาย หรือ Google Adwords ที่ปฏิวัติการโฆษณายุคเก่าๆ ที่ประกอบด้วยภาพ สี เสียง  มาเป็นแค่ตัวอักษรที่มีจำนวนสูงสุดแค่  95 ตัวเท่านั้น ดังนั้นองค์กรต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง หาไดเร็คชั่นใหม่ เปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อให้ตอบโจทย์อนาคตที่จะเกิดขึ้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ต้องเริ่มต้นที่ความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง ต้องไม่ใช่เป็นความต้องการในอดีตแต่เป็นความต้องการของคนในอนาคต ซึ่งต้องอาศัยการลงไปสำรวจ ไปพิจารณาถึงพฤติกรรมความต้องการของลูกค้าแล้วนำเอามาเปรียบเทียบว่า ยังมีอะไรบ้างที่องค์กรยังไม่ได้ทำ ยังไม่ได้ตอบสนองพวกเขา ซึ่งมีข้อสรุปอยู่ 5 ข้อ  ก็คือ 1. สร้างจากมุมมองของลูกค้า  2. ไม่ได้สร้างจากตัวสินค้าหรือบริการ  3. ไม่ยึดติดกับสิ่งที่มีอยู่ในอดีต คิดจากอนาคต 4. โมเดลธุรกิจเป็นเครื่องมือที่ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และ 5. ค้นหาในสิ่งที่จะเสนอคุณค่าให้กับลูกค้า โดยที่ยังไม่มีใครเสนอได้ “หลายองค์กรตระหนักถึงการพัฒนา

อะไรคือ โมเดลธุรกิจ?  “มันคือดีเอ็นเอขององค์กร  และเป็นความหมายที่องค์กรส่งต่อไปยังพนักงานและลูกค้า  แต่ถ้าจะตอบง่ายๆ  มันก็คือ Who, What และ How  และถ้าจะทำให้เกิดขึ้นได้ก็ขอให้ลองไป ดูโมเดลธุรกิจองค์กรที่ดีๆ ว่า ใครคือ ลูกค้าของเขา เขาบริการลูกค้า ด้วยวิธีอย่างไร รวมถึงเราต้องคิดคำถาม What if เพื่อหาวิธีเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเอง  เพราะคำถามนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่ยิ่งใหญ่” สรุปแนวคิดในการสร้างโมเดลธุรกิจ ที่ Disruptive มีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่

1. เปลี่ยน What หรือ How ของโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม

2. พลิก เปลี่ยน What หรือ How นั้นๆ ด้วยคำถาม  What if

3. สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ โดยอาจเทียบดูจากโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมอื่นๆ

ดร.สันติ บอกว่า  ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใด ในอุตสาหกรรมใด ล้วนต้องเดินหน้าไปสู่โลกอนาคต แต่ที่ต้องพิจารณาก็คือโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กรที่เป็นอยู่

แต่แม้แผนจะดีแค่ไหน  แต่ถ้าไม่ได้ลงมือทำ ย่อมหมายถึงการย่ำอยู่กับที่ เพราะแผนที่ดีนั้นเป็นแค่ 15% แต่ 85% ของความสำเร็จมาจากการลงมือทำ และต้องทำให้ได้ด้วย

ที่มา:  ชนิตา ภระมรทัต.  (2 มิถุนายน 2559). ดีเอ็นเอผู้ชนะในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ยังได้คิดค้น . หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ , หน้า 20.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดอบรมหลักสูตร “การสร้างนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ” โดยคุณณัฐพล เอกไพศาล วิทยากรที่ปรึกษาด้านการจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นวิทยากร ในวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรม แกรนด์ สุขุมวิท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 451-455 e-mail: [email protected] หรือดาวน์โหลดใบสมัครที่  https://www.ftpi.or.th/event/6977




Writer