สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้รับการอนุมัติจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537
และเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
โดยพัฒนาการดำเนินงานมาจาก
“ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย ในสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม”
ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การสหประชาชาติ
(กองทุนพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ) ในปี พ.ศ.2505
ปัจจุบัน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เฉกเช่นเดียวกับสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมอีก 10 แห่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ, มูลนิธิสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมูลนิธิสถาบันก่อสร้าง
ทั้งนี้ สถาบันเครือข่ายในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมจำนวน 11 สถาบัน ได้แก่
มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ของภาคอุตสาหกรรมไทยในขอบเขตต่าง ๆ
ซึ่งได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ในฐานะหนึ่งในสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม เราได้มุ่งมั่นในการเป็น “สถาบันแห่งชาติ” ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการชี้นำและยกระดับผลิตภาพขององค์กร เสริมสร้างการเติบโตที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับผลิตภาพของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคต ตลอดจนเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งสร้างทักษะและจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ ที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์ชัดเจน เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ปี พ.ศ. 2562 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 25 ด้วยปณิธานที่แน่วแน่ว่า
“ประเทศไทยเติบโต เข้มแข็ง ยั่งยืน ด้วยผลิตภาพ”
ผ่านบริการคุณภาพหลากหลายด้าน ทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ ฝึกอบรม การวิจัยเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ การรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ และการผสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับเครือข่ายต่างประเทศ
ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538 -2561
ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 โดย Organization - NPO) ขององค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียในประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2537 ได้มีมติจัดตั้งสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้เปลี่ยนแปลงหน่วยงานสมาชิกจากศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย มาเป็นสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2538 เป็นต้นมา ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนของประเทศในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกับผู้แทนของประเทศสมาชิก
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย (National Productivity Organizations - NPOs) รับผิดชอบการขับเคลื่อนหลักการการเพิ่มผลิตภาพในประเทศไทย รวมทั้งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในประเทศในการจัดประชุมนานาชาติ สัมมนา การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การวิจัย และกิจกรรมอื่นๆ ที่ได้ตกลงไว้ในแต่ละปี ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆ ของเอพีโอครอบคลุมทั้งภาครัฐในเชิงนโยบายและการพัฒนาการบริการ ภาคเอกชนได้รวมการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการพัฒนาชุมชม รวมทั้งครอบคลุมภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ
การเป็นสมาชิกองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย เป็นโอกาสในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในกลุ่มประเทศสมาชิก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อยกระดับการจัดการเพิ่มผลิตภาพ ตลอดจนเป็นการสร้างองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กิจกรรมสำคัญภายใต้โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและการพัฒนาภาครัฐ ด้วยกิจกรรมการส่งตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมโครงการเอพีโอ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเพิ่มผลิตภาพของบุคลากรไทยดังเช่น โครงการส่งเสริมศักยภาพ SMEs โครงการพัฒนานวัตกรรม โครงการเพิ่มผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) การเพิ่มผลิตภาพของภาครัฐ และโครงการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานเพิ่มผลิตภาพของประเทศ และเมื่อตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าสู่กิจกรรมการขยายผลในประเทศไทยด้วยการเผยแพร่รายงานจากผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์
กิจกรรมสำคัญประการต่อมาคือ การขอผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศภายใต้การสนับสนุนจากเอพีโอ เพื่อสร้างความตระหนักในการเพิ่มผลิตภาพและศักยภาพของประเทศ รวมทั้งกิจกรรมการศึกษาดูงานในประเทศสมาชิก เพื่อเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
อีกทั้งยังมีกิจกรรมเช่น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรชาวไทยเพื่อเป็นวิทยากรในระดับภูมิภาคและนานาชาติ โดยการเสนอชื่อวิทยากร และนักวิจัยเข้าร่วมโครงการของเอพีโอ ตลอดจนกิจกรรมการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มผลิตภาพด้านเกษตรอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน และกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในชุมชน โดยจัดตั้งคณะที่ปรึกษาด้านการเกษตรและการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ข้อมูลและคำปรึกษาในการออกแบบโครงการเอพีโอ
ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2560
โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายในการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานให้องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ Industry 4.0 พร้อมมุ่งสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต
สำหรับกิจกรรมภายใต้โครงการ แบ่งออกเป็นการประเมินระดับของพัฒนาการด้านอุตสาหกรรม ซึ่งจะพิจารณาจากระดับการใช้เทคโนโลยี โดยมีรายงานการประเมินครอบคลุม 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมสำคัญประการต่อมาคือการประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรมในการเข้าสู่ Industry 4.0 (Industrial 4.0 Readiness Index) กรอบในการประเมินจะเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Fraunhofer IEM’s Framework ในประเด็นต่าง ๆ ทั้งด้านนโยบายและกลยุทธ์ ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร และด้านนวัตกรรม
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้พัฒนาระบบการประเมินระดับพัฒนาการองค์กรตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Quick Scan) เพื่อให้ผู้ประกอบการวัดระดับกิจการของตน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านเว็บไซต์ Productivity Intelligence Unit
นอกจากนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว ยังมีกิจกรรมการประเมินปัจจัยแวดล้อมซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาไปสู่ Industry 4.0 ทั้งด้านประสิทธิภาพของเครือข่ายดิจิตอล การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และการพัฒนาแหล่งเทคโนโลยี
องค์กรสามารถนำผลการศึกษาของโครงการมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาแนวทางการปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายในองค์กรของตนเอง ซึ่งถือเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างมีทิศทางตามกรอบอุตสาหกรรม 4.0
ส่วนผลลัพธ์ในระดับนโยบาย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้นำเสนอประเด็นเชิงกลยุทธ์สำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 ที่ประเทศไทยควรเร่งดำเนินการ ทั้งการสร้างความตระหนักรับรู้ การใช้ข้อมูลดิจิทัลในการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง และการจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาศักยภาพ SMEs 4.0” เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านรูปแบบธุรกิจดิจิทัล
และสำรวจบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย
ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2550 และ ปี 2558
โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้ด้านผลิตภาพ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถใช้ข้อมูลจากการสำรวจเพื่อต่อยอดการศึกษาวิจัยในเรื่องอื่น ๆ หรือเป็นแหล่งข้อมูลเพื่ออ้างอิงทางวิชาการ ตลอดจนภาคราชการในระดับนโยบายสามารถกำหนดมาตรการสนับสนุน เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของภาคธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การเพิ่มผลิตภาพของประเทศ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ดำเนินการการจัดทำดัชนีการเพิ่มผลผลิตเชิงมูลค่าเพิ่ม (Value Added Productivity Index) ดัชนีประสิทธิภาพการผลิตรวม (Total Productivity) และบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย
เริ่มต้นจากการทบทวนแบบสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยอาศัยความร่วมมือในการตรวจสอบและเพิ่มเติมข้อคำถามตามความเห็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง สุ่มตัวอย่างจากกรอบกลุ่มเป้าหมายของการศึกษา ที่ระดับความเชื่อมั่น 90 เปอร์เซ็นต์ สำรวจภาคสนามและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบ Face to Face ได้ผลลัพธ์เป็นรายงานบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย รายงานผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระดับอุตสาหกรรมในแต่ละดัชนีผลิตภาพเชิงมูลค่าเพิ่ม และการวัดผลิตภาพรวม
ต่อยอดไปสู่การพัฒนาระบบประมวลผลและการวิเคราะห์ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการศึกษาครอบคลุม 10 กลุ่มอุตสาหกรรมครอบคลุม 7 ภูมิภาคทั่วประเทศ
โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดผลลัพธ์สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนจากต่างประเทศ ให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันระหว่างกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ และสามารถเปรียบเทียบระดับผลิตภาพ เพื่อหาวิธีในการปรับปรุงกระบวนการ การวางแผนการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 – 2561
โครงการดังกล่าวมุ่งยกระดับการดำเนินงานและพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อระดับผลิตภาพที่ดีขึ้นขององค์กร และในภาพรวมทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติถูกนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์สำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแลหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ สาธารณสุข และการศึกษา
สำหรับกิจกรรมภายในโครงการ ประกอบไปด้วยการเผยแพร่รางวัลคุณภาพแห่งชาติและส่งเสริมการนำไปปฏิบัติในองค์กร โดยประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติคือองค์กรสามารถเตรียมพร้อมและปรับตัวได้อย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเกิดวัฒนธรรมการบูรณาการกระบวนการทำงานระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ผู้บริหารองค์กรชั้นนำผ่านกิจกรรมการอบรมและสัมมนาเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรสู่มาตรฐานสากลตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวนกว่า 41,276 คน ในตลอดระยะเวลา 17 ปี
อีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การตรวจประเมินองค์กรและมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ตลอดจนพัฒนาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินโครงการ มีองค์กรสมัครขอรับรางวัล จำนวน 456 องค์กร โดยมีองค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จำนวน 4 องค์กร และองค์กรที่รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านต่าง ๆ (Thailand Quality Class Plus :TQC+) และ รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) รวมจำนวน 92 องค์กร ทำหน้าที่เป็นต้นแบบให้แก่องค์กรอื่นๆ เรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี และ นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
นอกจากนี้การสร้าง สรรหา และพัฒนาผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานภายใต้โครงการมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติทำหน้าที่ตรวจประเมินองค์กร จัดทำรายงานการป้อนกลับ ตลอดจนให้ความคิดเห็นในการกำกับดูแล ปรับปรุงการดำเนินงานแก่องค์กร
การดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีให้แก่องค์กร โดยองค์กรต่าง ๆ มีระดับสมรรถนะขององค์กรที่สูงขึ้น ทั้งด้านผลิตภาพ ค่าจ้างแรงงาน และมูลค่าเพิ่มต่อยอดขาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาผลิตภาพภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนทุกองค์กรสามารถก้าวไปในทิศทางแห่งการพัฒนาในเส้นทางเดียวกัน และช่วยยกระดับการแข่งขันของประเทศไทยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล