หนังสือ Beyond Leader 88 Days Development Program
– Level 1: Self Leader
– Level 2: Self to Community
– Level 3: Zero to Hero
– Level 4: Leader to Teacher
– Level 6: Out Competition
– Level 7: Exceed Expectation
– Level 8: Make a Difference
วัตถุประสงค์หลักของคอลัมน์ Book Briefing เพื่อต้องการแนะนำหนังสือต่างประเทศเป็นหลัก เพราะเป็นหนังสือที่ไม่สามารถหาอ่านได้โดยทั่วไป ต้องลงทุนซื้อหรือสั่งเข้ามา ดังนั้นการที่เราจะได้รู้ว่าหนังสือเล่มนั้น ๆ มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสิ่งใดก็จะดีไม่น้อย เพราะไม่ใช่หนังสือทุกเล่มจะได้รับการแปลเป็นภาษาไทย และไม่ใช่ว่าใครจะลงทุนซื้อหนังสือทุกเล่มได้ ดังนั้นคอลัมน์นี้จึงมุ่งเน้นหนังสือต่างประเทศที่ผมได้มีโอกาสอ่าน และสรุปสาระสำคัญมาลงเพื่อแบ่งปนั กัน ผู้ใดคิดว่าสนใจเล่มใดเป็นพิเศษก็สามารถไปเลือกซื้อมาอ่านเพื่อเก็บรายละเอียดที่มากขึ้นได้ด้วยตนเอง
แต่เรื่องเล่าจากหนังสือที่จะขอนำมาบอกต่อในครั้งนี้ อาจจะแปลกแตกต่างจากหลายครั้งที่ผ่านมา เพราะเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการรวบรวมและนำมาเรียงร้อยใหม่จากผู้เขียนคนไทย และไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ความจริงจะบอกว่าเป็นหนังสือก็ไม่เชิง เพราะยังขาดรายละเอียด ตลอดจนตัวอย่างที่ชัดเจน แต่เห็นว่าผู้เขียนมีความตั้งใจอยากที่จะแบ่งปันให้ใครก็ตามที่สนใจ ได้ศึกษาแนวทางที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น จึงขอนำมาสรุปในมุมมองของผม จากการตีความของผม ซึ่งอาจแตกต่างไปบ้างจากเนื้อหาหลัก จึงขอให้ผู้ที่สนใจขอไฟล์ฉบับเต็มจากผู้เขียนเพื่อมาศึกษาเพิ่มเติม โดยส่งอีเมล์ไปที่ [email protected]
ทั้งนี้ขอสรุปย่อพอสังเขป เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพและแนวทางของหนังสือเล่มนี้ และแน่นอนทั้งหมดที่ผู้เขียนหนังสือนี้ได้ให้ไว้ ไม่ใช่แค่การอ่านผ่านตาหรือท่องจำเท่านั้น แต่เชื่อว่าอยากให้คิดตาม และทดลองปฏิบัติ โดยผู้เขียนเชื่อว่าสิ่งที่ได้รวบรวมมานั้น จะทำให้ผู้ที่กล้าคิด กล้าฝัน และกล้าที่จะทำในสิ่งที่แตกต่างก้าวสู่การเป็นผู้นำโดยไม่จำเป็นต้องเดินตามคนอื่นตลอดไป เชื่อว่าถ้าประเทศเรามีคนที่เรียนรู้จากประสบการณ์เหมือนผู้เขียน และสรุปเป็นบทเรียนเพื่อก้าวเดินในทิศทางของตัวเอง ย่อมเกิดผู้นำที่มีคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น
ลองพิจารณาแนวทางจากหนังสือเล่มนี้ ด้วยการเอาชนะภูเขาลูกแรก ก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลก (World Leader) ดังนี้
ระดับที่ 1 Positive: Right ‘Self Leader’ เป็นการดำเนินการในระดับตัวบุคคล หรือตัวเราเอง (Self)
- พลัง (Energy) แน่นอนผู้ที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำ คือ ต้องมีพลัง และต้องเป็นพลังในตัวเอง โดยไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งแกล้งทำ โดยเริ่มจากการเสริมสร้างพลังกาย (Physical Quotient – PQ) ต่อด้วยพลังความคิด (Intelligence Quotient – IQ) พลังใจ (Emotional Quotient – EQ) และพลังจิต (Spiritual Quotient – SQ) โดยพลังกายถือเป็นพื้นฐานสุด เมื่อฝึกฝนและนำมาใช้บ่อย ๆ ก็จะยิ่งทำให้แข็งแรงขึ้น การนำสิ่งดี ๆ เข้าตัวถือว่าเป็นการสร้างพลัง ในขณะที่การนำสิ่งร้ายหรือแม้แต่การบ่น การตำหนิ ถือว่าเป็นการสูญเสียพลัง
- ฉันทะ (Passion) เมื่อเรานำสิ่งดี ๆ เข้าสู่ตัว การคิดสรรและเลือกสรรจะเกิด เมื่อเราค้นพบสิ่งที่ใช่ สิ่งที่ชอบ และอยากที่จะทำตามแนวทางนั้นอย่างจริงจัง นั่นคือก้าวแรกของการเริ่มต้นสู่ถนนแห่งการเป็นผู้นำ นั่นคือต้องมีความตั้งมั่นทุ่มเท มีเป้าหมายนั่นเอง
- เวลา (Time) แน่นอนทุกคนมีเวลาเท่ากัน และเวลาไม่เคยคอยใคร แต่เดินไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเราจะจัดสรรและใช้มันอย่างไรให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์มากที่สุด การวางแผนจึงเป็นเหมือนเครื่องมือพื้นฐาน เพราะช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำ โดยไม่สูญเปล่าไปกับสิ่งที่ให้คุณค่าน้อย และไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร
- ไม่ใช่แค่ผู้จัดการหรือเจ้านาย (Not only manager or boss) การขึ้นมาเป็นผู้บังคับบัญชา อาจได้มาด้วยผลงานและการทำงานที่ดีที่เก่ง หากแต่เมื่อมารับตำแหน่งแล้ว ไม่ใช่เพียงงานในความรับผิดชอบที่สูงขึ้นเท่านั้น หากแต่ต้องดูแลคนและต้องบริหารคนให้ทำงานร่วมกันให้ได้ ดังนั้น การเข้าใจลูกน้องและการให้ความสำคัญในคุณค่าของคน ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำ เพราะผู้นำสามารถทำให้คนทำงานไปในทิศทางที่ตนเองต้องการได้อย่างเต็มใจและตั้งใจ
- บุคลิกภาพ (Personality) ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏและรับรู้ได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่เรียกว่ารูปกายภายนอก ถ้าดูดีมีความน่าเชื่อถือแล้ว การนำก็เกิดขึ้นได้ไม่ยากนักด้วยความมั่นใจและความภูมิใจในตัวเองจะสะท้อนออกสู่ภายนอก นอกจากนั้นอาจเสริมด้วยมารยาททางสังคม กาลเทศะ และการแต่งกายให้เหมาะกับสถานการณ์
- นำตัวเอง (Self-Leader) ก่อนที่จะไปนำใครได้ ต้องนำตัวเองให้ได้ก่อน นี่ถือเป็นหลักปฏิบัติต้น ๆ ก็ว่าได้ เพราะถ้ายังนำตัวเองไม่ได้ คงไม่มีใครมาให้เรานำหรือทำตามเราเป็นแน่ ดังนั้นทุกย่างก้าวของเราต้องตื่นรู้และกระตุ้นตัวเองว่าวันนี้ ชั่วโมงนี้ ต้องทำอะไร พยายามทำให้ได้ตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้
- คิดบวก (Positive Think) คือการคิดหาช่องทางและการสร้างโอกาส ถือว่าเป็นการคิดเพื่อประโยชน์โดยแท้ การคิดลบไม่ว่าจะต่อตนเองหรือผู้อื่น ถือเป็นการทำลายและไม่ก่อให้เกิดสิ่งดีงามอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น
- เป้าหมาย (Target) การทำงาน การใช้ชีวิต ถ้าไมมีเป้าหมาย ก็ไม่ต่างจากการเดินทางที่ไร้แผนที่ เพราะไม่รู้จะไปในทิศทางใด ถึงทางแยก ทางเลี้ยว ก็ไม่รู้ว่าจะไปในเส้นทางไหน ลังแต่จะทำให้สูญเสียพลังในตัวเองไปเปล่า ๆ
- เดินหน้า (GOYA หรือ Get Off Your Ass) ออกจากพื้นที่ความสะดวกสบายส่วนตัว เพื่อไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เพราะไม่มีทางที่เราจะได้สิ่งใหม่ ถ้ามัวแต่ทำสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ด้วยการขจัดความกลัวในใจ กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ
- คุณภาพ (Quality) ไม่มีสิ่งใดที่อยู่รอดได้โดยปราศจากคุณภาพ เพราะสิ่งที่ไม่ดีมักถูกมองข้ามและไม่มีใครให้ความสนใจ มีแต่คนที่แสวงหาสิ่งดี ๆ เท่านั้น ดังนั้นจงกระทำงานทุกงานอย่างดีมีคุณภาพ เพราะนั่นคือสิ่งที่คนอื่น ๆ ต้องการ ถ้าเราเป็นคนคุณภาพ ก็ย่อมมีคนอื่น ๆ อยากได้เรา
- ทัศนคติ (Attitude) ความคิดที่เกิดขึ้นโดยตัวเราอยู่ภายในไม่มีใครเห็น แต่จะสะท้อนออกมาผ่านพฤติกรรมและการแสดงออก ไม่มีใครสามารถปกปิดหรือซ่อนเร้นได้ ต่อให้เสแสร้งแกล้งทำก็ตาม ก็จะไม่จีรัง ดังนั้นทัศนคติที่ดีจะทำให้เรามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ระดับที่ 2 Permission: Relationship ‘Self to Community’ เป็นการสร้างสัมพันธ์กับคนรอบข้างเพื่อให้เกิดความร่วมมือเป็นกลุ่มหรือคณะ (Teamwork)
- สร้างชุมชน (Community) ไม่มีใครจะอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยลำพัง หากแต่จะต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่และเกื้อกูลกัน ไม่ใช่เฉพาะคนใกล้ชิดที่เราสนิทด้วยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่อยู่แวดล้อมตัวเรา
“ออกจากพื้นที่ความสะดวกสบายส่วนตัวเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เพราะไม่มีทางที่เราจะได้สิ่งใหม่ถ้ามัวแต่ทำสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ”
- นักพูด (Speaker) การพูดน่าจะเป็นวิธีการสื่อสารพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ถ้าเราสามารถสื่อสารให้คนอื่น ๆ เข้าใจได้ ไม่ใช่เฉพาะน้ำเสียง ลีลา ท่าทางก็มีส่วนช่วยได้เช่นกัน
- การเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้การสื่อสารที่อาจมีเนื้อหาเข้าใจได้ยาก กรณีศึกษาหรือ ตัวอย่างจริงที่เราประสบพบมา เข้าใจบทเรียนที่ได้ชัดเจนขึ้น
- ให้เวที (Give stage) ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น หากแต่ต้องเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นในทีมได้แสดงผลงานและความสามารถได้ด้วย โดยเฉพาะงานนั้น ๆ ที่เขารู้ดีที่สุด
- นำเสนอผลงาน (Present) การรายงานเหตุการณ์ ข้อมูล หรือรายงานใด ๆ ในช่วงเวลาจำกัด ให้สั้น กระชับ ง่าย ได้ใจความ เป็นทักษะหนึ่งซึ่งจำเป็นและต้องฝึกฝน
- ให้โอวาท (Make a Speech) การพูดในที่ชุมชนที่มีผู้คนจำนวนมาก การพูดกระตุ้นจูงใจให้เห็นประโยชน์ การกล่าวแสดงความชื่นชม กล่าวขอบคุณ เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งผู้นำอาจได้รับเชิญ
- อ่านคน (Read People) เพราะว่าคนมีความแตกต่าง การสังเกตคนตั้งแต่ภายนอกจนถึงภายในตลอดจนการเข้าถึงความรู้สึกและความต้องการ จะทำให้เราสามารถเลือกคนมาร่วมทีมได้ดี
- สร้างเพื่อน (Make Friend) การมีมิตรย่อมดีกว่ามีศัตรู เริ่มต้นง่าย ๆ ตั้งแต่การพูดทักทาย จนถึงการแสดงน้ำใจที่ดีต่อกัน
- การพูดคุย (Speak) ในการสนทนา หรืออภิปรายแสดงความคิดเห็นใด ๆ ควรรู้ว่าคำพูดใดควร และคำพูดใดไม่ควร จึงต้องใช้ความระมัดระวังเสมอ
- การดึงดูด (Attraction) ความคิด คำพูด และการแสดงออกที่ดี จะกลายเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดผู้คนให้เข้าหาเรา โดยที่ไม่ต้องไปเสียเวลาตามล่า
- เป็นผู้ให้ (Go Giver) เริ่มจากการให้ โดยไม่จำเป็นต้องหวังอะไรตอบแทน การให้จะนำมาซึ่งความร่วมมือ และสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในที่สุด
ระดับที่ 3 Production: Result ‘Zero to Hero’ เป็นการสร้างพลังร่วมในระดับองค์รวมให้เกิดขึ้นอย่างถ้วนทั่ว (Organization)
- เป็นฮีโร่ (Zero to Hero) ค่าของคน อยู่ที่ผลของงานฉันใด การยอมรับย่อมเกิดจากผลงานและความสำเร็จที่ชัดเจนฉันนั้น
- วิสัยทัศน์ (Vision & Strategy) มองให้กว้าง และไปให้ไกล เพราะทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง คนที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ก็เท่ากับล้าหลังและไม่ทันสถานการณ์
- องค์กร (Organization) การรวมตัวของคนจำนวนมาก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ จัดลำดับโครงสร้างและร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ช่วยทำให้ชุมชนนั้นมีความยั่งยืนและเป็นเอกภาพ
- การประเมินสถานการณ์ (Situation Assessment) เพราะสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง และแต่ละแห่งมีบริบทไม่เหมือนกัน ดังนั้นการประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคให้ถ้วนทั่ว
- วัฒนธรรมองค์กร (Culture) ความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของคนในองค์กร เป็นได้ทั้งแรงผลักและแรงต้าน จึงต้องออกแบบและปลูกฝังให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ที่จะไป
- องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) ความรู้เป็นพลวัต ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ การกระตุ้นจูงใจและสร้างสภาพแวดล้อมให้ทุกคนใส่ใจเรียนรู้อยู่เสมอ จึงดีกว่าการรอให้คนอื่นมาสอนหรือบังคับ
- รางวัล (Reward) การแสดงออกซึ่งการยอมรับไม่ว่าจะด้วยการยกย่อง ชมเชย หรือมอบสิ่งของรางวัลใด ๆ ก็ตาม เป็นการเสริมแรงและแสดงว่าคนอื่น ๆ มองเห็นในสิ่งที่เขาทำ
- การบริหารความต่อเนื่อง (BCM) การทำให้ทุกคนตื่นตัวและตระหนักถึงความเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจนนำมาซึ่งการป้องกันอย่างถูกวิธี ย่อมดีกว่าการตามแก้ไข ที่สำคัญควรคำนึงถึงมาตรการที่จะทำให้งานและกิจการสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้โดยไม่สะดุดหยุดลง
- การตลาด การขาย (Marketing & Sales) สายสัมพันธ์และความเชื่อมโยงทางธุรกิจ ตลอดจนช่องทางและวิธีการขายที่ถูกต้อง ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จะช่วยให้ขายสินค้าได้ในที่สุด
- ลูกค้าและการบริการ (Customer & Services) ต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายคือใคร จึงจะตอบสนองได้ตรงกับความต้องการและความคาดหวัง โดยการบริการช่วยสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้น
- การจัดหา (Logistic & Supply Chain) การมีคู่ค้าและผู้รับจ้างช่วงที่ดี จับมือกันเป็นเครือข่ายของการผลิตที่มีประสิทธิภาพเป็นทอด ๆ ช่วยให้การส่งมอบปลายทางเกิดประสิทธิผลในที่สุด
ระดับที่ 4 People: Reproduction ‘Leader to Teacher’ เป็นการต่อยอดที่ออกไปนอกจากตัวเราแต่เป็นการสร้างหรือพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพและความสามารถขึ้นมาใหม่ (New Talent) โดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้องเรานั่นเอง ดังนั้นผู้นำ นอกจากจะสร้างงานใหม่ สร้างงานใหญ่ และทำงานยากแล้วยังต้องสร้างคนทีถือได้ว่ายากที่สุด ยากกว่าการทำ งานใด ๆ
- สร้างคน (People reproduction) ทุกตำแหน่งงานควรมีตัวตายตัวแทน มือหนึ่งมือสอง และถ้ามีคนสามารถทำแทนได้มากขึ้น นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงแล้ว ยังช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กรได้ด้วย
- สอนและฝึก (Teach & Train) การสอน การถ่ายทอดและการฝึกปฏิบัติ เปรียบเสมือนการลับมีดของตัวเรา และสร้างมีดเล่มใหม่
- การแก้ปัญหา (Problem Solving) เมื่อปัญหาเป็นที่มาของปัญญา ดังนั้นการแก้ไขจึงทำให้เรามีความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้น
- การตัดสินใจ (Decision making) การรู้ว่าอะไรต้องมี ต้องทำ และอะไรควรมี ควรทำ จะทำให้เราตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมได้เงื่อนไข ข้อจำกัด หรือเกณฑ์การพิจารณาที่ตั้งไว้
- ปัญหาและโอกาส (Problem & Opportunity) ในปัญหามีโอกาส และในโอกาสมีปัญหา เป็นสัจธรรมที่เรามิอาจมองข้าม ผู้นำสามารถพลิกสถานการณ์เปลี่ยนปัญหาเป็นโอกาสได้
- การป้องกันปัญหาและการขยายโอกาส (Potential Problem) การคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า นอกจากจะทำให้เราเห็นโอกาสใหม่ ๆ ในสถานการณ์ที่ยังไม่มาถึงแล้ว ยังช่วยให้เราเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ทำให้เรากำหนดมาตรการรับมือได้
- การต่อรอง (Negotiation) ไม่มีใครชนะทุกครั้งและไม่มีใครจะแพ้ตลอด แต่เราอาจชนะร่วมกันได้ โดยการพูดคุยหาจุดที่ลงตัว ที่ทั้งสองฝ่ายรับได้ เราก็จะได้ชนะร่วมกัน
- การมองย้อน การมองข้างหน้า (Feedback & Feed forward) การทบทวนหรือการรับข้อมูลป้อนกลับเป็นสิ่งจำเป็น แต่การมองไปข้างหน้าหรือการแจ้งบอกล่วงหน้า ก็จำเป็นไม่แพ้กัน
- การฝึกสติ (Mindfulness) การรู้เท่าทันสถานการณ์ การยับยั้งชั่งใจ การรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องใช้สติที่ตั้งมั่น ผู้นำจึงต้องฝึกฝน
- การปลุกตื่น (Awaken) การไม่หลงใหลหรือเป็นไปตามกระแส แต่ตระหนักและตื่นรู้อยู่เสมอ
- กุศโลบาย (Beyond Strategy) แนวทางเชิงสร้างสรรค์ที่ไม่ทำให้ใครเจ็บปวด เสียใจ หรือเสียหาย
ระดับที่ 5 Pinnacle: Respect ‘Pro-Coach’ เป็นการพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพและความสามารถใหม่นั้น ให้กลายเป็นผู้นำ รุ่นใหม่ (New Leader) นี่ถือเป็นยอดของภูเขาลูกแรกและเป็นจุดสูงสุดของการเป็นผู้นำ ในแนวทางที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้ให้ข้อคิดและแนวทางไว้ อาทิ
- การโค้ช (Coach)
- การฟัง (Listening)
- การถาม (Power question)
- โค้ชผู้นำ (Coach Leader)
“การป้องกันปัญหาและการขยายโอกาส (Potential Problem) การคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า นอกจากจะทำให้เราเห็นโอกาสใหม่ ๆ ในสถานการณ์ที่ยังไม่มาถึงแล้ว ยังช่วยให้เราเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทำให้เรากำหนดมาตรการรับมือได้”
- โค้ชทีม (Coach Team)
- สร้างแรงบันดาลใจ (Inspire)
- วิถีสุดยอด (Excellence way)
- โตโยต้า วอลล์มาร์ท 7-Eleven
- พูดตรงประเด็น (Point Talk)
- การเดินทางต่างประเทศ (Oversea)
- วิถีของผู้นำ (Leader Way)ยังเหลืออีก 33 ประเด็น ที่ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่าผู้ที่สามารถฝึกฝนจนเอาชนะภูเขาลูกแรกได้แล้ว ยังสามารถต่อยอดไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ด้วยการเอาชนะภูเขาลูกที่สองเป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณสูงส่ง (Spiritual Quotient) ซึ่งเป็นระดับที่ถือได้ว่าเป็นได้มากกว่าผู้นำ (Beyond Leader) คือ ในระดับที่ 6 ถึงระดับที่ 8 ดังนี้
ระดับที่ 6 Potential: Recall ‘Out Competition’ เป็นการสร้างพันธมิตรหรือกัลยาณมิตร ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อนร่วมงาน คนรอบข้างหรือคู่ค้าเท่านั้น หากแต่รวมถึงคู่แข่ง โดยมองข้ามการแข่งขันที่มีระหว่างกัน (Friend)
ระดับที่ 7 Public: Return ‘Exceed Expectation’ เป็นการสร้างความร่วมมือ แบบร่วมด้วยช่วยกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมฟันฝ่า (Collaboration) โดยไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย หรือคิดยึดเอาแต่ตัวเราของเราเท่านั้น
ระดับที่ 8 Philosophy: Truth ‘Make a Difference’ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และการทำ สิ่งที่เป็นประโยชน์
ทั้งนี้ยังมีเนื้อหาและหลักการที่น่าสนใจใน 3 ระดับที่เหลืออยู่อีกมาก ซึ่งขอให้ท่านที่สนใจและอยากศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ สามารถติดต่อขอไฟล์คู่มือดังกล่าวได้จากผู้เขียน ซึ่งแจ้งไว้ว่าอยากแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของท่านให้แก่คนไทย ได้คิด ประยุกต์ใช้ และต่อยอด
ภาพจาก : https://www.qldtradeprint.com.au/wp-content/uploads/2014/03/Values.jpg