ออกแบบและกำหนดกรอบแนวคิดเพื่อการศึกษาวิจัยที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรมที่มีบริบทแตกต่างกัน มุ่งตอบสนองความต้องการและการนำไปใช้ประโยชน์ (Action Oriented Research)
บริหารจัดการข้อมูลหลักผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาวิจัย และนำเสนอผลการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนา ข้อเสนอแนะเพื่อการยกระดับอย่างมีทิศทาง คำนึงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างการใช้ประโยชน์จากบริการงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
1 การศึกษาวิจัยเพื่อการวางแผนกลยุทธ์
ในการวางแผนกลยุทธ์ของทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตอบสนองและสนับสนุนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Demand Driven) ดังนั้นองค์กรจึงควรเข้าใจถึงสภาพปัญหาและสถานะปัจจุบันในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจของตนเอง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญให้กับในการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน นำไปสู่แผนปฏิบัติการ (action plan) ที่เหมาะสม
ตัวอย่างลักษณะงาน
- การวิเคราะห์เหตุการณ์จำลองในอนาคต: Foresight Management & Scenario Planning
- การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนแม่บท แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการด้านต่างๆ
2 การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาศักยภาพและยกระดับองค์กร
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน องค์กรจึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเอง เครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการที่ทำให้องค์กรเข้าใจตนเอง มองเห็นจุดอ่อนและโอกาสในการพัฒนา รวมถึงการเทียบเคียงกับองค์กรที่เป็นเลิศ จะช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ขององค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาและยกระดับองค์กรเป็นไปอย่างมีทิศทาง และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตัวอย่างลักษณะงาน
- การประเมินศักยภาพองค์กรผ่านกรอบการประเมินของสถาบัน อาทิ I 4.0 Quick Scan, I 4.0 Check-up, Value Added Productivity Measurement เป็นต้น
- การเทียบเคียงสมรรถนะผ่านกระบวนการ Benchmarking และ Best Practices
- การออกแบบงานวิจัยตามความต้องการของลูกค้า
- การพัฒนากรอบการประเมินตามความต้องการของลูกค้า
3 การประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร/โครงการ/แผนงาน
ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นจริง น่าเชื่อถือ และถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นสิ่งที่สำคัญและท้าทายยิ่งกว่า การประเมินผลความสำเร็จของโครงการหรือกิจกรรมโดยหน่วยงานที่เป็นกลาง จะช่วยลดความเบี่ยงเบนที่เกิดจากอคติทั้งเชิงบวกและลบ องค์กรจะได้รับทราบข้อมูลและสภาพปัญหาที่เป็นจริง ซึ่งสามารถสะท้อนผลการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และนำไปสู่การวางแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ตัวอย่างลักษณะงาน
- การประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงาน/การปฏิบัติงานของหน่วยงาน
- การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
4 การพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ และตัวชี้วัดด้านการเพิ่มผลิตภาพ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการชี้นำและผลักดันการเพิ่มผลิตภาพในทุกภาคส่วน การนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้ด้านผลิตภาพในแง่มุมต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญ
ตัวอย่างลักษณะงาน
- การพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ และตัวชี้วัดด้านการเพิ่มผลิตภาพ
โครงการสำรวจความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
โครงการประเมินผลการปฏิบัติงาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
โครงการติดตามประเมินผลงานในมิติเชิงสังคมโดยใช้ซิปโมเดล (CIPP Model) สำหรับสายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
โครงการ ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
โครงการสำรวจความผูกพันของบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โครงการสำรวจความพึงพอใจลูกค้า ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
(ธพว.-SME BANK)
โครงการประเมินทักษะและจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Competency)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โครงการศึกษาวิจัยประเมินประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการประกอบกิจการกระจายเสียง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- โครงการประเมินโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ภายใต้แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (https://piu.ftpi.or.th/category/support-projects/)
ที่มา: IMD
ที่มา: LFS,NESDB
ที่มา: LFS,NESDB
ที่มา: SETSMART 2021