IGP-20 : Idea Generation & Value Creation (เสกสรร ปั้น แต่ง ไอเดียอย่างมีคุณค่า) - สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ Thailand Productivity Institute
Loading Events
Public Training

IGP-20 : Idea Generation & Value Creation (เสกสรร ปั้น แต่ง ไอเดียอย่างมีคุณค่า)

วันที่อบรม
29 - 30 สิงหาคม 2566
เวลา 9:00-16:00 น.
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ อาคารนานา

ระยะเวลาอบรม : 2 วัน
วิธีการฝึกอบรม
- บรรยาย
- อภิปราย
- ฝึกปฏิบัติ


ค่าธรรมเนียม (ไม่รวม VAT) 9,500 บาท
สมาชิกสถาบัน รหัส TP และ FI ลด 3%
สถาบันจดทะเบียนในนามมูลนิธิ จึงได้รับยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

  • This event has passed.

     ให้ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างนวัตกรรมขององค์กร พร้อมนำเสนอคุณค่าตรงกับที่ลูกค้าความคาดหวัง ทั้งการใช้งานสินค้าและการรับบริการ ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหา (Frame a Question)  การระบุคุณค่าที่คาดหวังจากการแก้ไขปัญหา (Gather inspiration) การสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหา (Generate Idea) การออกแบบต้นแบบแนวทางแก้ไขปัญหา (Make Ideas Tangible) การทดลองปฏิบัติ (Test to Learn) และการนำเสนอผลงาน (Share the Story)

เนื้อหาได้รับการออกแบบ ให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด และมุมมองที่แตกต่างจากรูปแบบแก้ไขปัญหาแบบเดิม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดไปสู่ การพัฒนานวัตกรรม อย่างต่อเนื่อง ในองค์กร

 

  • บูรณาการแนวคิด Creative Problem Solving ร่วมกับทักษะการคิด เช่น Divergent & Convergent Thinking, Systems Thinking,  นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาในมุมมองใหม่ๆ ออกนอกกรอบการจัดการแบบเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน  การให้บริการ และ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสร้างโอกาสให้กับองค์กร
  • เรียนรู้เครื่องมือสร้างไอเดีย เช่น เทคนิคการระดมสมอง เทคนิค Mash-up, SCAMPER, Crazy 8s, Random Words, Round Robin, ฯลฯ ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนสามารถไอเดียหลากหลาย แปลกใหม่ ในการปรับปรุง พัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรม
  • Self-Learning ศึกษาเองล่วงหน้า ทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นผ่านกรณีศึกษาและการปฎิบัติ
  • Teaching & Coaching ชี้แนะ ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

 

วัตถุประสงค์ :

  • เรียนรู้กระบวนการออกแบบแนวแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • นำเทคนิคการสร้างไอเดีย ปรับปรุง และพัฒนา กระบวนการทำงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่
  • เรียนรู้วิธีการออกแบบพฤติกรรม และประสบการณ์ผู้ใช้งาน
  • พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้เป็นผู้นำสร้างสรรค์ในองค์กร

 

 

ผลลัพธ์การอบรม :

  • กระบวนการ และเครื่องมือการวิเคราะห์ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการ
  • เครื่องมือในการนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ในมุมมองที่แตกต่าง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยืน
  • เทคนิคและรูปแบบการนำเสนอไอเดียให้ผู้ฟังยอมรับ
  • บุคลากรที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจ พร้อมเปลี่ยนแปลงองค์กร ให้ทันสมัย และเป็นผู้นำในธุรกิจ

 

เหมาะกับ :

ผู้บริหาร นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ นวัตกร นักบริหาร นักวางแผนกลยุทธ์  และบุคคลทั่วไปที่สนใจเพิ่มเติมความรู้เพื่อการสร้าง สรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ นวัตกรรมองค์กร

 

Learning Method:

 

วิทยากรและที่ปรึกษา:

ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

ผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรที่ปรึกษา ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมและพัฒนาบุคลากร

 

ค่าธรรมเนียม ก่อน Vat 7% รวม Vat 7%
Non-member 9,500 10,165
สมาชิกสถาบันรับส่วนลด 5%

 

ระยะเวลา: 2 วัน

รุ่น 19 วันที่ 14-15 มี.ค. 66

รุ่น 20 วันที่ 29-30 ส.ค.66

รุ่น 21 วันที่ 14-15 ธ.ค. 66

 

รายละเอียดหลักสูตร

DAY 1: IDEATE (เสกสรร)

  • ประเมินความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์
  • Mindset สำหรับนักแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • แนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
  • ค้นหาปัญหา (Frame Question)
  • เทคนิคการตั้งคำถาม ให้เห็นประเด็นปัญหาสำคัญ
  • เทคนิคการตั้งคำถาม ให้เข้าใจความต้องการและความคาดหวัง
  • การระบุคุณค่าที่คาดหวัง (Gather inspiration)
  • กำหนดวัตถุประสงค์ และคุณค่าที่คาดหวัง (Value Proposition)
  • การสร้างแผนผังคุณค่า (Value Map)
  • การสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหา (Generate Idea)
  • เทคนิคการระดมสมอง
  • รูปแบบและการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิค Mash-up, SCAMPER, Crazy 8s, Round Robin
  • การสร้างความคิดริเริ่ม และหลากหลาย (Divergent Thinking)
  • การสังเคราะห์ไอเดีย (Convergent Thinking)

 

DAY 2: INNOVATE (ปั้น) ILLUMINATE (แต่ง)

  • การออกแบบต้นแบบ (Make Ideas Tangible)
  • แนวคิดการออกแบบต้นแบบ
  • เรียนรู้การสร้าง Digital Prototype
  • เรียนรู้แนวคิด Minimum Viable Product
  • การทดลองปฏิบัติ (Test to Learn)
  • รูปแบบการทดสอบต้นแบบ (Guerrilla Tests, Indicative Tests, High-fidelity Tests)
  • แนวทางการสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน
  • การนำเสนอผลงาน (Share the Story)
  • การทำความเข้าใจ และเปลี่ยนแนวคิดผู้ฟัง
  • การสร้างธีมของเรื่อง (Create Big Idea)
  • การใส่อารมณ์ลงในเรื่องเล่า (Lead by Emotion)
  • แนวทางการเล่าเรื่องแบบ 4C
  • เทคนิคกำหนด และการเดินเรื่อง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 456, 083-297-9494 (เอราวรรณ)
E-mail : arawan@ftpi.or.th

วิทยากร

ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

• วิทยากรอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม
• ให้การฝึกอบรมด้านการสร้างผู้นำเชิงปฏิรูป การปฏิรูปทีมงาน การปรับปรุงผลการดำเนินงานของทีมงาน การวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงกลยุทธ์ การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การบริหารโครงการ การพัฒนาและสร้างนวัตกรรม ให้กับภาคผลิตและภาคบริการ


Latest Course


Latest Articles

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Search in posts
Search in pages