30 พฤษภาคม 2024

เคล็ดวิชาด้านบริหาร  
องค์กรต้องรักษา Momentum แม้จะเปลี่ยนกี่ผู้นำ ต้องเติบโตและไปต่อ 

 

ที่มา: งานสัมมนา 2023 TQA Winner Conference: Leadership Challenges in Business Excellence 

 

Challenge องค์กรไทย สร้างศักยภาพการแข่งขันอย่างไรให้สู้ต่างชาติ ?
จากการจัดอันดับ IMD World Competitiveness Ranking 2023 แม้ประเทศไทยจะมีอันดับดีขึ้นในทุกปัจจัย แต่เรื่องที่ยังต้องพัฒนา คือ Business Efficiency โดยเฉพาะด้าน Management Practices หากปรับปรุงได้ ก็ช่วยจะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับต่างประเทศ

 

องค์กรมักเปลี่ยน leadership เป็นประจำตามวาระ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษาหรือรัฐวิสาหกิจ อย่างเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รามาฯ หรือแม้แต่ PTT LNG ที่ต้องเปลี่ยนผู้บริหารตามวาระ แต่ยังสามารถรักษา Momentum และการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งนี้เป็นบทเรียนที่สำคัญ เพราะไม่ใช่ว่าเปลี่ยนผู้บริหารแล้วต้องล้างไพ่ เร่ิมนโยบายใหม่ ส่วนบทบาทของบอร์ด หรือผู้กำกับดูแล ต้อง accountable ต่อกลยุทธ์ขององค์กร การมองให้เห็นถึง Long Term Challenge รวมทั้ง Vision ที่ทำให้องค์กรยั่งยืน   

 

Key Strategies ที่สะท้อน Value Creation รวมถึงความสามารถที่ต้อง Delivered สู่ Customer และ Stakeholder

ซึ่งเห็นได้ชัดจากหลายๆ องค์กรที่ได้รับรางวัล TQA 2023 ไม่ว่าจะ B2B จาก PTT LNG หรือ B2C ในลักษณะของมหาวิทยาลัย หรือเกษตรกรที่เชื่อมโยงไปถึงชุมชน ความชัดเจนของกลยุทธ์ ทั้งการ Delivered Value Creation ที่องค์กรสร้างขึ้น โดยโฟกัสไปที่ Customer & Market ขณะที่ Partnership ก็สำคัญไม่แพ้กัน หรือ Performance Assessment การดำเนินการเพื่อ Support Goal Achievement นำไปสู่ Improvement และ Innovation 
 

Framework ของ IMD World Competitiveness Ranking

ให้ความสำคัญกับ Capacity ในการสร้างศักยภาพการแข่งขันขององค์กร ในมุมมองที่เป็น Ranking ของประเทศไทย ในเกณฑ์ของ IMD มี 4 ด้าน ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ คือด้าน Business Efficiency โดยเฉพาะเรื่อง Management Practices จากตัวอย่างขององค์กรที่มาแบ่งปัน ชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้ ปรับตัวขององค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญ ในการประเมินส่วนนี้นับว่าเป็นความท้าทายของประเทศไทยมาก เพราะหากดูจากคะแนน IMD จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่องค์กรไทยอันดับยังไม่ดีขึ้น
 

Hacks สูตรลับ: เคล็ดวิชาด้านบริหารจากองค์กรที่ประสบสำเร็จ  

การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง ติดตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม ซึ่งตรงกับค่านิยมและแนวคิดหลักของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ คือ Agility and Resilience (ความคล่องตัวและความสามารถในการฟื้นตัว) เนื้อหาส่วนนี้เหมือนเคล็ดวิชาในด้านบริหาร ซึ่งจะเห็นว่าองค์กรในวันนี้เน้นย้ำถึงเรื่อง speed (ความฉับไว) ยกตัวอย่าง การฝ่าวิกฤติโควิด, การเมือง, ภัยธรรมชาติ ชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการฟื้นตัว ซึ่งเกณฑ์หมายถึงความสามารถในการคาดการณ์ ฟื้นฟู และกู้คืนสู่สภาพเดิม ขณะเดียวกันต้องปกป้องและยกระดับความผูกพันของบุคลากรและลูกค้า การดำเนินงาน ผลิตภาพและชุมชน 

  

การสร้างให้องค์กรมีความคล่องตัวและความสามารถในการฟื้นตัว

ประกอบด้วย 7 ประเด็น ตามแนวทางเกณฑ์รางวัลฯ
1. การนำองค์กร 2. กลยุทธ์ 3. ลูกค้า 4. การวัดวิเคราะห์และจัดการความรู้ 5. บุคลากร 6. การปฏิบัติการ 7. การติดตามผลลัพธ์  

 

รู้หรือไม่ สิ่งสำคัญคือ Leadership  

การนำองค์กร ต้องมีการสื่อสารเพื่อสร้างความผูกพัน เพราะอาจเกิด disruption หรือ Urgency (ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง) และผู้นำมีส่วนในการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ 
 

Key Success Factor ที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

  • Culture: เรื่องการพัฒนาคน ที่เปิดรับการปรับเปลี่ยน 
  • ระบบงานและกระบวนการ: กระบวนการและวิธีการทำงาน เป็นบทบาทสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี สิ่งที่ท้าทายคือ ผู้นำจะใช้วิธีการอย่างไร ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  
  • เทคโนโลยี: มีส่วนช่วยในการปรับปรุง พัฒนา ทำให้เกิดการเรียนรู้และศักยภาพในการปรับปรุง หรือสร้างนวัตกรรม เอื้อในระบบข้อมูลสารสนเทศ มีความพร้อมใช้สำหรับ Decision Making 

 

ค้นหาหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

👉 Creating Organizational Cultures Based on Values and Performance

(การสร้างวัฒนธรรมที่สนับสนุนเป้าหมายและผลลัพธ์องค์กร) คลิก

👉 Learning and Sharing with Winner Organizations : ครั้งที่ 1 บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด คลิก




Writer