29 สิงหาคม 2023

แนวปฏิบัติภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล: บทเรียนจากเกาหลีใต้

โดย ฝ่ายวิจัย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

การเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID 19 ระหว่างปี 2563-2566 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เศรษฐกิจของประเทศไทยต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสามารถเติบโตได้แม้จะมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย

สาธารณรัฐเกาหลี หรือ เกาหลีใต้ ก็อยู่ภายใต้บริบทที่ประเทศไทยกำลังเผชิญเช่นเดียวกัน ซึ่งเกาหลีใต้เป็นหนึ่งใน ‘Best Practitioner’ ที่มีแนวปฏิบัติภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลที่น่าสนใจ แต่บริบทของเกาหลีใต้ค่อนข้างแตกต่างจากประเทศไทย ประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ เกาหลีใต้มีการสร้างระบบนิเวศน์รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถตอบสนองต่อ Digital Life, Digital Social and Community และ Digital Economy ที่เข้มแข็งมาก และมีการวางวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำในการใช้ AI ในทุกอุตสาหกรรมและบริการให้ได้ภายในปี 2030

เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำการใช้ AI ในทุกอุตสาหกรรมและบริการ

การสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อบ่มเพาะการใช้ AI

และทำให้เกิดความเป็นสากล

ภารกิจ 1: พัฒนา Solution การใช้ AI ที่สามารถสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้ เพราะผู้มีความต้องการและผู้ที่สามารถผลิต AI จะมีความร่วมมือและพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จได้ นอกจากนี้ จะต้องมีการอนุญาตให้เผยแพร่ไม่ใช่เพียงบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้เท่านั้น แต่ให้ทุก ๆ บริษัทต้องสามารถใช้ได้ด้วย

ภารกิจ 2: พัฒนาให้เทคโนโลยี AI มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นคนกลางในการหาบริษัทที่มีความจำเป็นต้องใช้หรืออยากจะใช้เทคโนโลยี AI และผู้ที่สามารถผลิต AI ที่สามารถตอบโซลูชั่นได้ โดยจะสนับสนุนให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกและจัดสรรทรัพยากรให้อย่างเหมาะสม

การสนับสนุนให้บริษัทที่ยังไม่มีความรู้เรื่อง AI

สามารถใช้ประโยชน์จาก AI มากขึ้น

ภารกิจ 1: ค้นหาบริษัทที่ไม่มีความรู้เรื่อง AI เพื่อสร้างระบบ AI ให้เริ่มใช้ และสามารถสร้างประโยชน์ในการทำงาน

ภารกิจ 2: พัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ AI ได้ โดยมีการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรม แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Fundamental ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ AI และการใช้ AI ในการทำงานกับพนักงานทั่วไป, Expert จะเป็นกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอกด้าน AI หรือพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับ AI ให้มีช่วยร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรม AI และ Hi-ended กลุ่มนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก ด้าน AI มาทำโครงการร่วมกันกับภาครัฐ

ภารกิจ 3: มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนให้เกิดการใช้ AI และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม AI

การสร้าง Eco-system

ที่ทำให้เอกชนสามารถพัฒนาอุตสาหกรรม AI ได้

ภารกิจ: สร้างระบบและบรรยากาศให้สามารถพัฒนาอุตสาหกรรม AI ได้ง่ายและสะดวก โดยมีการตั้ง One Stop Support System เพื่อการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการ และในปี 2023 จะมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการร่วมสนับสนุนเงินทุนเพื่อผลักดันอุตสาหกรรม AI เพื่อให้ใช้ AI ในทุกอุตสาหกรรมและบริการ

ดังนั้น หัวใจสำคัญของแนวปฏิบัติภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลของเกาหลีใต้ คือ การพัฒนาเทคโนโลยี AI และพยายามทำให้ AI เป็นส่วนหนึ่งตั้งแต่การดำรงชีวิต การทำงาน เกิดเป็นไลฟ์สไตล์ของการเป็น Digital Citizen แน่นอนว่า ความปลอดภัยทางไซเบอร์และสิทธิส่วนบุคคลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ยังเป็นสิ่งท้าทายของเกาหลีใต้ในการก้าวสู่ยุคดิจิทัลแบบไร้รอยต่อ ซึ่งก็เป็นโจทย์ที่เกาหลีใต้ได้พยายามสร้างระบบความปลอดภัยต่าง ๆ ขึ้นมารองรับและพยายามก้าวให้ทันอาชญากรทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความเข้าใจและความตระหนักแก่ประชากรเกาหลีใต้ด้วย


ข้อมูลจาก การศึกษาดูงานภายใต้โครงการ APO: Individual-country Observational Study Mission on Industrial Policies and Practices: Advancing Industrial Economy in the Digital Age ระหว่างวันที่ 17-19 July 2023




Writer