8 สิงหาคม 2023

รับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยการทำความเย็นที่ยั่งยืน หรือ Sustainable cooling

จากวิกฤตคลื่่นความร้อนในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนพึ่งพาระบบปรับอากาศ หรือ การทำความเย็นเพิ่มมากขึ้น เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูง อันเนื่องจากการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงและการใช้สารทำความเย็นที่มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่สูง ก๊าซเรือนกระจก นอกจากจะดูดความร้อนไว้ในบรรยากาศโลกแล้ว ยังไปทำลายชั้นโอโซนให้บางลงด้วย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change

ปัจจุบัน 3.4% ของการปล่อยมลพิษทั่วโลกมาจากการทำความเย็น  การทำความเย็นอย่างยั่งยืนจึงเป็นอีกทางเลือกที่จะรับมือกับความร้อน ในขณะเดียวกันก็ลดการปล่อยมลพิษ โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพของสารทำความเย็น ควบคู่ไปกับการลดอุณหภูมิในอาคารและสภาพแวดล้อม สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศประเมินว่า การทำความเย็นอย่างยั่งยืนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 460 พันล้านตัน

 

3 กลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการทำความเย็นอย่างยั่งยืน

ทบทวนการออกแบบอาคารและผังเมือง

มีบทบาทสำคัญในการทำความเย็นอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเย็น เช่น การปกคลุมหลังคาอาคารหรือระเบียงด้วยพรรณไม้ต่างๆ เพื่อดูดซับความร้อน และการติดตั้งฉนวนและกระจกสองชั้นเพื่อป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น

 

ผลักดันนวัตกรรมทำความเย็นที่ยั่งยืน

Organization Sustainable Energy for All (SEforALL) ได้ให้คำจำกัดความของ “นวัตกรรมการทำความเย็นที่ยั่งยืน” ว่า เป็นการทำความเย็นที่ไม่ใช้สารทำความเย็นหรือพลังงานในการดำเนินงาน แต่จะอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บริษัท WAVIN (MetroPolder) สร้างหลังคาเขียว (Green Roof) ที่กักเก็บน้ำฝน เพื่อนำมากลับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำต้นไม้ การล้างห้องน้ำในอาคาร และทำให้อาคารเย็นลงในช่วงฤดูร้อน

BioShade บริษัท Startup ด้านเทคโนโลยีภูมิอากาศ ใช้เทคโนโลยี AI, IoT และ Hydroponic ในการสร้างภูมิทัศน์ของเมือง ให้มีร่มเงาตามธรรมชาติ หลังคา ผนัง และพื้นที่ในเมืองปกคลุมด้วยต้นไม้ สร้างสภาพอากาศให้เย็นกว่าเดิม

การทำความเย็นที่ยั่งยืนยังสามารถใช้ประโยชน์จากสารทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สารทำความเย็นบางประเภท เช่น สารทำความเย็นธรรมชาติ ที่มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming Potential (GWP) ที่ต่ำมาก และอาศัยแหล่งพลังงงานสะอาด เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ และ พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

 

มีกรอบนโยบายที่สนับสนุนทุกภาคส่วน ทั้งด้านกฏหมายและการเงิน

 

จากรายงานเรื่อง Freezing in the tropics: Asean’s air-conundrum ของ Eco-Business ได้ระบุว่า  ภายในปี 2586 การใช้เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ จะคิดเป็น 2 ใน 5 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความมั่งคั่ง ความหนาแน่นของประชากร และการย้ายถิ่นฐานที่เพิ่มขึ้น

การขับเคลื่อนแนวทางการทำความเย็นอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีกรอบนโยบายที่สนับสนุนทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายเกี่ยวกับอาคาร แรงจูงใจด้านภาษี และงบประมาณสนับสนุน อีกทั้งควรหยิบยกประเด็นเรื่องการทำความเย็นอย่างยั่งยืนมาพิจารณาประกอบการวางแผนและออกแบบโครงการต่างๆ  ทั้งด้านพลังงาน เมือง การขนส่ง การเกษตร และบริการด้านสุขภาพ

แม้ว่าการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเกี่ยวข้องกับระดับนโยบายภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ในระดับบุคคล ก็เป็นกลไกหนึ่งในการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาพรวม เริ่มด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้พลังงานทดแทน เทคโนโลยี และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือสัญญาณเตือนที่สำคัญ หากเราปล่อยให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ อาจนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเกินกว่าเราจะรับมือหรือแก้ไขให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก

ข้อมูลอ้างอิง: https://www.weforum.org/agenda/2023/03/sustainable-cooling-refrigeration-climate-crisis

 

สนใจโครงการให้คำปรึกษาแนะนำ

ESG On-boarding Program
with Resource Productivity Management vs BB Learning

คลิก

 

 




Writer