16 มิถุนายน 2023

 

เปิดตัว…ตัวชี้วัดผลิตภาพตัวใหม่

Greening Productivity Measurement

 

เราคุ้นเคยกับตัวชี้วัดประสิทธิภาพการผลิตรวม หรือ Total Factor Productivity: TFP เป็นตัวชี้วัดเทียบเคียงระดับสากลที่มีการวัดหลายปัจจัยการผลิตหรือ Multi-factor Productivity เป็นการวัดปัจจัยการผลิตที่เหลือที่ไม่สามารถอธิบายได้นอกเหนือจากปัจจัยทุน แรงงาน และที่ดิน อาทิเช่น การปรับปรุงเทคโนโลยี มาตรฐานที่เพิ่มขึ้น แรงงานที่มีทักษะ การบริหารจัดการที่ดี เป็นต้น เราใช้ตัวชี้วัดนี้มานานกว่า 50 ปี เพื่อวัดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศควบคู่ไปกับการดูอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth)

แต่การวัดประสิทธิภาพจากการเปลี่ยนปัจจัยการผลิตให้เป็นผลผลิตได้ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมหรือลดมลภาวะอย่างไรบ้าง ยังไม่มีการวัดในเรื่องนี้มาก่อน จึงถึงเวลาที่จะต้องปรับเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ ทาง OECD หรือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา จึงได้เพิ่มตัววัดด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อวัดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

ความพยายามในการลดการปล่อยมลพิษ เพราะการคำนวณแบบเดิม ทำให้การเติบโตของ TFP ถูกประเมินสูงเกินไปในประเทศที่พึ่งพาทุนธรรมชาติอย่างมากในการปรับเปลี่ยนปัจจัยการผลิตให้เป็นผลผลิต รวมถึง มีการใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดมลพิษด้วย และในทางตรงข้ามจะประเมินต่ำเกินไป สำหรับประเทศที่มีการลงทุนและบริหารจัดการทรัพยากรในประเทศที่มีการละเว้นการปล่อยมลพิษและดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การวัด Greening Productivity จะนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายที่เหมาะสมได้

การปรับกรอบแนวคิดการวัด Greening Productivity ของ OECD ได้ขยายขอบเขตการวัด GDP ให้ไปครอบคลุมมลภาวะหรือผลพลอยได้ที่ไม่พึงประสงค์ไม่เพียงแต่วัดผลผลิตที่พึงประสงค์เท่านั้น หรือปรับ GDP growth
เดิมให้เป็น Pollution-adjusted GDP growth เป็นฝั่งซ้ายของสมการ Growth Accounting
และเพิ่มอีก 2 ปัจจัยการผลิตในฝั่งขวาของสมการ คือ ทุนทางธรรมชาติ (The Growth in Contribute of Natural Capital) เป็นการวัดอัตราการเติบโตของรายได้ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม
(The Growth Adjustment for Pollution) วัดจากอัตราการเติบโตของค่าใช้จ่ายในการดูแลคุณภาพของสิ่งแวดล้อม

ตัววัดนี้ทาง OECD เรียกว่า Environmentally Adjusted Multifactor Productivity (EAMFP)

 

จะวัดแหล่งที่มาของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) และโอกาสการเติบโตในระยะยาว ทำให้ TFP ที่เป็น Residual Growth มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม OECD ได้ชี้ถึงข้อจำกัดของตัววัดนี้ไว้ว่า การตีมูลค่าของการใช้ทุนธรรมชาติกับการปล่อยมลภาวะถูกประเมินจากมุมมองของผู้ผลิตซึ่งอาจเป็นทัศนคติไม่ได้มาจากราคากลางหรือ market price ได้ นอกจากนี้กรอบแนวคิดนี้ยังไม่ได้รวมต้นทุนทางสังคมและค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต และการวัดด้านสิ่งแวดล้อมยังครอบคลุมเพียงการปล่อยมลพิษทางอากาศและพื้นดินเท่านั้น

ตัววัด EAMFP ถูกวัดในกลุ่มประเทศสมาชิก OECD และกลุ่ม G20 ประเทศในอาเซียนที่วัดตัวนี้มี จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ในอีกไม่นาน คาดว่าจะขยายขอบเขตการวัดและกลุ่มประเทศมากขึ้นในอนาคต ด้วยความตระหนักในภาวะโลกร้อนและการเห็นความสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อม จะเป็นปฏิกิริยาเร่งที่ทำให้ตัวชี้วัดนี้แพร่หลายมากขึ้น ถ้ามองประโยชน์ของประเทศที่ได้รับหากที่มาของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ได้มาจากต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมก็เป็นเครื่องหมายของการเติบโตระยะยาว ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้มีการปรับวิสัยทัศน์ในการ Redefining Productivity for Sustainable Success เช่นกัน

 

 

 

สนใจโครงการให้คำปรึกษาแนะนำ

ESG On-boarding Program
with Resource Productivity Management vs BB Learning

คลิก

บริการงานวิจัย โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ คลิก




Writer