1 กุมภาพันธ์ 2023
9 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อความเชื่อและความรู้สึกของผู้คน
ที่มีต่อองค์กรและผู้นำ
โดย คุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
กรรมการ สลิงชอท กรุ๊ป
ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ เห็นด้วยหรือเปล่า ก็ต้องยอมรับว่า
“ภาพที่คนอื่นเห็นเรา คือความจริงในสายตาของเขา” (Perception is Reality)
เราเป็นองค์กรที่ดีหรือไม่ ? เราเป็นผู้นำที่ใช่หรือเปล่า ?
ไม่ใช่ตัวเราเป็นผู้ตัดสิน แต่คนอื่นต่างหากตัดสินเรา พวกเขาตัดสินเราจากอะไร ?
ผลสำรวจจาก Weber Shandwick บริษัท Network PR Agency ระดับโลก พบว่ามี 9 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้สึกหรือความคิดเห็นของผู้คนที่มีต่อองค์กรและผู้นำ ซึ่งประกอบไปด้วย
- What people say (การพูดปากต่อปาก) – 88% ของการบอกต่อ ส่งผลมากที่สุดต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่มีต่อองค์กรและผู้นำ ยิ่งมีการบอกต่อกันมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ข้อมูลฟังดูมีน้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น (ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะจริงหรือเท็จก็ตาม)
- Online reviews (การรีวิวออนไลน์) – 83% เชื่อการรีวิวหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง ทิศทางของการรีวิวเอียงไปทางไหน ก็มีแนวโน้มที่คนส่วนใหญ่จะโน้มเอียงไปทางนั้นด้วย
- Online search results (ผลการค้นหาออนไลน์) – 81% เชื่อถือตามผลของการเสิร์ชหาผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อค้นหาแล้วมีชื่อขององค์กรหรือผู้นำนั้นๆ อยู่ในระดับต้นๆ ของการแสดงผล ผู้คนก็มีแนวโน้มเชื่อไปตามนั้น
- News sources (แหล่งข่าว) -มีผลต่อความรู้สึกของผู้คนถึง 79% การสื่อสารข่าวสารขององค์กรสู่สาธารณะจะช่วยเน้นย้ำภาพลักษณ์ที่ดีให้คนเชื่อใจ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้คนขาดความไว้วางใจต่อองค์กรและผู้นำ การคงอยู่ในธุรกิจอย่างยั่งยืนก็เป็นเรื่องยาก
- Company website (เว็บไซต์บริษัท) – พบว่ามีผลกว่า 74% เพราะเว็บไซต์ช่วยส่งเสริมให้ผู้คนสามารถเข้าถึงองค์กรได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้สามารถเข้าใจถึงความเป็นมา จุดมุ่งหมาย ความใฝฝันและค่านิยมขององค์กรได้ด้วย
- Awards and rankings (รางวัลและการจัดอันดับ) – พบว่ามีผลถึง 63% เพราะรางวัลหรืออันดับขององค์กรในตลาด บ่งบอกถึงความสำเร็จ ความเก่งกาจและการเป็นผู้นำในระดับที่เป็นที่ยอมรับจากสาธารณะ
- Company leader’s communications (การสื่อสารของผู้นำองค์กร) – สิ่งที่ผู้นำขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ สื่อออกไป มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้คนถึง 59% ผู้นำดี สื่อสารเก่ง ก็ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดีขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกัน ผู้นำที่ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมหรือสื่อสารไม่เข้าท่า ก็มีผลเสียต่อองค์กรด้วยเช่นกัน
- Advertising (การโฆษณา) – มีผลต่อการรับรู้ 56% เพราะการโฆษณาจะช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้คนในวงกว้าง ด้วยข้อมูลและภาพลักษณ์ที่ถูกต้องได้
- Social networks (สื่อออนไลน์) – มีผล 49% แม้จะมีน้ำหนักน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อออนไลน์เป็นอีกช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ฉับไว ประหยัด และเข้าถึงคนได้ในวงกว้าง ทั้งที่เป็นกระแสในเชิงบวกและเชิงลบ ดังนั้นจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ
เมื่อเข้าใจพฤติกรรมการรับรู้ของผู้คนมากขึ้น ก็ทำให้สามารถสรรหากลยุทธ์หรือวิธีการที่เหมาะสมมาใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารให้มากขึ้นได้เช่นกัน
สนใจหลักสูตรสายงานทรัพยากรบุคคล คลิก
ค้นหาหลักสูตรเพื่อเสริมแกร่งศักยภาพบุคลากรและองค์กร คลิก
‘Capability Development Program 2023’ พร้อมแล้วที่จะนำพาบุคลากรและองค์กรไทยมาร่วมเรียนรู้ ควบคู่กับการฝึกฝนประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะที่สำคัญต่อโลกการทำงานยุคใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่สูงลิ่ว ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้ง People – Process – Technology ผ่านรูปแบบ Public Training , e Training และ Intensive Program การันตีด้วยสาระความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และเทคนิคในการประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
Tags: Employee Engagement Employee Experience Employee Retention Employee Satisfaction Engagement Survey HR HR Strategy HRD Human Development Human Resource Leadership organizational culture People Development Voice of Employee กลยุทธ์การสร้างความผูกพันพนักงาน การวัดความผูกพัน ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ความสำคัญ Employee Engagement ความหมายของ Employee Engagement วีธีสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร ให้คำปรึกษาด้านการสร้างความผูกพันพนักงาน