5 พฤศจิกายน 2021

การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ (Industrial Paradigm Shifts) :

Disruption – ดับสูญเพื่อสร้างสรรค์

โดย คุณพฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล
[email protected]

ในบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้บรรยายถึง ภาวะผู้นำแบบ Servant Leadership ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารธุรกิจในยามวิกฤติ เพื่อปรับองค์กรให้ทันกับ New Normal ที่กำลังเกิดขึ้น

ในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงเรื่องสำคัญ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุค New Normal หลังโควิด นั่นก็คือเรื่องของ Business Disruption ซึ่งไม่ใช่หัวข้อใหม่ หากแต่ผู้เขียนต้องการนำเสนอมุมมอง และแง่คิดที่แตกต่างออกไป ให้ผู้บริหารองค์กรสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง และเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

ในการนี้ ขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ Business Disruption (การที่ธุรกิจหยุดชะงัก, ถูกทำลาย, หรือถูกแทนที่) เป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้

ต้องเข้าใจก่อนว่า เรื่อง Disruption คือ ธรรมชาติของความเป็นไปบนโลกนี้

ทุกอย่างย่อมต้องมีการ เกิด เติบโต เสื่อม และดับไป การเกิด Disruption นี้ก็มีมาตั้งแต่ยุคที่บรรพบุรุษมนุษย์ เผ่าแรกๆ รู้จักจุดไฟ และแล้วหลังจากนั้น สายพันธ์ที่เหลือก็ค่อยๆ พ่ายแพ้หายไป ซึ่งจากการศึกษาประวัติศาสตร์โลก ก็จะเห็นว่า มีตัวอย่าง อารยธรรมโบราณ ที่สูญหายไป เนื่องจากมีอารยธรรมใหม่ ที่เจริญก้าวหน้ากว่าเข้ามาแทนที่อยู่ เป็นเรื่องปกติ

ทั้งนี้ ทุกครั้งที่เกิดการ Disrupt นั่นก็คือ มีสิ่งใหม่ที่ดีกว่า ได้อุบัติขึ้น

เกิด new technology emerging เป็นบางสิ่งที่ดีกว่า อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ “ดับสูญ เพื่อสร้างสรรค์” นั่นเอง แผนภูมิที่ 1 แสดงให้เห็นวงจรธรรมชาติ ในด้าน Technology Life Cycle

ประยุกต์จาก Technology Management, Shahid kv

ความเร็ว และความถี่ ของการเกิดเทคโนโลยีใหม่ (Speed of Development & Frequency) คือ ประเด็นที่แท้จริง

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าการ Disrupt คือสิ่งที่ยังไงก็จะต้องเกิดขึ้น และที่ต้องเกิดขึ้น ก็เพราะมีการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่ามาทดแทน แต่จุดสำคัญคือ ความรวดเร็ว และความถี่ในการพัฒนา ในปัจจุบัน มันเร็วมากเสียจนองค์กรต่างๆ เริ่มปรับตัวตามไม่ทัน และหลายองค์กร ก็ต้องล้มหายตายไปจากตลาด

นับตั้งแต่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม รอบแรก เมื่อสามร้อยปีที่แล้ว สถิติการเกิด Technology Breakthrough ที่มา Disrupt ธุรกิจเดิมๆ จะเกิดทุกๆ 30-50 ปี และ วงจร New Technology Breakthrough นี้ค่อยๆ สั้นและเร็วขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างดังนี้

3.1

ตัวอย่างในยุคแรกๆ หัวจักรรถไฟที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเผยแพร่สู่สาธารณะครั้งแรก โดย Matthew Murray ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ.1804 จนกระทั่ง อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี ค.ศ.1913 รถจักรดีเซล จึงได้ถูกพัฒนา เริ่มนำมาใช้งาน

3.2

ตัวอย่างในยุคถัดมา ในยุคปี ค.ศ.1990 โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นแรกๆ ยุค 1G เช่น Motorola บางโมเดล มีราคาสูงมาก และขนาดเทอะทะ ต่อมาถูกแทนที่ครั้งแล้วครั้งเล่า จนได้รับการพัฒนาล่าสุดเป็น Smartphone 5G เช่น Apple iPhone ในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี

3.3

ปัจุบันในยุคโควิด มีบริษัทสตาร์ทอัพ หลายแห่ง จดลิขสิทธ์ด้าน Digitization & Automation แทบทุกวัน หรืออาจต้องนับเป็นชั่วโมง เช่น SqUID Intelligent Warehouse Robot ที่ถูกพัฒนาจาก R&D สู่ Commercial Maturity Stage ในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี และอาจจะเป็น Game Changer สำหรับวงการ Warehouse Management ในเวลาอันใกล้นี้ นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีตัวอย่าง Startup Innovators อีกหลายแห่ง ในปัจจุบันนี้

กล่าวได้ว่า เพราะความเร็ว และความถี่ ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนถ้าปรับตัวไม่ทัน ก็อาจส่งผลต่อองค์กร และธุรกิจ ไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้น (ขอย้ำอีกครั้ง) ผู้บริหาร ควรเลิกกังวลกับคำว่า Business Disruption แต่ให้มองไปข้างหน้า ทำความเข้าใจเรื่อง Technology Life Cycle และ แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ในการนี้ ขอให้พิจารณา แผนภูมิที่ 2: Cost & Adoption of Technology เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น

   แผนภูมิที่ 2 : Cost & Adoption of Technology

*ประยุกต์จาก Cost & Benefit of Technology model โดยผู้เขียนบทความ

จะรับมืออย่างไรดี?

เมื่อเข้าใจ ความเป็นจริงดังที่ได้อธิบายไปแล้ว ผู้บริหารควรเปลี่ยนความกังวลเรื่อง Technology Disruption ให้เป็น การวางแผนรับมือ ว่าจะนำ New Technology แบบไหน มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจอย่างไร และเมื่อไร เพื่อจะได้เสริมสร้าง Competitive Advantages ใหม่ๆขึ้นมา

4.1

เพื่อจะรับมือกับเรื่องนี้ ผู้บริหาร ควรติดตามแนวโน้ม New Technology ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีหลายช่องทาง หลายแพลตฟอร์ม ในโลกออนไลน์ ที่สามารถเรียนรู้ และติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ รวมไปถึง Technology Magazine, Podcast, Facebook, Blockdit, etc ที่สามารถติดตามบนโลกออนไลน์ ได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ

4.2

เมื่อมองเห็นแนวโน้มแล้ว ก็มาวิเคราะห์ และกำหนด Technology Vision ขององค์กรเอง ว่าเหมาะสมหรือไม่ (คือกระบวนการ Technology Strategy Development: Vision, Assessment, Planning, Execution, and Review)

4.3

เมื่อลงมาสู่ภาคปฏิบัติ ก็จะเลือก และประยุกตร์ เทคโนโลยีใหม่ ได้อย่างชัดเจนและมีปะสิทธิภาพมากขึ้น โดยเข้าใจถึง ปัจจัยในการตัดสินใจต่างๆ เช่น การลงทุน ระยะเวลา payback ควรสั้นกว่า ระยะ Technology Life Cycle ดังนี้ เป็นต้น

ขอให้พิจารณา แผนภูมิที่ 3 : New Technology Adoption เพื่อ

a) ให้เห็น ตรรกกะ ในการเลือกเทคโนโลยีใหม่ มาทดแทนเทคโนโลยีเดิม

b) ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้คุ้มทุน และสร้างความสามารถใหม่ในการแข่งขัน

     

   แผนภูมิที่ 3 : New Technology Adoption

ประยุกต์แผนภูมิ จาก Technology Adoption Model โดยผู้เขียนบทความ

……………………….

บทสรุป

จะเห็นได้ว่า ถ้าเข้าใจเรื่อง Technology Development และยอมรับความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลง สิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่า ย่อมเข้ามาแทนที่สิ่งที่อาจล้าหลัง ผู้บริหารก็จะได้ไม่ต้องติดกับดักความคิด มัวกังวลกับการถูก Disrupt หากแต่ในทางกลับกัน ผู้บริหารจะได้ปรับทิศทางองค์กรในเชิงรุก เพื่อนำ เทคโนโลยีใหม่ มาพัฒนาองค์กร ธุรกิจ ให้เจริญก้าวหน้า ต่อไป

……………………….

แหล่งข้อมูลอ้างอิง / เพื่อศึกษาเพิ่มเติม
: Technology Management – Growth & Lifecycle, Shahid kv
: Technology Innovation, Encyclopedia.com
: Barriers and Breakthroughs: an “expanding frontiers: model, Ayres, Robert U.
: Trainhistory.net, An Encyclopedia of the history of technology
: BionicHIVE, SqUID warehouse robot

แนะนำหลักสูตร 




Writer

โดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล

Executive Coach & Consultant /Experienced Regional Supply Chain GM /Board of Directors