10 พฤศจิกายน 2017

ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของทุกคนบนโลกใบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากรของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเราวัดรอยเท้าคาร์บอน หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ  จากสัตว์เลี้ยงของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็น สุนัข กระต่าย หรือแมว จะพบว่าปริมาณที่วัดได้นั้นไม่น้อยเลยทีเดียว 

ข่าวร้ายสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ต้องตระหนักถึงสภาพแวดล้อม ด้วยนิสัยการกินอย่างตะกละตะกลาม ของสุนัขและแมว ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศถึง 64 ล้านตัน ทุกปี ซึ่งเท่ากับปริมาณที่ปล่อยจากการขับรถมากกว่า 13 ล้านคัน (การคำนวณค่า Greenhouse Gas Equivalencies Calculator)

จากการเผยแพร่ผลการศึกษาใน Plos One พบว่ามีสุนัขและแมวมากกว่า 163 ล้านตัว ในประเทศสหรัฐ บริโภคประมาณ 19% ของปริมาณแคลอรี่ ที่ผู้คน 62 ล้านคน ในสหรัฐบริโภค เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่คือเนื้อ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งเป็นที่รับรู้ว่า สร้างการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างมาก นั่นคือเจ้าสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักของเรามีปริมาณ carbon footprint  จำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ  (carbon footprint   คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน จนกระทั่งถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยทำการคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์)

การเพิ่มขึ้นของปศุสัตว์ทำให้มีการใช้ที่ดิน น้ำ และพลังงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมก๊าซดักความร้อน (heat-trapping gas) หรือ ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) โดยเนื้อหมู 1 กิโลกรัม ใช้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ 24 กิโลกรัม และเนื้อวัว 1 กิโลกรัม ใช้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ 1,000 กิโลกรัม จากผลการศึกษาของ the National Academy of Sciences

เมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เรามักคิดถึงปริมาณเนื้อที่ผู้คนบริโภค แต่ Gregory Okin, นักภูมิศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัย UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา กลับให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยง

ด้วยการคำนวณจำนวนสุนัขและแมวในสหรัฐอเมริกา  น้ำหนักเฉลี่ย และปริมาณส่วนประกอบในอาหารสัตว์ Okin ได้บันทึก carbon footprint ของเพื่อนสัตว์เลี้ยงเหล่านี้  ซึ่งเขาพบว่า สุนัขและแมว ส่วนใหญ่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลัก ซึ่งคิดเป็นประมาณ 19% ของปริมาณแคลอรี่ที่ผู้คนในสหรัฐบริโภค และยังบริโภคคิดเป็น 30% ของปริมาณแคลอรี่อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ ที่ผู้คนบริโภค   (ถ้าอุจจาระของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ถูกควบคุมเหมือนขยะ มันจะเท่ากับปริมาณขยะทั้งหมดที่ถูกผลิตโดยคนอเมริกามากกว่า 6 ล้านคน โดยรวม สุนัขและ แมว ในอเมริกา ผลิตเมเทน และ nitrous oxide ในปริมาณ 64 ล้านตัน ซึ่งเป็นก๊าซต้นเหตุสำคัญของการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ?

การค้นพบนี้มีความหมายมากเนื่องจากความนิยมเป็นเจ้าของสัตว์เลี่ยงเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชีย นั่นหมายถึง ปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยจากสุนัขและแมว สู่สภาพแวดล้อมกำลังเพิ่มขึ้น คุณอาจแย้งว่าเพียงแค่เศษเนื้อเท่านั้นที่เป็นอาหารสัตว์ ดังนั้นถ้าสัตว์ไม่ทาน ก็จะไม่กลายเป็นของเสีย แต่ในสหรัฐ เจ้าของสัตว์เลี้ยงได้เพิ่มการใช้อาหารสัตว์เลี้ยงของพวกเขาด้วยเนื้อที่มีคุณภาพสูงขึ้น (ซึ่งมีการอ้างบนบรรจุภัณฑ์ ว่าเป็น “มาตรฐานเดียวกับอาหารของคน”) นั่นหมายความว่า สัตว์เลี้ยงไม่เพียงกำลังทานเศษเนื้อ อย่างอวัยวะสัตว์ ซึ่งคนเราไม่รับประทาน ดังนั้นปริมาณการบริโภคเนื้อของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ควรถูกตัดสินว่าเป็นเพียงส่วนเพิ่ม

อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้ครอบคลุมว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรทำอย่างไรกับสถานการณ์นี้ โดยเฉพาะแมว ซึ่งอาจต้องการโปรตีนมากกว่าสุนัข ซึ่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จึงใส่ใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหาร เช่นเลือกใช้พืชที่ให้โปรตีนสูง  หรือลดปริมาณอาหารเสริม (งานวิจัยยังชี้ว่า โรคอ้วน เป็นปัญหาใหญ่ของสัตว์เลี้ยง) หรืออาจจะหันไปเลี้ยง หนูแฮมเตอร์แทน

Okin ยังระบุไว้ในการศึกษาของเขาว่า “การวิเคราะห์นี้ไม่ได้หมายความว่า เจ้าของสุขนัข หรือแมว ควรจะถูกจำกัดหรือควบคุมเพื่อเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม แต่เราควรพิจารณาข้อมูลอย่างเข้าใจจริง”

ที่มา :

Alessandra, Potenza@ale_potenza   

https://www.theverge.com/2017/8/4/16094674/cats-dogs-meat-diet-greenhouse-gases-climate-change




Writer

โดย ดร.ต่อเกียรติ น้อยสำลี

• วิทยากรอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม
• ให้การฝึกอบรมด้านการสร้างผู้นำเชิงปฏิรูป การปฏิรูปทีมงาน การปรับปรุงผลการดำเนินงานของทีมงาน การวางแผนกลยุทธ์ คิดเชิงกลยุทธ์ การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การบริหารโครงการ การพัฒนาและสร้างนวัตกรรม ให้กับภาคผลิตและภาคบริการ