6 ตุลาคม 2017

ในเหตุการณ์วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นในทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นภัยทางธรรมชาติ หรือ ปัญหาทางด้านสังคม เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่และดิจิทัลกลายเป็น “พระเอก” ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในกรณีฉุกเฉิน และถือเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า เทคโนโลยีแห่งอนาคตเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคสมัยที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ในปี 2016 ประชากรกว่า 65 ล้านคนต้องพลัดพรากจากบ้านเกิดของพวกเขา และยังคงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2016 ประชาชนกว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลก ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม และระดับการตอบสนองที่จำเป็นในสถานการณ์เหล่านี้กำลังเพิ่มแรงกดดันต่อภาคมนุษยธรรม เพื่อหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ในการตอบสนองความต้องการของประชากรที่ได้รับผลกระทบ

สำหรับคนและชุมชนที่ต้องเผชิญกับกรณีฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมเหล่านี้ เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่คือสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชีวิต แต่พบว่ามีอุปสรรคมากมายในเรื่องของการเชื่อมต่อหรือสื่อสารที่ยังคงไร้ประสิทธิภาพ

ต่อไปนี้เป็น 5 วิธีที่เทคโนโลยีเคลื่อนที่สามารถพลิกโฉมในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้ทันท่วงที

1.การเชื่อมต่อพื้นฐาน : ช่วยในการสื่อสารยามวิกฤติ

เมื่ออุตสาหกรรมมือถือขยายขอบเขตการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ผู้คนในทุกมุมโลกจึงมีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นถึงมากกว่า 5 พันล้านคนทั่วโลก ในทุกวันนี้ เมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ เครือข่ายมือถือเหล่านี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่เพียงยืดอายุความสูญเสียทางธุรกิจ แต่กลับช่วยต่ออายุผู้ใช้บริการหรือเพื่อนมนุษย์

Image: UNHCR

ตัวอย่างล่าสุด เช่น การเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาลในปี 2015 และประเทศอิตาลีในปี 2016 และวิกฤติผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและประเทศในแถบยุโรป ทำให้เราเห็นบทบาทสำคัญของเครือข่ายมือถือและการเข้าถึงการสื่อสารและข้อมูลต่างๆ  รวมถึงข้อความพื้นฐานหรือการโทรศัพท์ ก็สามารถช่วยชีวิตผู้คนเหล่านั้นได้ ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

ในประเทศเนปาลและศรีลังกา ได้มีพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อเพิ่มการเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย  โดยการแจ้งเตือนถึงอันตรายและคำแนะนำผ่านทาง SMS หรือแม้แต่วิธีดั้งเดิม เช่น การประกาศทางวิทยุ และ ไซเรน

2. การโอนเงินเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

องค์กรด้านมนุษยธรรมกำลังหาวิธีการในการช่วยเหลือรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอนเงินผ่านระบบดิจิทัลทางมือถือ ข้อมูลจากสมาคม GSM (GSMA เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก) แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อย 19 ประเทศมีเงินในบัญชีมือถือมากกว่าบัญชีธนาคาร ในขณะที่ 37 ประเทศมีตัวแทนให้บริการเงินในมือถือที่จดทะเบียนมากกว่าสาขาของธนาคารถึง 10 เท่า ในแง่ของการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โปรแกรมการโอนเงินโดยใช้มือถือ สามารถเข้าถึงและมีประสิทธิภาพมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ประเทศยูกันดา MTN และ Airtel กำลังร่วมมือกับ NGOs เช่น DanChurchAid, Mercy Corps และ the International Rescue Committee เพื่อให้บริการช่วยเหลือด้านการเงินแบบดิจิทัลให้กับผู้ลี้ภัยที่เมือง Bidi Bidi ซึ่งเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก

3. การระบุตัวตน

อีกประเด็นหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่กำลังเพิ่มมากขึ้นคือ การปรับปรุงการลงทะเบียนและระบุตัวผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่และดิจิทัล มีบทบาทในการสร้างหรือพิสูจน์ตัวตนของผู้ลี้ภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม ตัวอย่างเช่น หากไม่สามารถระบุตัวตนของตัวเองได้ ผู้ลี้ภัยหรือผู้อพยพ จะต้องเผชิญกับอุปสรรคหรือความล่าช้าในการพยายามข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายถูกจำกัด และยากต่อการเข้าถึงบริการต่างๆ เช่น บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การเงิน การศึกษาหรือการดูแลสุขภาพ

การเข้าถึงเทคโนโลยีเคลื่อนที่และนวัตกรรมเทคโนโลยีอื่นๆ นั่นหมายถึง ผู้ลี้ภัยหรือผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ เข้าถึงหนทางในการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ตัวอย่างเช่นในค่ายผู้ลี้ภัย Za’atari ในประเทศจอร์แดน เจ้าหน้าที่องค์กร UNHCR จะใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อสแกนบาร์โค้ตในเอกสารประจำตัวของผู้ลี้ภัย และตรวจสอบว่าพวกเขามีสิทธิ์ใดบ้าง ในการได้รับบริการต่างๆ เช่น อาหาร เสื้อผ้า หรือเงินสด โดยไม่แสดงชื่อ รูปภาพของผู้ลี้ภัยเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาได้รับการคุ้มครอง

4. การเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค

เทคโนโลยีเคลื่อนที่ได้ถูกนำมาใช้ในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงแหล่งพลังงานน้ำและสุขาภิบาล ให้กับประชาชนกว่าหลายพันล้านคนที่อาศัยในพื้นที่โครงข่ายทั่วไปเข้าไม่ถึง ตัวอย่างเช่น ในภาคพลังงาน มีการลงทุน 360 ล้านดอลลาร์ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างแหล่งจ่ายพลังงานขนาดเล็ก ซึ่งสร้างโอกาสทางการค้าใหม่ ๆ สำหรับภาคเอกชนและยกระดับชีวิตผู้คนกว่า 5 ล้านคนที่ไม่ค่อยได้รับโอกาสนี้

จากการวิจัยล่าสุดในค่ายผู้ลี้ภัย Nyarugusu ในประเทศแทนซาเนียเน้นว่า 73% ของผู้ตอบแบบสอบถาม การระบุค่าใช้จ่ายสำหรับการชาร์จสมาร์ทโฟน เป็นปัญหาหนึ่งต่อผู้ที่ใช้เป็นประจำ โดยในการชาร์จมือถือให้เต็ม จะมีค่าใช้จ่ายสูงสุด 0.20 เหรียญ ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ด้านพลังงาน ที่ให้กับผู้ใช้บริการด้วยการจ่ายเงินตามที่ต้องการใช้ เช่น ผลิตภัณฑ์ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่เช่าต่อเอง ซึ่งสามารถชำระเป็นงวดโดยผ่านมือถือ หรือบัตรเครดิต ระบบเหล่านี้สามารถช่วยเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น วิทยุ ทีวี แสงสว่าง และแม้กระทั่งเครื่องตัดผม เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับผู้ลี้ภัย และเข้าถึงพลังงานสะอาด

5. ยกระดับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

การเข้าถึงโทรศัพท์มือถือขั้นพื้นฐาน สามารถยกระดับและเพิ่มโอกาสและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การเคลื่อนที่ที่ล่อแหลมและยืดเยื้อ เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถเชื่อมต่อผู้คนกับเครือข่ายข้อมูลในแบบเรียลไทม์  ช่วยให้ชุมชนสามารถจัดการและตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้ดีขึ้น และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างผู้ที่ได้รับผลกระทบและหน่วยงานด้านมนุษยธรรมได้เป็นอย่างดี การบริจาคเงินผ่านมือถือเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สามารถให้ผู้ได้รับผลประโยชน์ได้มีทางเลือกในผลิตภัณฑ์และบริการที่พวกเขาต้องการจำเป็นจริงๆ

อย่างไรก็ดี เราไม่ควรประเมินศักยภาพของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ไว้สูง งานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศแทนซาเนียพบว่า ผู้ลี้ภัยกำลังใช้โทรศัพท์วิธีการต่างๆ กัน เช่น การสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว การเข้าถึงโอกาสในการศึกษา การส่งและรับเงินกองทุน และการติดตามเป้าหมายการดำรงชีวิตของพวกเขา การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า 65% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือใช้ค้นหาข่าวสารและข้อมูล ขณะที่ 35% ใช้บริการเพื่อเข้าถึงความบันเทิง

ด้วยจำนวนประชากรกว่า 5 พันล้านคนที่ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เชื่อมต่อถึงกัน และคาดว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 5.7 พันล้านคนในปี 2020  ทำให้มีโอกาสที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ เพื่อช่วยในการเปลี่ยนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการตอบสนองความต้องการของผู้คนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม ที่ต้องใช้รูปแบบใหม่ของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนและวิธีการทั้งระบบนิเวศเพื่อเชื่อมโยงบริการต่างๆ และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนและการกระจายตัว

ทั้งนี้เป้าหมายของประชาคมระหว่างประเทศ ก็คือการป้องกันและสร้างสันติภาพ ดังนั้นเราทุกคนต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีมากที่สุด

 

ที่มา : https://www.weforum.org/agenda/2017/08/mobile-technology-humanitarian-crisis

 

 




Writer

โดย ชญาภา สวรรคทัต

เจ้าหน้าที่ออกแบบและพัฒนาเว็บมีเดีย
แผนกวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ