29 กันยายน 2017

ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับองค์กรยุคใหม่ ที่ต้องจับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำมาปรับใช้ให้องค์กรเกิดผลลัพธ์ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาดูกันว่าในปี 2017 ที่กำลังจะมาถึง เทรนด์ของงานและทักษะจะเปลี่ยนไปในรูปแบบใดบ้าง

จากผลการประเมินของ World Economic Forum’s 2017, Global Human Capital Index พบว่า ปัจจุบันทุนมนุษย์บนโลกได้รับการพัฒนาเพียง 62% ในทางตรงกันข้ามแต่ละประเทศกำลังละเลยหรือสูญเสียความสามารถจากทุนมนุษย์โดยเฉลี่ย 38% และผลการจัดอันดับมีเพียง 25 ประเทศเท่านั้นที่ใช้ทุนมนุษย์ของประชาชนในระดับ 70% หรือมากกว่า ซึ่งเป็นประเทศที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษา การทำงาน และการเติบโตของประชากร

จากดัชนีจัดอันดับ 130 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมกว่า 93% ของประชากรโลก เกี่ยวกับวิธีการที่ดีที่แต่ละประเทศกำลังใช้เพื่อพัฒนาประชาชนของพวกเขา รวมทั้งความรู้และทักษะที่พวกเขาสร้างขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจโลก The Human Capital Report เรียกร้องให้สร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า “มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการทำงาน” อันเป็นสิ่งที่คนจะได้รับและใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ของตนเพื่อเป็นแรงผลักดันหลักของเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองและเป็นสากล

5 ข้อหลักที่ค้นพบจากทั่วโลกของรายงานปี 2017

1. ระดับการศึกษาของประชากรในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่สูงกว่าในยุคพ่อ – แม่

ในศตวรรษที่ผ่านมา โลกได้รวบรวมประวัติศาสตร์การลงทุนด้านการศึกษาอย่างเป็นทางการของผู้คนจำนวน 7.5 พันล้านคนในปัจจุบัน สิ่งพิเศษระดับโลก คือ มีประชากรจำนวนมากที่มีคุณสมบัติที่ผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการรวมถึงคุณสมบัติขั้นสูงในสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่หลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ     คนรุ่นใหม่ได้รับการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการมากขึ้นกว่าคนรุ่นเก่าเกือบทุกที่ในโลก โลกจะได้รับประโยชน์จากการใช้ความคิดและความคิดสร้างสรรค์ของสิ่งพิเศษทั่วโลกที่ขยายตัวนี้

2. เยาวชน ผู้หญิง และผู้สูงอายุส่วนมากยังไม่ได้รับโอกาสในตลาดแรงงาน

แม้จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากกับผลสำเร็จทางการศึกษาของผู้คนในปัจจุบัน และหลายคนยังพลาดโอกาสที่จะใช้ทักษะในตลาดแรงงาน ผลสำรวจจากทั่วทุกมุมโลก พบว่า บุคคลที่มีศักยภาพด้านทุนมนุษย์ที่อยู่ภายใต้การใช้งานบ่อย ๆ ยังไม่ถูกจัดกลุ่มอยู่หนึ่งในสามกลุ่มนี้ ได้แก่ ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากช่องว่างด้านเพศในการจ้างงาน แรงงานที่มีอายุมากที่ต้องการทำงานต่อและแรงงานอายุน้อยที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงานของเยาวชน หลายคนกำลังเริ่มหันมาหาโอกาสในการทำงานแบบดิจิทัลมากกว่าที่จะทำงานแบบเดิม

3. ปฏิรูปการศึกษาสำหรับคนรุ่นใหม่ และเพิ่มทักษะใหม่สำหรับแรงงานปัจจุบัน

ความคิดที่ว่า การศึกษาแค่เพียงครั้งเดียวทำให้คนมีทักษะในการทำงานตลอดชีวิตเป็นความคิดในอดีต เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการทำงานบนพื้นฐานทางความรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและโลกาภิวัฒน์มากขึ้น เนื่องจากเราไม่ทราบว่างานในวันพรุ่งนี้จะมีลักษณะอย่างไร ดังนั้น เราควรต้องเตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับกับทักษะในอนาคตและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นที่ต้องลงทุนในการปรับทักษะและเพิ่มทักษะให้แก่ประชากร 3 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานทั่วโลกที่ได้สำเร็จการศึกษาในระบบอย่างเป็นทางการเรียบร้อย ซึ่งเป็นความร่วมมือสำคัญระหว่างภาครัฐและเอกชน

4. นายจ้างและรัฐบาลทั่วโลกจำนวนมากมุ่งเน้นที่ความสามารถเฉพาะด้าน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  เป็นโอกาสพิเศษที่ทำให้ทุกคนมีงานที่น่าสนใจสร้างสรรค์และปลอดภัยมากขึ้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหลายประเทศที่มีการลงทุนในแรงงานที่มีทักษะสูงเฉพาะกลุ่มย่อยที่จำกัดของประชากรจะเพียงพอเพื่อผลักดันนวัตกรรมหรือการแข่งขัน

บนพื้นฐานของแรงงานราคาถูกจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการแสวงหาเพื่อเพิ่มทักษะแรงงานในประเทศของพวกเขา นี่คือสูตรสำเร็จสำหรับประเทศที่จะหยุดชะงักการเติบโตในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

แม้แต่ในประเทศที่สนใจเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถของทุนมนุษย์ผ่านระบบการศึกษาก็ไม่ได้นำเสนอทักษะที่มีคุณภาพและโอกาสในการทำงานที่มีความรู้ความชำนาญอย่างกว้างขวางให้แก่คนของพวกเขา ดังนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อาจเป็นโอกาสเดียวในการปรับเพิ่มวิชาชีพและรูปแบบการทำงานใหม่ที่น่าสนใจและปลอดภัยยิ่งขึ้น และเพื่อให้บรรลุถึงศักยภาพนี้ จำเป็นต้องทบทวนนโยบายทางการศึกษาและแรงงานทั้งหมดรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาทั่วโลกสำหรับการฝึกอบรมในที่ทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. องค์กรธุรกิจและสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องให้ความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อปรับทักษะและเพิ่มทักษะในการทำธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก

องค์กรธุรกิจต้องคิดใหม่ว่าควรมีบทบาทในฐานะผู้บริโภคของทุนมนุษย์ที่ “พร้อมทำ” บริษัทชั้นนำระดับโลกจำนวนหนึ่งเข้าใจถึงความจำเป็นนี้ และกำลังลงทุนในการเรียนรู้การปรับทักษะและการเพิ่มทักษะของพนักงานของตนเอง แต่บริษัทจำนวนมากยังคงมองว่า “คนเป็นค่าใช้จ่ายที่ควรจะลดลง” ซึ่งในระยะสั้นอาจดูเหมือนมีประสิทธิภาพหรืออาจจะคุ้มค่ากับบริษัท แต่ในระยะยาวจะเป็นการลดนวัตกรรมและลดความสามัคคีของคนในสังคม

องค์กรต้องเริ่มนึกถึงการปรับทักษะและการเพิ่มทักษะแรงงานของตนเพื่อการลงทุนและความรับผิดชอบต่อสังคม บทสนทนาเชิงลึกระหว่างนักวิชาการด้านการศึกษากับองค์กรธุรกิจจะเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าการฝึกอบรมผ่านสถาบันการศึกษาจะช่วยให้เกิดทักษะที่จำเป็นทางเศรษฐกิจ สร้างพรสวรรค์ด้านธุรกิจและถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับบุคคลทั่วไป

เขียนโดย
Till Leopold, Project Lead, Education, Gender and Work System Initiative, World Economic Forum
Vesselina Stefanova Ratcheva, Data Lead, World Economic Forum
Saadia Zahidi, Head of Education, Gender and Work System Initiative, Member of Executive Committee, World Economic Forum Geneva

ที่มา : https://www.weforum.org/agenda/2017/09/what-to-know%20about-work-jobs-human-capital-2017

 

 


Tags:


Writer

โดย วัชชิระ แก้วเทพ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่สนใจได้ที่...
เจ้าหน้าที่สนับสนุนธุรกิจ แผนกสนับสนุนธุรกิจ
สายงานธุรกิจ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทร : 0-2619-5500 ต่อ 429
แฟกซ์ : 0-2619-8070, 02-619-8096
mailto: [email protected]