เมื่อภาคส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจ ต่างปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤตการณ์สำคัญอย่าง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change มนุษย์จึงต้องร่วมกันค้นหาวิธีการที่จะช่วยรักษาสภาพสมดุลของโลกใบนี้
จากงานวิจัยริ่เริ่มบุกเบิกของนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเซ็นทรัล ฟลอริดา (University of Central Florida :UCF) และมหาวิทยาลัยฟลอริดา (Florida State University) แสดงให้เห็นถึงความสามารถในนำไปสู่การดำเนินการในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว โดยนักวิจัยสามารถที่จะกระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์แสงในกรอบโลหะอินทรีย์ (Metal-organic frameworks : MOF) ด้วยแสงสีน้ำเงิน (Blue light) และกระบวนการนี้เองที่จะทำการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงจากแสงอาทิตย์ (Solar Fuel) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก UCF : Fernando Uribe-Romo ได้อธิบายถึงการค้นพบนี้ว่าเป็นความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด (Breakthrough) เลยทีเดียว
เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นหาความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดนี้มาเป็นเวลานานหลายปี เคล็ดลับอยู่ที่การนำคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) มาตั้งค่าในการกำหนดทิศทางที่จะทำให้เกิดปฎิกริยาเคมี โดยสามารถทำได้กับรังสีของแสงอัลตราไวโอเล็ตในสัดส่วนเพียง 4% ของแสงที่ตกกระทบกับโลกที่มาจากดวงอาทิตย์เท่านั้น และวัสดุส่วนใหญ่ที่สามารถดูดซับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) ที่ถูกตั้งค่าเพื่อให้เกิดปฎิกิริยานี้มักจะเป็นวัสดุที่มีราคาแพงหรือไม่ก็เป็นวัสดุที่หาได้ยาก แต่อย่างไรก็ดีจากการค้นพบนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ประโยชน์จากโลหะไทเทเนียมที่ปลอดสารพิษในการเพิ่มโมเลกุลอินทรีย์ที่สามารถออกแบบให้ดูดซับสีของแสงได้ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก UCF : Fernando Uribe-Romo ได้ทำการจัดการให้วัสดุนั้นทำการดูดซับแสงสีน้ำเงิน (Blue light)
และยังกล่าวว่านี้อาจเป็นสิ่งที่จะเป็นไปได้สำหรับวัสดุที่จะใช้ในการวางไว้บนหลังคาซิ้งเกิล (Rooftop shingles) เพื่อใช้สำหรับการทำความสะอาดอากาศและสร้างพลังงานสำหรับใช้งานในบ้านของเจ้าของบ้านได้ ซึ่งเค้าตั้งใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัสดุสังเคราะห์ต่อเนื่องไปอีกและวิจัยถึงความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกันของคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) จะสามารถทำให้เกิดปฎิกิริยาแบบเดียวกันได้หรือไม่ต่อไป
ที่มา: http://inhabitat.com/energy-generating-artificial-plants-turn-greenhouse-gases-into-clean-air/