12 พฤษภาคม 2017

ปัญหาการจราจรติดขัดในปัจจุบัน ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหลีกเลี่ยงไม่ได้ แถมยังนำพาความหงุดหงิดใจมาพร้อมกันอีกด้วย เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงเกิดเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางวิทยาการดังกล่าว มาใช้สร้างแนวคิดระบบขนส่งแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้ชีวิตประจำวันในเมืองสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

“ลองจินตนาการถึงอนาคตที่มีรถยนต์แบบไร้คนขับ รถไฟและรถประจำทางสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างลงตัวผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่งจะทำให้ปัญหาการจราจรติดขัดนั้นหมดไป ลานจอดรถที่มีอยู่มากมายในตอนนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่สีเขียว” Cathis Elmsäter-Svärd, Chairwoman of Drive Sweden and a member of the Global Future Council on Mobility ได้กล่าวไว้ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้

ทำไมเราต้องคิดถึงเรื่องระบบการขนส่งในอนาคต

ปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองทั่วโลก หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะชี้ให้เห็นว่าผู้คนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในเมืองที่ไม่ใช่แค่เพียงต้องอยู่เพราะเป็นที่ทำงาน นั่นก็คือ พวกเขาต้องใช้เวลามากแค่ไหนในการรอรถประจำทาง หรือต้องเสียเวลาไปมากเท่าไหร่กับการจราจรที่ติดขัด

จะมีความแตกต่างให้เห็นอย่างไรบ้างสำหรับระบบขนส่งในเมืองในปี 2030

หากจะกล่าวถึงระบบขนส่งในเมืองในอนาคต ถึงตอนนั้นแทนที่เราจะเป็นเจ้าของรถหรือขับรถของเราเอง เราจะสามารถเรียกใช้บริการรถยนต์แบบไร้คนขับได้เมื่อใดก็ตามที่เราต้องการ โดยจะอยู่ในรูปแบบของ sharing-economy platform พวกเขาจะรับเราขึ้นรถและพาไปส่งยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จากนั้นก็รับคนอื่นต่อไป โดยระบบจะ ถูกควบคุมด้วย smart traffic management ซึ่งเป็นแนวคิดของ “Mobility as a Service” ซึ่งก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งในเมืองที่จะเห็นได้ในปี 2030 และนอกจากนี้การขนส่งสินค้าก็จะมีการพัฒนาขึ้นเช่นกัน เราอาจมีหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่สามารถส่งสินค้าโดยจะมีระบบเครือข่ายของการจัดส่งที่เชื่อมโยงถึงกัน ช่วยให้สามารถส่งสินค้าได้ในตำแหน่งที่สะดวกสำหรับผู้คนในการซื้อสินค้าของพวกเขา

ทั้งหมดนี้จะทำให้การคมนาคมขนส่งในเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปริมาณรถยนต์บนถนนลดน้อยลง คุณภาพอากาศดีขึ้น มลพิษทางเสียงน้อยลง ความต้องการพื้นที่สำหรับจอดรถก็จะน้อยลง และสามารถ ปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆได้ ซึ่งจะทำให้เมืองมีความน่าอยู่มากขึ้น

ระบบขนส่งอัตโนมัติแบบบูรณาการอย่างลงตัวมีลักษณะอย่างไร

ลองจินตนาการถึงแอพพลิเคชั่น ที่ให้ข้อมูลแบบ real time เกี่ยวกับ options ในการส่งพัสดุแบบถึงมือผู้รับอย่างรวดเร็ว เราจะทราบเวลา และเส้นทางในการเดินทาง รวมถึงทราบข้อมูลของ

สถานการณ์จราจร ณ เวลานั้น ทำให้สามารถคาดคะเนเวลาในการเดินทางได้ และเมื่อรถประจำทางหรือรถไฟ สามารถควบรวมเข้ากับ options นี้ คุณจะสามารถใช้แอพพลิเคชั่นนี้เพื่อเรียกรถหรือซื้อตั๋วรถไฟ สิ่งเหล่านี้จะสร้างความสะดวกในการใช้ชีวิตในเมืองของผู้คนได้เป็นอย่างดี

อะไรคืออุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากมีการนำแนวคิดนี้มาใช้

โดยธรรมชาติแล้วคนมักกลัวที่จะต้องทำอะไรเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี บางคนจะมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับระบบออนไลน์ที่รู้ได้อย่างง่ายดายว่าคุณอยู่ที่ไหน คุณจะไปที่ไหน รวมถึงความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ อาทิ ยานยนต์อัตโนมัติจะปลอดภัยจากการแฮ็กข้อมูลหรือไม่ ซึ่งผู้นำประเทศควรจะต้องให้การสนับสนุนที่จะพัฒนาระบบขนส่งในรูปแบบใหม่นี้ โดยส่วนมากมุมมองและนโยบายในอนาคต ยังคงเป็นเพียงทฤษฎีและคนมักกลัวที่จะเป็นผู้แรกในการเริ่มต้น พวกเขาต้องการเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่นมากกว่า

รัฐบาลควรจะต้องทำอะไร

เราจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในเรื่องของกฎระเบียบ รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะมีงบประมาณแบบปีต่อปี ดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องหาวิธีในการปลดล็อกการลงทุนที่จำเป็นในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ นอกจากนี้แต่ละเมืองยังต้องเผชิญกับความท้าทายในท้องถิ่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของพวกเขา สถานการณ์ที่ง่ายที่สุดก็คือเมื่อมีการสร้างพื้นที่ใหม่ในเมืองหรือสร้างเมื่องใหม่ ก็ถือเป็นโอกาสที่จะคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งในเมืองได้ด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้ว การพัฒนาเมืองมักจะหาวิธีปรับระบบการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่มีอยู่เดิม หรือปรับสภาพแวดล้อมในเมืองเพื่อตอบรับการใช้รถมากกว่าการเดิน

ปัจจุบันมีตัวอย่างของเมืองที่ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้วหรือไม่

ส่วนใหญ่แล้วยังคงเป็นเพียงความพยายามที่จะเริ่มทำมากกว่า เนื่องจากระบบขนส่งมักจะเป็นจุดที่ค่อนข้าง conservative ของหลายๆเมือง สิ่งที่มักจะเห็นในปัจจุบันก็คือเมืองที่มุ่งเน้นการดำเนินงานเฉพาะในบางส่วน สำหรับองค์กร Drive Sweden นั้น ได้ดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในประเทศ ทั้งในส่วนของรัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา ในการดำเนินการเพื่อพัฒนนาระบบขนส่งอัตโนมัติของประเทศ ซึ่งในปีหน้าจะกำหนดพื้นที่ในกรุง Stockholm และ Gothenburg เพื่อทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง โดยดำเนินการตามแนวทางของกระบบ Digitalization และ Automation สร้างห้องปฏิบัติการนโยบายซึ่งเราหวังว่าจะเป็นที่สนใจของนานาชาติ

ความตระหนักถึงการพัฒนาระบบขนส่งในเมืองในอนาคตไม่ใช่แค่เพียงการแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจะต้องพิจารณาหาจุดที่ได้ประโยชน์ร่วมกันในทุกภาคส่วน

ที่มา : www.weforum.org/agenda/2017/02/mobility




Writer

โดย สุธาสินี โพธิจันทร์

วิทยากรที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพและการมีส่วนร่วมของพนักงาน มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาแนะนำกับองค์กรภาครัฐและเอกชนมากว่า 15 ปี