ธุรกิจทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) หรือ VC ในไทยเกิดขึ้นมาราวปี 2530 โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างชาติ และนักลงทุนต่างประเทศ ต่อมารัฐบาลไทยเริ่มเห็นความสำคัญ จึงมีการจัดตั้งกองทุน VC ขึ้น แต่กระนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นที่ตื่นเต้นอะไรมากนัก จนกระทั่งกระแส Tech Startup เริ่มก่อร่างสร้างตัวชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับการเติบโตของ Internet และ Smart Device
แม้ว่า Startup รุ่นแรกจะวิ่งเข้าหา VC ต่างชาติเป็นหลัก หรือไป Pitch งานในเวทีต่างประเทศก็ตาม แต่ในระยะหลังเริ่มมี VC สัญชาติไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ 2 กลุ่มสำคัญที่มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งในสายธนาคาร (Banking) อาทิ ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กสิกรไทย และสายโทรคมนาคม (Tel. Co.) อาทิ กลุ่มทรู กลุ่ม AIS และกลุ่ม DTAC จนเป็นที่มาของการเรียก VC กลุ่มนี้ว่า CVC หรือ Corporate Venture Capital แล้ว VC ทำอะไรบ้างในการพิจารณาลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ที่มีไอเดียดี เด่น และโดน สรุปได้ดังนี้
- ค้นหาโครงการที่น่าสนใจ พิจารณาความเป็นไปได้ และความน่าสนใจของแผนธุรกิจ
- พูดคุยกับ Entrepreneur เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ความน่าสนใจในการเข้าร่วมลงทุน
- ยื่นข้อเสนอเบื้องต้น เจรจาต่อรอง สรุปเงื่อนไขและจัดทำข้อตกลงเบื้องต้น
- ทำDue Diligence วิเคราะห์ผล และปรับปรุงเงื่อนไขตามผลของ Due Diligence
- VC แสดงความประสงค์เข้าร่วมลงทุนอย่างเป็นทางการ
- Entrepreneur ตอบรับการเข้าร่วมลงทุนของVC
- เจรจาตกลงเพื่อร่างสัญญาร่วมลงทุนที่จะมีผลผูกพันตามกฎหมาย และลงนามในสัญญา
- VC เข้าร่วมลงทุนตามเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญา
- ถอนการลงทุน (EXIT)
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจเทคโนโลยี การเตรียมพร้อมให้เข้าใจในประเด็นทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน การจัดการองค์กรและกฎหมาย เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ไม่ควรจะละเลย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้รู้เข้ามาช่วยคิดพิจารณา