29 กุมภาพันธ์ 2016

digital

รูปแบบการทำธุรกรรมการเงินของโลกปัจจุบันเปลี่ยนไปกว่าแต่ก่อน จากเดิมที่ต้องรอธนาคารเปิดให้บริการจึงจะสามารถทำธุรกรรมการเงินได้ กลายเป็นผู้ใช้บริการสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามาบริหารจัดการการดำเนินงานของภาคธุรกิจให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้รับบริการมีการตัดสินใจได้ดีและรวดเร็วขึ้น ตลอดจนช่วยหาโอกาสและปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรภาคธุรกิจมีความเข็งแกร่งสามารถตอบสนองตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น อันเป็นการเสริมศักยภาพของระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตขึ้นด้วย ไม่เว้นแม้แต่ระบบเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่ง Zahra Niazi และ Beniamino Savonitto ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต้องการธุรกิจด้านการเงินแบบดิจิทัลของประเทศกำลังพัฒนา ใน World Economic Forum ดังนี้

โมบาย มันนี่ หรือการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลบนมือถือและการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัล เป็นแนวทางของสินค้าและบริการสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการใช้บริการ ซึ่งเหมาะกับผู้บริโภคที่ไม่มีบัญชีธนาคาร (unbanked) และเข้าไม่ถึงการบริการที่มีแนวโน้มใช้บริการ (underbanked) ถึงแม้ว่านวัตกรรมธุรกิจด้านการเงินแบบดิจิทัลจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึง รวมทั้งอัตราการใช้สินค้าและบริการยังอยู่ในระดับต่ำ

การจัดการทางด้านนวัตกรรมสำหรับผู้มีรายได้ต่ำ เริ่มต้นด้วยการสนับสนุนจาก Bill & Melinda Gates Foundation ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนการวิจัย โดยความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการธุรกิจด้านการเงินกับนักวิจัย เพื่อหาวิธีปรับปรุงแก้ไข ทั้งเรื่องการออกแบบและการส่งมอบสินค้าและบริการผ่านระบบดิจิทัล โดยการสุ่มประเมินและทดสอบสินค้าและบริการ ในด้านจุดเด่นของสินค้าและบริการ การสร้างแคมเปญที่จะช่วยให้ลูกค้าที่ unbanked และ underbanked ได้รับประโยชน์ให้มากที่สุด ส่งผลให้ลูกค้าใช้บริการธุรกิจด้านการเงินผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มน การทดสอบนี้จะออกแบบเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถแก้ไขปัญหา สนับสนุน ส่งเสริมด้านการใช้งาน และพฤติกรรมด้านการเงินที่สมบูรณ์สำหรับผู้ใช้บริการ

การชำระผ่านระบบดิจิทัลและการโอนเงินจากภาครัฐบาลสู่ประชาชน (G2P) ควรพัฒนาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นลำดับแรก แต่ผู้ให้บริการสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายขนาดใหญ่สำหรับลูกค้าใหม่ เช่น ความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับผู้ให้บริการด้านการเงินและโรงงานสิ่งทอในประเทศบังคลาเทศ ดำเนินการทดสอบวิธีการโอนเงินเดือนพนักงานจากระบบจ่ายเงินสดเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารออมทรัพย์ (E-payroll) เพื่อช่วยขยายฐานผู้ใช้บริการผ่านระบบดิจิทัล ผู้ให้บริการควรเพิ่มรูปแบบการเข้าถึงสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายเฉพาะกลุ่มประชากร เช่น ผู้หญิง เกษตรกร และเจ้าของธุรกิจ

ประมาณร้อยละ 50 ของผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนา ยังไม่สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการทางการเงิน ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้ให้บริการที่จะต้องออกแบบสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้หญิงให้มากขึ้น จากการศึกษาในประเทศเคนยา พบว่า การลดค่าธรรมเนียมใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการยังคงเป็นแนวทางที่ถูกนำมาใช้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากผู้หญิงเป็นผู้มีอำนาจต่อรองในครัวเรือนค่อนข้างน้อยด้วย ทำให้พบข้อเท็จจริงว่า การเพิ่มช่องทางให้เข้าถึงสินค้าและบริการด้านการเงินง่ายขึ้น ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้สินค้าและบริการด้านการเงินมากขึ้น

การทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าเพื่อการตอบสนองบริการลูกค้าที่มีรายได้ต่ำเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้มีรายได้ต่ำมีสถานะทางการเงินค่อนข้างซับซ้อนมากกว่าคนมีรายได้สูง และคนที่มีรายได้สูงมีความสามารถในการจ่าย กรณีมีค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากที่วางแผนไว้  มีรายได้เสริม และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จึงเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนั้นการออกแบบสินค้าและบริการที่ช่วยให้คนที่มีรายได้ต่ำสามารถจัดการกับสถานะทางการเงินที่ซับซ้อน ต้องเป็นสินค้าและบริการใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง

สิ่งที่ได้จากความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการธุรกิจด้านการเงินกับนักวิจัย จะช่วยให้ผู้ให้บริการเข้าใจถึงแนวทางการทำงานเพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินค้าและบริการที่ออกแบบเฉพาะสำหรับคนมีรายได้น้อย และได้เรียนรู้ว่า ‘ธุรกิจที่มีความเข็งแกร่ง จะต้องมีสินค้าและบริการที่ดี ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ที่มา: https://agenda.weforum.org/2015/07/why-developing-countries-need-better-digital-financial-services/




Writer

โดย นัยนา หอมจันทร์

เจ้าหน้าที่สนับสนุนธุรกิจ แผนกสนับสนุนธุรกิจ
สายงานธุรกิจ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ