26 ธันวาคม 2016

10skill

อนาคตที่กำลังจะมาถึงมีความเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งจะนำพาเทคโนโลยีต่างๆ มาพร้อมกัน มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ ย่อมต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้เรากำลังอยู่กับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแห่งอนาคตที่ทุกคนจะมีติวเตอร์เป็นหุ่นยนต์บน cloud-based ผ่านแท็บเล็ตซึ่งรวบรวมทุกสิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ หลักสูตรระยะสั้น 6 สัปดาห์หรือสถาบันการศึกษาต่างก็ต้องใช้รหัสเพื่อการเข้าถึง โลกของการศึกษาจะเป็นระบบดิจิตอลและระบบรายบุคคลเพื่อให้คุณได้เรียนรู้จากแล็ปท็อปของคุณจากทุกมุมโลกที่คุณต้องการ

มีปัญหาสำคัญจากวิสัยทัศน์นี้คือ การพลาดโอกาสที่จะทำให้นักเรียนได้รู้จักการเรียนรู้ที่จะประสบความสำเร็จ

งานใหม่ๆ ต้องการทักษะใหม่ๆ

 

จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้ มหาวิทยาลัยและบริษัทต่างต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากทั้งเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น ระบบการขนส่งอัตโนมัติเพื่อเปลี่ยนสังคมในวงกว้าง การเติบโตของชนชั้นกลางทั่วโลก ในการประชุม World Economic Forum มีประเด็นสำคัญจากหัวข้อ “Future of Jobs” ที่บอกว่าแนวโน้มเหล่านี้กำลังปฏิรูปแรงงาน คาดว่า 10 อันดับต้นๆ จากรายงานดังกล่าว จะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีของการทำงาน จะมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น เน้นการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น และแน่นอนว่ามีการบูรณาการมากกว่าแต่ก่อน ดูอย่างเช่นบริษัท Google ที่มีการจ้างนักจิตวิทยาช่วยโปรแกรมเมอร์ออกแบบ fonts และการจ้างนักมานุษยวิทยาเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีคิด และพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น

10 ทักษะที่จำเป็น

ปี 2020

ปี 2015

1.Complex Problem Solving: การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

1.Complex Problem Solving: การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

2. Critical Thinking: การคิดวิเคราะห์

2. Coordinating with Others: การทำงานร่วมกัน

3. Creativity: การคิดสร้างสรรค์

3. People Management: การจัดการบุคลากร

4. People Management: การจัดการบุคลากร

4. Critical Thinking: การคิดวิเคราะห์

5. Coordinating with Others: การทำงานร่วมกัน

5. Negotiation: การเจรจาต่อรอง

6. Emotional Intelligence: ความฉลาดทางอารมณ์

6. Quality Control: การควบคุมคุณภาพ

7. Judgment and Decision Making: การประเมินและการตัดสินใจ

7. Service Orientation: การมีใจรักบริการ

8. Service Orientation: การมีใจรักบริการ

8. Judgment and Decision Making: การประเมินและการตัดสินใจ

9. Negotiation: การเจรจาต่อรอง

9. Active Listening: การฟังเชิงรุก

10. Cognitive Flexibility: ความยืดหยุ่นทางความคิด

10. Creativity: การคิดสร้างสรรค์

ปัญหาคือ จากทุกทักษะที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่ง่ายเลยถ้านักเรียนจะเรียนรู้เพียงคนเดียว หรือเรียนผ่านระบบออนไลน์ หรือปราศจากความพยายาม นักเรียนต้องมีการฝึกปฏิบัติ ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ต้องเรียนรู้ที่จะคิดที่ซับซ้อน มีการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และมีการจัดการทางอารมณ์อย่างชาญฉลาด ทั้งปัญหาเล็กและปัญหาใหญ่

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้จะนำเราไปสู่ Mega-Trend ใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนถ่ายที่รวดเร็ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าแนวโน้มทางเทคโนโลยีและทักษะต่างๆ ข้างต้น จะเปลี่ยนต่อเนื่องไปมากกว่า 5 ปีหรือไม่ การปรับตัวเป็นโจทย์สำคัญที่ต้องทำของวันนี้ แรงงานทุกระดับต้องเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา

ดังนั้น มหาวิทยาลัยในวันข้างหน้าจะมีลักษณะเช่นไร และอะไรคือสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องทำ

มหาวิทยาลัยกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

สิ่งแรก มหาวิทยาลัยในอนาคตต้องมุ่งไปที่การให้ความรู้ความเข้าใจและทักษะการข้ามกลุ่มสาระวิชา มีการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน และการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน นักเรียน นิสิต นักศึกษาจะเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติภาคสนาม ยกตัวอย่างเช่น การฝึกงาน การประยุกต์จากห้องปฏิบัติการ ทั้งหลักสูตรการสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชา (STEM Courses) และที่ไม่ใช้หลักสูตร STEM

รูปแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการเรียน การสอนในสถานศึกษาสลับกับการไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง จะแพร่กระจายไปหลายประเทศรวมถึง ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา

อีกรูปแบบที่เป็นรูปแบบใหม่ เช่น การทำ Workshop จะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย อย่างเช่น หลักสูตร cross-disciplinary design workshops ของสแตนฟอร์ด หัวข้อ วิธีการปรับปรุงระบบการให้บริการด้านสุขภาพ (ทางการแพทย์) ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ The Institute for Design and Public Policy คิดขึ้นโดย  The Rhode Island School of Design และ US Department of State’s Bureau of Educational and Cultural Affairs ทำ Workshop ร่วมกัน

มหาวิทยาลัยในอนาคตจะมุ่งไปที่ “เรียนรู้ที่จะเรียน” (Learning to Learn) การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องทำตลอดชีวิต และสำหรับก้าวแรกสู่การเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในวันนี้ ทุกคนต้องมีเครื่องมือเพื่อใช้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต นั่นคือ “ความอดทน” หรือ “ความตั้งมั่นต่อการเรียนรู้” ดังนั้น บรรดาครูผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้าที่ให้ความรู้ทางการศึกษาจะต้องผลักดันให้นักเรียนสามารถพัฒนาให้เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายนอกห้องเรียนได้

มหาวิทยาลัยอาจช่วยให้คำแนะนำแนวทางในการทำวิจัยมากขึ้น ให้การสนับสนุนให้นักเรียนทำวิทยานิพนธ์ หรือทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ หรือพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ปลดล็อคข้อบังคับ และพยายามปลูกฝังทักษะพื้นฐาน เช่น วิธีการหาแหล่งข้อมูล การหาผู้เชี่ยวชาญ และกำหนดคำถามอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น การให้ความสนใจในเรื่องสารสนเทศศาสตร์และนำมาใช้ในหลายสาขาดังกล่าว

 

เทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนแต่ไม่ทั้งหมด เป็นเพียงเครื่องมือช่วยครูผู้สอนในการติดตามประเมินผลนักเรียนแต่ละคนเท่านั้น ซึ่งบริษัทต่างๆ มีการพัฒนาสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่า ทักษะหลักที่อนาคตต้องการ คือการมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกับคนรอบข้างนั่นเอง

มหาวิทยาลัยแห่งอนาคตอยู่ที่นี่แล้ว

William Gibson กล่าวว่า “อนาคตอยู่ที่นี้แล้ว” แต่คำกล่าวนี้ก็ยังไม่แพร่หลายมากนัก หลายมหาวิทยาลัยมีการนำเสนอแนวทางต่างๆ ข้างต้นแล้ว และส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทางสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมา สมัยนั้นคือการศึกษาในห้อง Lab ของวิชาสังคมศาสตร์ ซึ่งมีการสอนให้นักเรียนใช้คำถามเพื่อการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดแบบย้อนทวน ซึ่งก็เหมือนกับวิธีการใหม่ที่ออกแบบในลักษณะของการทำ workshop นั่นเอง

แม้ว่ามหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่ได้ใช้รูปแบบดังกล่าวทั้งหมด บางมหาวิทยาลัยอาจจะไม่สามารถทำได้ หรือไม่มีความพร้อมที่จะใช้กับนักเรียนทุกคนได้อย่างทั่วถึง แต่งานข้างหน้าของทุกมหาวิทยาลัย คือต้องทำให้หลักการของการเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และเราต้องไม่เพียงแต่สอนการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและการคิดแบบสร้างสรรค์ให้กับนิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ถ้าเราเดินหน้าไปพร้อมๆ กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เราต้องทำให้นิสิต นักศึกษาทุกคนมีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงาน ศิลปิน หรือผู้ประกอบการก็ตาม เครื่องมือทั้งหลายที่เราต้องการนั้นอยู่ที่นี่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะนำเครื่องมือไปถูกที่ถูกคนหรือไม่นั่นเอง

ที่มา : https://www.weforum.org/agenda/2016/08/10-skills-you-need-to-thrive-tomorrow-and-the-universities-that-will-help-you-get-them/




Writer

โดย สุภารัตน์ จันทร์เจริญ

หัวหน้าแผนกสัมมนา แผนกสัมมนา
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ