5 ธันวาคม 2016

gig

หากพิจารณาถึงกระแสความก้าวหน้าของโลกปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับองค์กร และมีความเป็นอิสระกำลังได้รับความนิยมจากผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ “Gig Economy” จึงถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย ที่ไม่ว่าใครก็สามารถมีส่วนร่วมกับระบบเศรษฐกิจนี้ได้ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันมากกว่า 1 ใน 4 ของชาวสหรัฐฯ ประกอบอาชีพอิสระในระบบเศรษฐกิจแบบ Gig อย่างเป็นทางการและในอนาคตประชาชนในทุกช่วงวัยและทุกเชื้อชาติจะเป็นอิสระจากการทำงานประจำวัน 9.00-17.00 นาฬิกาสามารถทำงานอย่างอิสระและมุ่งเน้นในตัวเอง ซี่งทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินชีวิตในรูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบ Gig จากการรายงานของ Spera ซึ่งเป็นผู้จัดหาเครื่องมือและทรัพยากรสำหรับผู้ทำงานอาชีพอิสระและผู้ประกอบการ ระบุว่า มีตัวเลขสถิติที่น่าประหลาดใจที่เกี่ยวกับหรือกล่าวอ้างถึงระบบเศรษฐกิจแบบอิสระเสรี หรือ Freedom Economy ซึ่งน่าสนใจและอาจทำให้คุณตัดสินใจที่จะออกจากระบบการทำงาน Office ไปสู่การทำงานแบบอิสระเสรีบ้างก็ได้

Gig/Freedom/Freelance Economy Statistics

สถิติของประเทศสหรัฐฯ (U.S. Statistics)

หนึ่งในสามของอเมริกันเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระและเป็นส่วนที่สำคัญของตลาดแรงงาน

  • ในปี 2015 มีคนอเมริกัน เกือบ 54 ล้านคนที่ทำงานอิสระหรือมากกว่า 33% ของกำลังแรงงานสหรัฐฯ และจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว 700,000 คน
  • นักวิจัยโครงการ ระบุว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้าประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของสหรัฐฯ จะย้ายเข้าสู่ Gig Economy
  • ประมาณ 1 ใน 12 ของครัวเรือนสหรัฐหรือมากกว่า 10 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของรายได้มาจากการทำงานอิสระ

สถิติโลก (Global Statistics)

ไม่เพียงแต่ประเทศสหรัฐฯ เท่านั้นที่กำลังเผชิญกับระบบเศรษฐกิจแบบ Gig แต่ปรากฎการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในหลายแห่งบนโลกใบนี้

  • มีผู้ประมาณการว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้ากว่าครึ่งหนึ่งของประชากรวัยทำงานให้อังกฤษจะทำงานในลักษณะ self-employed
  • ในปี 2012-2013 ในสหภาพยุโรปมีอัตราแรงงานอิสระเพิ่มขึ้น 45%
  • แรงงานอิสระเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในสหภาพยุโรป
  • แรงงานอิสระในอินเดียซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกซึ่งสร้างรายได้ถึง 15 ล้านบาท จะเพิ่มขึ้น 40% ด้วยงานลักษณะ freelance

ผลกระทบทางเศรษฐกิจของแรงงานอิสระ

ไม่เพียงแต่จำนวนของแรงงานอิสระที่กำลังเติบโตขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมด้วย จากรายงานปี 2014 ระบุว่า ตลาด online ช่วยให้แรงงานอิสระสร้างรายได้ถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

มิลเลเนี่ยนในระบบเศรษฐกิจแบบ Gig

ถึงแม้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบ Gig จะครอบคลุมทุกช่วงวัยและมิลเลเนี่ยนเป็นสัดส่วนที่มากสุดในนั้น

  • โดยมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรกลุ่ม Millennials เป็นแรงงานอิสระ
  • ตั้งแต่ปี 2015 ประชากรกลุ่ม Millennials จะเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในตลาดแรงงาน
  • 32% ของกลุ่ม Millennials มุ่งหวังว่างานในอนาคตที่เขาจะทำต้องมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาทำงานสูง

แรงผลักดันที่สำคัญคือ เทคโนโลยี

เทคโนโลยีช่วยทำให้การเข้าสูระบบเศรษฐกิจแบบ Gig ง่ายขึ้น อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ จะทำให้สามารถทำงานจากโต๊ะทำงาน สังคมออนไลน์ที่สามารถติดต่อผู้คนได้ทั่วโลก และยังมีตลาดออนไลน์ของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่สามารถค้นหางานได้ง่ายขึ้น

  • 87% ของคนกลุ่ม Millennials บอกว่า โทรศัพท์ หรือสมาร์ทโฟนอื่นๆ ไม่เคยห่างกายทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
  • ปัจจุบันเกือบครึ่งหนึ่งหรือ 45% สมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เมื่อเทียบกับคนรุ่นเก่าที่ 18%
  • 41% ของประชากรบางส่วนมีการดาว์โหลด applications เพื่อมาใช้ในการทำงาน และภายใน 12 เดือนมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อ applications นั้น
  • 80% ใช้ social media ในการหางาน

การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงสู่อาชีพอิสระ

มีความท้าทายที่ต้องเผชิญในระบบเศรษฐกิจแบบอิสระนี้ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการตลาด กระแสเงินสด การบริหารธุรกิจและค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ

  • กว่า 63% ใช้ไปกับการทำการตลาดเพื่อให้ธุรกิจเติบโต
  • 57% ระบุว่าประสบกับประเด็นเรื่องกระแสเงินสดระหว่างปี
  • 64% ใช้ระบบ software ในการบริหารจัดการ
  • 70% ใช้ระบบ software ในการติดตามทางการเงิน (ธุรกรรมทางการเงิน)
  • 40% นิยมให้มีการชำระเงินผ่านระบบเงินฝาก (eCheck, PayPal) โดยตรงมากกว่าการชำระเงินในรูปแบบอื่นๆ

สรุป

ผู้คนล้านคนที่อยู่บนโลกใบนี้มีทางเลือกในการทำงานของตนเองมากขึ้น มีความเป็นอิสระมากขึ้น เขาเหล่านั้นกำลังเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตระบบเศรษฐกิจแบบ Gig ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะมีบทบาททำให้การเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวง่ายกว่าในอดีต

ความท้าทายทำให้ผู้คนค้นหารางวัลของระบบเศรษฐกิจแบบ Gig ที่อาจจะมึความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตมากกว่าโดยชดเชยกับความเป็นอิสระที่เขาไม่สามารถได้รับในโลกของการทำงานในระบบธุรกิจ

…………………………………………………

ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เขียน

เครื่องมือทำมาหากินที่ใช้ในการสื่อสารที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาตลอดช่วงกว่า 3 ทศวรรษ ได้กลายเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจชิ้นใหม่ ซึ่งกระตุ้นและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจอย่างมหาศาล เควิน เคลลี (Kevin Kelly) อธิบายได้อย่างเห็นภาพในหนังสือ New Rules for the New Economy: 10 Radical Strategies for a Connected World ซึ่งถูกตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1999 ไว้ว่า “ปัจจุบัน พวกเราอยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และเครือข่ายการสื่อสารที่ขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง” เคลลี่กล่าวเสริมว่า “การสื่อสารไม่ใช่แค่ภาคอุตสาหกรรมหนึ่งของระบบเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่การสื่อสารคือระบบเศรษฐกิจในตัวเอง”

aaa

นอกจากนี้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยจับคู่อุปสงค์และอุปทานแบบเรียลไทม์ นิตยสาร Wired ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมบริการที่เราอาจไม่เคยคาดคิดมาก่อน แอพพลิเคชันอย่าง Uber, Lyft และ Sidecar ทำให้เราสามารถขึ้นรถของคนแปลกหน้าได้อย่างไม่ต้องรู้สึกเขินอาย Airbnb เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านและห้องพักรับคนแปลกหน้าเข้ามาอยู่อาศัยชั่วครั้งชั่วคราว DogVacay และ Rover ทำให้เราสามารถนำสุนัขอันเป็นที่รักไปฝากเลี้ยงไว้กับคนในละแวกบ้าน หรือ Feastly ที่เปิดโอกาสให้ได้ไปรับประทานอาหารที่บ้านของคนที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันมาก่อน โดยระบบสามารถจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วยการตรวจสอบประวัติของผู้ให้และใช้บริการ และสร้างช่องทางให้ทั้งสองฝ่ายสื่อสารกันก่อนตกลงรับบริการผ่านทางสมาร์ทโฟน

ฉะนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่ผู้คนนับล้านทั่วโลกจะหลั่งไหลและเลือกเข้าสู่ตลาดแรงงานอิสระ ส่งผลให้ Gig Economy มีอัตราการเติบโตที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยการอาศัยเทคโนโลยี ที่สร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจแห่งอนาคตไม่น้อย และเป็นอาชีพที่คนรุ่นหลังจับตามอง

หมายเหตุ: ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป รวมไปรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Gig Economy ซึ่งหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยงานชนิดที่เป็น Part time, Freelance Self-employed หรืองานที่รับมาจากคนอื่นอีกต่อเป็นลักษณะ Outsource ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบแรงงานทั่วโลกในอนาคต

ที่มา: http://smallbiztrends.com/2016/07/20-surprising-stats-freelance-economy.html

 

 

 




Writer

โดย สุภาพร เตวุฒิธนกุล

จบปริญญาตรีและโทด้านรัฐศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบการณ์ทำงานที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติกว่า 10 ปี ปัจจุบันตำแหน่งนักวิจัยด้านการจัดการองค์กร ฝ่ายวิจัย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ