6 พฤศจิกายน 2015

STEEP-Social-Pattareeya

คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “อายุเป็นเพียงตัวเลข” ..เป็นเช่นนั้นจริงหรือ? แต่ในความเป็นจริง ในโลกของตลาดแรงงาน คนทำงานที่มีอายุมากขึ้นต้องเผชิญกับความกลัวที่ว่า คนทำงานที่อายุน้อยกว่าจะมาแย่งงานจากพวกเขา แต่สิ่งเหล่านี้เป็นความกังวลจริงๆ หรือไม่? และจริงหรือที่ยิ่งอายุมากขึ้น จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพลดลง?

Johannes Koettl ได้กล่าวใน World Economic Forum ถึงอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การทำงานประสิทธิภาพลดลง ไว้ว่า…

คำตอบของคำถามนี้ เป็นนัยสำคัญที่ดีในการรักษาคนทำงานที่มีอายุมากขึ้นให้ยังคงอยู่กับองค์กร (ตามที่ผู้เขียนได้เคยถกกับ Wolfgang Fengler มาก่อนหน้านี้) ถึงแม้เราจะไม่สามารถมีอายุยืนยาว หรือมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น แต่เราก็มีศักยภาพมากพอที่จะทำงานต่อไปได้

แต่สิ่งนี่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีทักษะความสามารถที่เหมาะสมกับงานขององค์กร ค่อนข้างชัดเจนว่าสภาพร่างกายเราจะช้าลง และอ่อนแอลงเมื่อเราอายุมากขึ้น แล้วสมองหล่ะ? แล้วถ้าทั้งร่างกายและสมองของเราอ่อนแอลง ยังจะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับนายจ้างหรือไม่?

ไม่จำเป็นเสมอไป ที่ทักษะและความสามารถของคนทำงานที่มีอายุมากขึ้น จะลดลง และลูกจ้างที่มีผลงานดี จะทราบว่า ควรทำอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบให้มากกว่าคนอื่นในยุคที่คนทำงานมีอายุเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น

สิ่งแรกคือ ในขณะที่ความแข็งแรงทางด้านร่างกายอาจถดถอยลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ยิ่งต้องรักษาร่างกายให้มีประสิทธิภาพได้อย่างน้อยเท่าที่มันควรจะเป็นในมาตรฐานทั่วไป ตัวอย่างจากประชากรทั่วไป เช่น ร่างกายจะแข็งแรงที่สุดถึงอายุ 35 ปี แล้วจะถดถอยอย่างรวดเร็ว จากงานวิจัยแสดงว่า สำหรับพนักงานที่ทำงานอยู่ในสายการผลิตยังคงทำงานได้อย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 65 ปี

ประการทิ่สอง เป็นสิ่งที่น่าทึ่งไปกว่านั่นคือ ประสิทธิภาพของสมองในบางเรื่องที่ลดลง จะสามารถชดเชยกับบางเรื่องที่เพิ่มขึ้น กับความจริงพื้นฐานและการรับรู้ในระดับที่สูงขึ้น เห็นได้ชัดจากการประมลผลข้อมูล และความสามาถในการจดจำจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ก็มีการทำงานของสมองในด้านอื่น เช่น การตีความ ภาษา และการพูดที่จะพัฒนาขึ้นไปตามอายุ สิ่งสำคัญคือ สำหรับการทำงานบางที่ลดลง เช่น การได้ยิน ความรู้สึก และการมองเห็น มีวิธีที่แก้ไขได้ง่ายและราคาไม่แพง

แต่ก็มีข้อถกเถียงว่าความท้าทายที่สำคัญของคนที่มีอายุมากขึ้น คือ ประสบการณ์ ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้จากรูปแบบการทำงานของสมอง จากภาพด้านล่างแสดงให้เห็นถึงการทำงานของสมองส่วนหน้า กับเรื่องของหน่วยความจำ จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มด้วยกัน คือ คนหนุ่มสาว (Young) ผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำ (Old-low) และผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง (Old-high)

กลุ่ม Young โดยพื้นฐานแล้วจะใช้สมองซีกขวา (ตามที่เรารู้กันดีว่าเป็นสมองที่ทำงานในเรื่องเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล)

กลุ่ม Old-Low พยายามที่จะใช้สมองแบบที่คนหนุ่มสาวเป็น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสมองของคนที่มีอายุมากขึ้น ไม่สามารถประมวลผลได้เร็วเท่ากับคนที่มีอายุน้อยกว่า

ในทางตรงกันข้ามกลุ่ม Old-high ใช้วิธีการที่ต่างกันนั่นคือ พวกเขาได้เชื่อมโยงการใช้สมองทั้ง 2 ซีกไปด้วยกัน

ภาพ: ความแตกต่างของแต่ละกลุ่มการวิจัย: กลุ่ม Old-high ใช้งานสมองทั้ง 2 ซีก

koettl_fig_1_sept_1

ที่มา: Taken from S. M. Daselaar and R. Cabeza, “Age-Related Changes in Hemispheric Organization,” in Cognitive Neuroscience of Aging: Linking Cognitive and Cerebral Aging, ed. R. Cabeza, L. Nyberg, and D. C. Park (New York: Oxford University Press, 2004).

ความสำเร็จของคนที่มีอายุมากขึ้น มีการจัดการการใช้สมองได้หลากหลายได้ดีเช่นเดียวกับคนที่มีอายุน้อยกว่า การตีความของคนที่มีอายุมากกว่า ซึ่งมีฐานความรู้ที่มากกว่านั้น จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมา เมื่อเขาประมวลผลข้อมูลใหม่ๆ ที่เข้ามา แทนที่จะพิจารณาถึงข้อมูลใหม่ที่เข้ามาทั้งหมดเพื่อใช้การตัดสินใจ เขาอาจจะใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยไม่สนใจข้อมูลใหม่บางตัว ซึ่งในท้ายที่สุดก็สามารถทำงานได้ดพอๆ กับคนที่มีอายุน้อยกว่า ถึงแม้คนที่มีอายุน้อยกว่าจะสามารถประมวลผลได้เร็วกว่า แต่คนที่อายุมากกว่าก็รู้ทางลัดที่ในที่สุดแล้วเขาสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่ควรรับทราบคือ ไม่จำเป็นเสมอไปที่คนอายุมากกว่าจะทำงานได้ด้อยกว่า พวกเขาเพียงแค่ทำในสิ่งที่ต่างออกไป นอกจากนี้ผู้ที่มีอายุมากกว่ายังมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ทักษะทางสังคมและอารมณ์ โดยทั่วไปแล้ว พวกเขาทำได้ดีกว่าคนอายุน้อยกว่าในเรื่องการควบคุมความรู้สึกในด้านดี การจัดการความเห็นต่าง และความมั่นคงทางอารมณ์ ในขณะที่ผู้มีอายุน้อยกว่าทำได้ดีกว่าในเรื่องการเปิดสิ่งใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และสังคมใหม่

สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารที่มีศักยภาพย่อมตระหนักถึงความท้าทายในยุคที่แรงงานหรือพนักงานมีอายุเพิ่มมากขึ้น ในประเทศเยอรมัน นายจ้างบางแห่งได้สร้างทีมงานที่ผสมผสานไปด้วยคนที่มีอายุต่างกัน หน้าที่งานที่เฉพาะเจาะจงไปตามอายุ และการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานสำหรับพนักงานที่มีอายุมากขึ้น และสร้างความชำนาญให้พนักงานที่มีอายุมากขึ้น (หรือบางครั้งก็รวมถึงพนักงานที่มีอายุน้อย) มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น อีกนัยหนึ่ง คือ การก้าวเข้าสู่ยุคที่แรงงานมีอายุเพิ่มขึ้นก็นับเป็นความท้ายทายในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ แต่ผู้บริหารหรือนายจ้างที่มีศักยภาพ จะสามารถก้าวข้ามความยากลำบากนี้ไปได้ด้วยการใช้ประโยชน์จากทักษะใหม่ๆ หรือเส้นทางลัดที่จะได้จากแรงงานที่มีอายุมากขึ้นนั่นเอง

แหล่งที่มา : https://agenda.weforum.org/2015/09/are-older-workers-less-productive/

 




Writer

โดย ภัทรียา กลางณรงค์

หัวหน้าแผนกสมาชิกสัมพันธ์และขายสื่อวิชาการ
ฝ่ายรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ