เปิดโฉม10 แนวโน้ม ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรเอเชีย (Global Trends and the Key Drivers in Agribusiness Development)
ผู้เขียน: ชนิตา ภระมรทัต หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
แนวโน้มสำคัญของธุรกิจการเกษตรของเอเชียจะมีอยู่ทั้งสิ้น 10 ประการ
คือใจความสำคัญที่ได้รับจากหัวข้อสัมมนา “Global Trends and the Key Drivers in Agribusiness Development” แนวโน้มและปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจการเกษตรในระดับสากล ซึ่งบรรยายโดย “ศาสตราจารย์ราล์ฟ คริสตี้” ผู้อำนวยการสถาบันนานาชาติคอร์เนล เพื่ออาหาร การเกษตร และการพัฒนา ทั้งเป็นอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อุธุรกิจเกษตรของเอเชีย 10 เรื่องใหญ่ๆ มีดังต่อไปนี้
- กระแสโลกาภิวัตน์ เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหน หรืออยู่ตรงไหน ก็สามารถรับประทานอาหารจากชาติอื่น ๆได้ด้วยโลกปัจจุบันนั้นไร้พรมแดน ทำให้ข่าวสารและธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มตลาดและผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว การเดินทางของผู้คนเป็นไปอย่างสะดวกสบาย การขนส่งมีทางเลือกที่หลากหลายและรวดเร็วมากขึ้น ระบบการติดต่อสื่อสารก็เชื่อมโยงตลาด ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ซูเปอร์มาร์เก็ต จะเป็นช่องทางจำหน่ายที่มีความสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภค การขยายตัวอย่างรวดเร็วของซูเปอร์มาร์เก็ต จะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อปัจจัยด้านอุปสงค์ ก็คือ มีการเคลื่อนย้ายของคนชนบทเข้าสู่เมืองมากขึ้น การจะทำธุรกิจกับประเทศใด ควรศึกษาวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ให้ดี และจากการที่ผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสในเรื่องการใช้เวลาและค้นหาความสะดวก สบายในการช้อปปิ้ง รวมถึงอาหารแปรรูป เพื่อประหยัดเวลาในการทำอาหาร
.
นอกจากนี้ การเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อคนที่สูงขึ้น การเพิ่มมากขึ้นของชนชั้นกลาง ส่งผลให้มีความต้องการเรื่องคุณภาพที่สูงมากขึ้นเช่นกัน ในหลายประเทศ สินค้าพวกเนื้อสัตว์ และ พวกออแกนิกส์ เติบโตขึ้น ทั้งความต้องการอาหารแปรรูปก็มากขึ้น ซึ่งซูเปอร์มาร์เก็ต ก็สามารถสนองความต้องการด้วยความหลากหลายของอาหารและราคาที่ถูกกว่า.
ต่อปัจจัยด้านอุปทาน ก็คือ มีการไหลบ่าเงินลงทุนจากต่างประเทศ เช่นกิจการคาร์ฟูร์ของฝรั่งเศส ที่ไปเปิดสาขาที่ประเทศอาร์เจนติน่า เนื่องจากทำได้กำไรได่ถึงสามเท่า มากกว่าสาขาที่เปิดในฝรั่งเศส.
ดังนั้น จากนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ การควบรวมของกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลก ทำนองปลาใหญ่กินปลาเล็ก แนวโน้มในระบบการจัดซื้อจัดจ้างในซูเปอร์มาร์เก็ต
- ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง โดย 99 % ของนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบทางอ้อมต่อผลผลิตเกษตร เช่นมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 สำหรับนาชลประทาน คาดว่าผลผลิตจะลดลงจะอยู่ในช่วง 14% – 20%; ข้าวสาลีประมาณ 32% -44%; สำหรับข้าวโพดชลประมาณ 2% -5%; และถั่วเหลือง 9% -18%
- น้ำ และการใช้น้ำในหลากหลายวัตถุประสงค์ แหล่งน้ำสะอาดกำลังจะถึงจุดวิกฤต ไม่ใช่แค่สำหรับดื่มเท่านั้น แต่สำหรับการทำนาชลประทานด้วย มีการใช้แหล่งน้ำนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในหลายภูมิภาคของโลก ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้สร้างความขัดแย้งของผู้คน ซึ่งน้ำคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งการอุปโภคและบริโภค น้ำยังมีความสำคัญอย่างมากในธุรกิจการเกษตร การจัดการน้ำและการวางแผนการใช้ประโยชน์ จึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาในการดำเนินธุรกิจการเกษตร
- รายได้ที่เพิ่มขึ้น จะมีความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ดังนั้น รายได้จึงส่งผลถึงสัดส่วนของประชากร ความสามารถในการจับจ่าย ทั้งด้านการศึกษา และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร พฤติกรรมการบริโภคในภาพรวมของตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพ หากผู้ประกอบการยังไม่พัฒนาสินค้าของตนเอง ก็อาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจประสบปัญหา
- การเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมการบริโภคแบบควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก และคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหาร นี่คือแนวโน้มที่สำคัญของความต้องการของผู้บริโภค ดังจะเห็นได้จากมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารได้ถูกกำหนดขึ้นทั่วโลก
- การค้าระหว่างประเทศ และระหว่างภูมิภาค ความร่วมมือกันของตลาดระหว่างประเทศและภูมิภาคจะขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นในธุรกิจการเกษตรในเอเชียเพราะประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้น และก่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
- เกิดการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวของการพัฒนาและเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขยายฐานการผลิตและการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศในการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตของธุรกิจการเกษตรลดลง
.
เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับปรุงการเข้าถึงถนนสำหรับชุมชนชาวประมงในฟิลิปปินส์ พบการปรับปรุงถนนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และบริการขนส่ง แล้วพบว่า การบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง 35% ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลดลง 44% และเวลาในการเดินทางลดลง 40%
.
โครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้นจะเชื่อมโยงไปยังตลาดการค้าโลกซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิดการส่งเสริมการลดความยากจนในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานที่ดีมีส่วนช่วยกระจายไปในการเจริญเติบโตที่สมดุลมากขึ้น จากภูมิภาคที่ล้าหลังให้สามารถตามพื้นที่ที่มีการพัฒนามากขึ้นได้ทัน
.
กิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งได้รับประโยชน์ทันทีจากการแทรกแซงโครงสร้างพื้นฐาน คือ การเกษตร แหล่งที่มาของรายได้ทั้งหมดในภาคเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากที่สุด แต่อย่างไรการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สร้างโดยโครงการนั้นมีข้อจำกัดเพราะในความเป็นจริงการขยายตัวของเชื้อเพลิงภาคเกษตรโดยโครงการดูเหมือนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากค่าจ้างแรงงานนอกฟาร์มให้กับแรงงานในฟาร์ม ส่งผลให้รายได้ของนอกภาคเกษตรกรโดยรวมลดลง 23% เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสังเกตว่า มีโอกาสหนึ่งในการจ้างงานสำหรับคนยากจน หรือการลำเลียงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากฟาร์มไปยังตลาดอาจจะถูกแทนที่ด้วยการใช้รถบรรทุกหรือวิธีการอื่นของการขนส่งด้วยเครื่องจักรในทันทีที่ทางหลวงชนบทเสร็จสมบูรณ์ - เทคโนโลยี ซึ่งการประยุกต์ใช้กับการเกษตร ซึ่งเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่สามารถใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือ เอาชนะอุปสรรคที่เคยได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์มาสู่ความเท่าเทียมกัน เพราะการขยายตัวของซอฟแวร์ที่เปิดให้ใช้ทำให้องค์กรชุมชนรากหญ้าสามารถแบ่งปันข้อมูล จากการขยายการบริการและการบริการให้คำปรึกษาผ่านทางบริการโทรศัพท์มือถือสาธารณะและบริการโทรศัพท์มือถือของเอกชนนอกจากนี้เกษตรกรสามารถเข้าถึงความรู้ร่วมกันผ่านข้อมูลในระบบ crowdsourcing จากโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถใช้เอสเอ็มเอสส่งข้อมูลการเกษตรที่สำคัญในท้องถิ่นเช่นอุบัติการณ์ของศัตรูพืชหรือข้อมูลผลผลิต ซึ่งเป็นข้อมูลที่ก่อนหน้านี้เป็นเรื่องยากที่จะได้รับโดยไม่ต้องมีการสำรวจในราคาแพงการโดยนักวิจัย
- การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคม และประชากรของภูมิภาคเอเชีย ที่ส่งผลให้ในบางประเทศมีชนชั้นแรงงานลดลง ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานและแรงงานที่มีทักษะในการดำเนินธุรกิจการเกษตร และสังคมในภูมิเอเชียก็เปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมการบริโภคมีการปรับเปลี่ยนตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ที่มา: Section HR & Management หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2557
หมายเหตุ: ศาสตราจารย์ ราล์ฟ คริสตี้” ผู้อำนวยการสถาบันนานาชาติคอร์เนล เพื่ออาหาร การเกษตร และการพัฒนา มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมาร่วมถ่ายทอดความรู้ในงานสัมมนานานาชาติ หัวข้อ “Innovation for Global Agribusiness” ร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจเกษตรจากทั้งในและต่างประเทศ ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องคริสตัล บอลรูม โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สีลม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-619-5500 ต่อ 435 สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ftpi.or.th/event/seminar-on-innvation-for-global-agribusiness