ท่ามกลางกระแสลมที่หมุนวนเหนือยอดเขาสูงเสียดฟ้า ฝูงห่านไซบีเรียโบยบินหาถิ่นฐานใหม่ที่มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่การฝ่าฟันไปยังจุดหมายแบบข้ามทวีปต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม เพื่อลดแรงปะทะในการบิน พร้อมทั้งสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ในการนำฝูงเป็นระยะๆ อย่างเหมาะสม[1]
หากเปรียบเทียบการฝ่าฟันของฝูงห่านไซบีเรียกับสงครามทางธุรกิจด้านโฆษณา ซึ่งมีการแข่งขันสูงทั้งด้านเวลา ความไว ที่ต้องสื่อให้ตรงใจลูกค้า เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด จึงต้องอาศัยบุคลากรที่เต็มเปี่ยมด้วยแรงใจ ความสามารถและการทำงานเป็นทีม บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) หรือ Maco (มาโก้) จึงมุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคลากรอย่างเต็มกำลัง สนับสนุนให้เกิดการทำงานแบบ Team Work เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สวนกระแส จนเป็นผู้นำด้านสื่อโฆษณา
Competency 7 ประการขับเคลื่อน Maco
บริษัท มาสเตอร์แอด จำกัด (มหาชน) หรือ Maco Master Ad Public Company Limited เริ่มดำเนินธุรกิจด้านป้ายโฆษณามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปี จุดโฆษณากว่า 1,200 จุด ทั่วประเทศ รวมทั้งบริการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทุกรูปแบบ ต้องอาศัยบุคลากรเป็นกำลังสำคัญ จึงเสริมสร้างทักษะให้เกิดพฤติกรรมที่องค์กรต้องการ ด้วย Competency 7 ประการ คือ
โดยมีการกำหนดกิจกรรมต่างๆ และเริ่มดำเนินการทีละขั้นตอน ตามวิวัฒนาการดังนี้
สิ่งที่สามารถเป็นตัวการันตีถึงผลลัพธ์ว่า พนักงานเป็นไปตาม Competency ขององค์กรหรือไม่ คือ KPI รายบุคคล
โดยตั้งแต่ปี 1988-2013 Maco มีการกำหนด Milestone and PMS (Performance Management System) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ชัดเจนในเชิงปฏิบัติด้วยการประเมินผล ซึ่งต้องเป็นไปตาม Competency ทั้ง 7 ประการขององค์กร
นอกจากนี้ Maco ยังมีการพัฒนาระบบ Job online นำมาใช้ในการมอบหมายงานระหว่างหน่วยงาน ควบคู่กับการกำหนดค่ากลางด้านเวลา ตามปริมาณงานและความต้องการลูกค้า เพื่อหาจุดสมดุล โดยมีทีมงาน QC ทำหน้าที่เชื่อมโยงผลการประเมินออกมาเป็นงาน (Job) มากกว่าเป็นรายบุคคล โดยผลการประเมินจำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ 1.ด้านบริการ 2.ด้านคุณภาพ 3.ด้านความพึงพอใจ และถูกนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์วางแผนงานทุกๆ สิ้นเดือน
We can do: เป้าหมายสูง เราบินได้
สิ่งที่ Maco พยายามหล่อหลอมบุคลากรให้มีความเชื่อที่เป็นหนึ่งเสมอว่า ‘แม้เป้าหมายสูง เราก็บินถึง’ สามารถไปถึงเป้าหมายนั้นได้ร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ด้วยกิจกรรม Team Bulding ให้มีแนวคิดเดียวกัน พร้อมทั้งเชื่อมโยงไปยัง Competency ซึ่ง Maco ออกแบบหลักสูตร เกม และดำเนินการด้วยตนเอง ด้วยกรอบหลักอุปนิสัย 7 ประการ (7-Habit) ของ Stephen R. Covey ได้แก่
นอกจากการเสริมสร้างทักษะด้านต่างๆ ให้พนักงานแล้ว สิ่งที่สามารถเป็นตัวการันตีถึงผลลัพธ์ว่าพนักงานเป็นไปตาม Competency ขององค์กรหรือไม่ คือ KPI รายบุคคล โดยมีการแบ่งช่วงคะแนน ดังนี้
สิ่งที่ MACO มุ่งเน้นประเมินแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1.Smart 2.Creative และ 3.Innovative นอกจากนี้มีการเปรียบเทียบค่า KPI ของบริษัท กับ KPI ของแต่ละหน่วยงานที่เรียกว่า Competency 360 องศา และยังมีกิจกรรม Open House ระหว่างหน่วยงานให้ศึกษาดูงานซึ่งกันและกัน ส่งผลให้พนักงานทุกหน่วยงานเล็งเห็นถึงความเชื่อมโยงของกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีมอีกด้วย
องค์ประกอบสำคัญอีกประการในการขับเคลื่อน Maco คือ การทำให้องค์กรมีบรรยากาศการทำงานที่เป็น Creating the office of Strategy Management (ที่มา Kaplan และ Norton) ซึ่งประกอบด้วย 1. Mobilize การรวมพลังของบุคลากรทุกระดับให้เป็นหนึ่งเดียว 2.Translate แปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนงาน/โครงการ 3. Align ปรับโครงสร้างความเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงาน 4. Motivate กระตุ้นสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนรับผิดชอบ 5. Govern กำหนดกระบวนการทางยุทธศาสตร์ที่ต่อเนื่อง
แม้องค์กรสามารถติดปีกการบริหารจัดการได้ดังนกให้บินสูงเหนือคู่แข่ง แต่ด้วยความผันผวนทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว การสื่อสารภายในองค์กรระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จึงเป็นอีกปัจจัยที่ MACO ให้ความสำคัญ
นอกจากนี้ ยังมีการสะท้อนผลลัพธ์เพื่อให้เกิดการผลักดันการทำงานเป็นทีม ด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานเทียบกับเป้าหมาย (ทิศทาง) องค์กร ด้วยเกณฑ์ชี้วัดที่ชัดเจนเป็นระยะๆ ประกอบกับ Role Model คือ ผู้บริหารที่เป็นแบบอย่างที่ดีย่อมส่งผลให้บุคลากรของ Maco มี Competency ที่มีลักษณะเฉพาะ พร้อมโผบินแม้อยู่ท่ามกลางกระแสลมแรง เพื่อเป็นหนึ่งในธุรกิจโฆษณาที่ทุกคนจับตามอง